เมื่อวันที่ 6 มี.ค.64 ที่ศาลาเอนกประสงค์ บางขยะ หมู่ 2 ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงาว่า ที่ร้อยเอกพงศ์ศักดิ์ เวทยาวงศ์ นายอำเภอตะกั่วป่า นายจำรัส หลีเจี๊ยะ กำนันตำบลคคึกคัก ตัวแทนผู้แทนราษฏร์นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ สส.พรรคประชาธิปัตย์ ว่าที่ร้อยตรีกิตติภูมิ สมัยกลาง เจ้าพนักงานตรวจเรือชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาพังงา นายจารุวัฒน์ ตันสกุล รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา นายธวัช เกิดเมฆ นายช่างขุดลอกชำนาญงาน ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยฯ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่า และนายจุติโชติ บุญโชติ สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา พบปะพูดคุยทำความเข้าใจกับชาวบ้านเพื่อหาทางออก บ้านบางขยะ หมู่ 2 ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ในกรณีชาวประมงพื้นบ้าน บ้านบ้านบางขยะ กำลังประสบปัญหาไม่มีพื้นทีเทียบเรือ กว่า 200 ลำ เพื่อรอการออกหาสัตว์น้ำหรือพื้นที่หลบลมมรสุมในช่วงมรสุม จนเป็นเหตุให้เรือเสื่อมสภาพเร็วขึ้น เรือบางลำคานเรือได้รับความเสียหาย บางลำท้องเรือกระแทกโขดหินและปะการังจนได้รับความเสียหาย สาเหตุหลักจากพื้นที่เทียบเรือในปัจจุบันเป็นชายหาด ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำขึ้น-น้ำลง ไม่มีพื้นที่สำหรับไว้จอดเทียบเรือให้เหมาะสม โดยทางชาวประมงพื้นบ้านได้มีการยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือไปยังเทศบาลตำบลคึกคัก กำนันตำบลคึกคัก เจ้าท่าภูมิภาคสาขาพังงา และจังหวัดพังงาแล้ว ต่อมาทาง สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 3 กรมเจ้าท่า ได้เข้าสำรวจตรวจสอบพื้นที่ร่วมกับชาวประมง เมื่อวันที่ 10 มี.ค.63 เพื่อให้ทำการขุดลอกร่องน้ำ ระยะทาง ประมาณ 500 เมตร กว้าง 20 เมตร ลึก 2 เมตร (จากระดับน้ำลงต่ำสุด) และขุดลอกแอ่งจอดเรือ ระยะทางประมาณ 200 เมตร กว้าง 60 เมตร ลึก 2 เมตร แต่เนื่องจากงบประมาณ 63-64 ทางภาครัฐประสบปัญหาจากสถานการณ์โควิด-19 งบประมาณในการดำเนินการจึงถูกชะลอโดยรอการพิจารณางบประมาณอีกครั้งในปีงบประมาณ 65 ด้านชาวประมงพื้นบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนกว่า 200 ครัวเรือน
ได้ข้อสรุปว่า การขุดลอกสามารถทำควบคู่ไปได้สองทางคือ วิธีแรก ใช้ผ่านหน่วยงานโดยตรง คือกรมเจ้าท่า ก็จะต้องรอในเรื่องของการทำโครงการ เสนอแผนขอใช้งบประมาณซึ่งต้องใช้เวลานาน และวิธีที่สอง ที่สามารถทำได้เลย เร็วกว่าและเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการโดยตรงคือเรื่องของการขุดลอกต่างตอบแทน โดยให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถดำเนินการได้ เพียงแต่วัสดุที่ได้จากการขุดลอก ไม่ว่าจะเป็น อิฐ หิน ดิน ทราย เราสามารถนำมาใช้ในเรื่องของวัสดุเชื้อเพลิงได้ หมายถึงว่าให้หาบริษัทเอกชนรับจ้างเหมา แล้วประเมินวัสดุที่ได้จากการขุดลอก ก็นำมาซื้อเป็นน้ำมันเพื่อใช้ในเรื่องของงบประมาณในการขุดลอกก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ รวดเร็วกว่า ซึ่งทางท้องถิ่นก็จะต้องเข้ามาร่วม สำรวจ ออกแบบด้วย ทำประชาคม มีการรับรู้รับทราบ สำรวจแนวร่องน้ำว่ามีความยาวขนาดไหน เรือประมงพื้นบ้าน เรือสำหรับไว้บริการนักท่องเที่ยว มีขนาดไหนบ้าง ขนาดเล็ก หรือว่าขนาดใหญ่ แล้วก็คำนวณพื้นที่ออกมา
ด้านนายธวัช เกิดเมฆ นายช่างขุดลอกชำนาญงาน ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยฯ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่า เนื่องจากงบประมาณปี 63-64 ทางภาครัฐประสบปัญหาจากสถานการณ์โควิด-19 งบประมาณในการดำเนินการจึงถูกชะลอ โดยรอการพิจารณางบประมาณอีกครั้งในปีงบประมาณ 65 พื้นที่ดังกล่าวจะมีปัญหาเรื่อง มรสุมซึ่งจะมีเวลาในการทำงานจริงๆ แค่ 4 เดือนคือตั้งแต่มกราคมถึงเดือนเมษา เท่านั้นโดยทางสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 3 จะรับหน้าที่ทำการสำรวจของร่องน้ำ ความลึกความตื้นของร่องน้ำ การขุดลอก จะต้องดูว่ามีแนวร่องน้ำธรรมชาติเดิมอยู่ไหมถ้าเป็นการขุดลอกร่องน้ำใหม่ จะใช้ได้ไม่นานไม่เหมือนร่องน้ำเก่าที่มีเนื่องจากชายหาดแหลมปะการัง ช่วงมรสุมความรุนแรงของคลื่นจะมีมาก ตะกอนทรายจะทับถมเร็วมาก ส่วนระยะยาวควรจะต้องมีการสร้างแนวเขื่อนกันคลื่นแต่การสร้างเขื่อนกันคลื่นจะใช้งบประมาณสูง
นายจารุวัฒน์ ตันสกุล รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา ได้กล่าวว่า เบื้องต้นทาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดจะหารือให้การช่วยเหลือชาวบ้านโดยเร่งด่วนก่อนช่วงมรสุมโดยจะสนับสนุนเครื่องจักรกลหนัก รถแบคโฮและรถบรรทุกดิน เข้ามาทำการขุดทำแนวกันคลื่นก่อน แต่ทางเทศบาลตำบลคึกคักจะต้องสนับสนุนในเรื่องค่าน้ำมันในการใช้งาน ซึ่งจะต้องมีการพูดคุยกันอีกครั้งแต่คงไม่มีปัญหาอะไรในเบื้องต้น
ชาวบ้านบ้านบางขยะ ต่างพอใจในการลงพื้นที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้พร้อมกับขอบคุณผู้นำชุมชน กำนันจำรัส หลีเจี๊ยะ กำนันตำบลคึกคักที่ไม่ทอดทิ้งพี่น้องชาวตำบลคคึกคัก พร้อมกับประสานหน่วยงานต่าง ๆ ลงพื้น ดูสภาพปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน อย่างแท้จริงเพื่อเร่งช่วยเหลือแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน