แนวคิดเรื่อง "ธรรมาภิบาล" เป็นแนวคิดของธนาคารโลกที่นำมาใช้ในการกำหนดนโยบายการให้กู้เงิน แก่ประเทศต่างๆ ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เพื่อแก้ปัญหาการไร้ประสิทธิภาพ และการคอร์รัปชันในประเทศกำลังพัฒนา ที่มีปัญหาในการบริหารงานจนทำให้เกิดปัญหาไม่สามารถหาเงินมาส่งชำระหนี้ธนาคารโลกได้ ธรรมาภิบาลจึงเป็นเรื่องของหลักการบริหารแนวใหม่ ที่มุ่งเน้นหลักการ โดยมิใช่หลักการที่เป็น รูปแบบ ทฤษฎีการบริหารงาน แต่เป็นหลักการการทำงาน ซึ่งหากมีการนำมาใช้เพื่อการบริหารงานแล้ว จะเกิดความเชื่อมั่นว่าจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีที่สุดคือ ความเป็นธรรม,ความสุจริต,ความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หลักธรรมาภิบาลนั้นประกอบด้วย 6 หลักการคือ 1.หลักคุณธรรม 2.หลักนิติธรรม 3.หลักความโปร่งใส 4.หลักความมีส่วนร่วม 5.หลักความรับผิดชอบ และ 6.หลักความคุ้มค่า แต่จะเป็นหลักการใดก็ตาม ก็จะเห็นว่าหลักการทั้งหลายล้วนมีจุดมุ่งหมายที่จะรักษา "ความสมดุล" ในมิติต่างๆ ไว้ เช่น หลักคุณธรรมก็คือการรักษาสมดุลระหว่างตนเองกับผู้อื่น คือไม่ เบียดเบียน ผู้อื่นหรือตัวเองจนเดือดร้อน ซึ่งการที่มีความโปร่งใส เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตรวจสอบ ก็เพื่อมุ่งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงความสมดุลดังกล่าวว่าอยู่ในวิสัยที่ยอมรับได้ส่วน หลักความรับผิดชอบ ก็ต้องสมดุลกับเสรีภาพที่เป็นสิ่งที่สำคัญของทุกคน และหลักความคุ้มค่า ก็ต้องสมดุลกับหลักอื่นๆ เช่น บางครั้งองค์การอาจมุ่งความคุ้มค่าจนละเลยเรื่องความเป็นธรรมหรือโปร่งใส หรือบางครั้งที่หน่วยงานโปร่งใสมากจนคู่แข่งขันล่วงรู้ความลับที่สำคัญในการประกอบกิจการ ความสมดุล หรือ ธรรม จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของธรรมาภิบาล "สหกรณ์เป็นองค์กรอิสระของบุคคล ซึ่งร่วมกันด้วยความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการ และมีจุดหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกันและควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย" การสร้างธรรมาภิบาลในสหกรณ์เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อก่อให้เกิดการบริหารกิจการของสหกรณ์ให้เป็นไปอย่างซื่อสัตย์ โปร่งใส มีความรับผิดชอบ สร้างการมีส่วนร่วม และมีการใช้กระบวนการบริหารจัดการ เพื่อให้การใช้ทรัพยากร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล คุ้มค่า และประหยัด เป็นผลให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม เพื่อให้สหกรณ์สามารถดำเนินงานประสบความสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมั่นคง ผลที่ได้รับกลับมา คือ "ความเชื่อถือ" จากสมาชิกสหกรณ์ ประชาชนทั่วไป สถาบันการเงิน สังคม ฯลฯ เพราะทุกส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียย่อมต้องการให้สหกรณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส มีความรับผิดชอบ มีความยุติธรรม มีจริยธรรม คุณธรรม และไม่เอาเปรียบต่อสมาชิกและประชาชนทั่วไป ผลที่ได้รับกลับมาของสหกรณ์พอสรุปได้ ดังนี้ 1.สร้างให้เกิดความน่าเชื่อถือเชื่อถือ ได้รับการยอมรับในวงการธุรกิจ เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักการเป็นสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่สนองตอบความคาดหวังหรือความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล จะส่งผลให้สหกรณ์ได้รับความเชื่อถือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (สมาชิก ประชาชนทั่วไป สถาบันการเงิน) รวมทั้ง สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ สถาบันการเงินและแหล่งทุนต่างๆ จะให้ความเชื่อมั่นกับสหกรณ์ที่ดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล และพร้อมจะให้การสนับสนุนด้วย เพราะความน่าเชื่อถือที่สหกรณ์สั่งสมไว้ จะทำให้ผู้ให้การสนับสนุนมั่นใจว่าเงินที่ให้กู้ยืมจะไม่สูญหาย ไม่ว่าสถาบันการเงินใดก็ต้องการให้สินเชื่อ และให้ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ถูกลง เพราะปล่อยสินเชื่อให้แล้วปลอดภัยไม่ต้องกลัวสูญ เนื่องจากสหกรณ์มีความรับผิดชอบและธุรกิจดำเนินไปด้วยดี 2.การมีส่วนร่วมของสมาชิกเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดศรัทธาและรักองค์กร สหกรณ์ที่มีนโยบาย แนวทางปฏิบัติที่ดีต่อสมาชิก ตระหนักและให้ความสำคัญต่อความพึงพอใจของสมาชิกเป็นหลัก ด้วยการให้บริการแก่สมาชิกคำนึงถึงความปลอดภัยและความคุ้มค่า ที่สมาชิกจะได้รับจากบริการ จะนำไปสู่การเพิ่มการมีส่วนร่วมของสมาชิก เป็นการขยายธุรกิจในอนาคต เป็นแนวทางปฏิบัติที่คำนึงถึงสมาชิกสหกรณ์ และให้ความสำคัญกับการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจะท าให้สมาชิกสหกรณ์เกิดความศรัทธาและรักองค์กรยิ่งขึ้น 3.เพิ่มภูมิคุ้มกันที่ดี เพิ่มโอกาสในการสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนมั่นคง ท่ามกลางกระแสของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในยุคโลกาภิวัตน์ มีโอกาสสูงมากที่จะนำกิจการไปสู่ความเสี่ยงใหม่ๆ ซึ่งยากจะคาดเดา การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นการกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือมีธรรมาภิบาล มาตรการ เหล่านี้จะช่วยป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งจากภายในและภายนอก เป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่สหกรณ์ และลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจให้น้อยลง 4.เพิ่มโอกาสในการแข่งขันทำงธุรกิจ สหกรณ์ที่มีระบบการบริหารจัดการธุรกิจที่มีมีการควบคุมภายในที่ดี บริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล (ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้)การดำเนินกิจการธุรกิจในรูปแบบสหกรณ์และมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้สหกรณ์ได้รับความเชื่อถือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (สมาชิก ประชาชนทั่วไปและสถาบันการเงิน) และผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ให้การสนับสนุนและให้การตอบสนองที่ดี เป็นโอกาสที่จะทำให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และนำกิจการไปสู่ความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน "เมื่อหลักธรรมาภิบาลมันดีขนาดนี้ สหกรณ์ที่นำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อใช้ในการพัฒนาสหกรณ์ในทุกมิติทำให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแน่นอน" สำนักงานสหกรณ์จังหวัดระนอง ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาลตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ โดยมีการแนะนำส่งเสริมและการประเมินธรรมาภิบาลของสหกรณ์ให้ประเมินตามแบบประเมินสหกรณ์สีขาวด้วย ธรรมาภิบาลโดยสหกรณ์ต้องผ่านเกณฑ์ประเมินธรรมาภิบาล ในแต่ละหลักที่ทำการประเมิน ระดับคะแนน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และรวมกันทุกหลักอยู่ในระดับคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 85 คะแนนขึ้นไป มีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการประเมินการจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายในอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 5 แห่ง ระดับดี จำนวน 7 แห่ง ระดับพอใช้ จำนวน 10 แห่ง ระดับต้องปรับปรุง 7 แห่ง และไม่มีการควบคุมภายในอีก 5 แห่ง