อบต.ปากน้ำ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ร่วมกับ บ.พีรชัย บิลดิ้ง จำกัด เตรียมเปิดโครงการก่อสร้างโรงกำจัดขยะมูลฝอย เพื่อผลิตไฟฟ้า และงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะด้วยเทคโนโลยี PLASMA GASIFICATION และ HYDROGENFUEL CELL (WASTE TO ENERGY-H2 POWER PLANT) เป็นเทคโนโลยีสุดไฮเทคแห่งแรกของไทย ยืนยันชาวบ้านในพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้แน่นอน.
ปัจจุบันขยะมูลฝอยในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณประชากรที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดมลพิษและปัญหาต่างๆหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางดิน,ทางอากาศ, ทางน้ำ ซึ่งมลพิษเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เช่น โรคทางเดินหายใจและโรคทางเดินอาหาร เป็นต้น
สำหรับการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง ได้มีแนวคิดที่จะช่วยพัฒนาและสนับสนุนการกำจัดขยะโดยการเผาในรูปแบบของการส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ ซึ่ง นอกจากจะเป็นการผลิตไฟฟ้าแล้วยังจะเป็นการกำจัดขยะได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยลดการใช้เชื้อเพลิงจำพวกก๊าซธรรมชาติซึ่งมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูงหรือถ่านหินซึ่งมีมลพิษที่ค่อนข้างสูง
ในปัจจุบันนี้ได้มีการคิดค้น เทคโนโลยีกำจัดขยะที่สามารถแปลงขยะเป็นพลังงาน และใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ได้แก่ เทคโนโลยีการฝังกลบและระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะ (Landfill Gas to Energy) เทคโนโลยีการเผาขยะ (Incineration) เทคโนโลยี การแปรสภาพเป็นแก๊ส (Gasification) เทคโนโลยีย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน หรือการหมัก (Anaerobic Digestion) เทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงขยะ โดยการทำให้เป็นก้อนเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel: RDF) เทคโนโลยีพลาสมาอาร์ก (Plasma Arc) เทคโนโลยีการแปรรูปขยะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง (Pyrolysis).
สำหรับเทคโนโลยีใช้ในการกำจัดขยะของโรงกำจัดขยะเพื่อผลิตไฟฟ้า ของบริษัทพีรชัย บิลดิ้ง จำกัด ในพื้นที่ ต.ปากน้ำ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ประกอบด้วย Plasma Gasification, Pyrolysis, Biogas, Hydrogen Fuel cell และ Waste water Treatment ผลที่ได้จากการกำจัดขยะ คือ น้ำสะอาด สามารถใช้อุปโภค บริโภคได้ และเทคโนโลยีเตาเผาขยะPlasma Gasification ปัจจุบันมีทีมเทคโนโลยีสุรนารีแห่งเดียว ซึ่งสามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้ดีกว่าระบบ Gasification และไม่ก่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ยังใช้ระบบ Plasma Pyrolysis คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้ความร้อน ในสภาวะไร้อากาศ โดยเกิดการแตกของพันธะโมเลกุลในองค์ประกอบ จากสายโซ่พันธะเคมียาวๆ กลายเป็นสายโซ่สั้นๆส่วนที่เป็นองค์ประกอบคาร์บอนระเหยได้ ก็กลายเป็นก๊าซเชื้อเพลิง บางส่วนที่ถูกควบแน่น ก็กลายเป็นของเหลว (น้ำมัน) ขณะที่พลาสติกหรือ (ขยะพลาสติก) มีส่วนประกอบไปด้วย ethylene, propylene, styrene และอื่นๆ เป็นหลัก ซึ่งสารประกอบจากปิโตรเลียม เกือบเหมือนกับน้ำมันเบนซินและดีเซล โดยสิ่งที่แตกต่างกัน คือ ช่วงของห่วงโซ่ของที่ยาวกว่า โดยจากกระบวนการ Pyrolysis นั้นสามารถทำลายห่วงโซ่ดังกล่าวของพลาสติกให้แคบลงคล้ายกับน้ำมันเบนซินและดีเซล (ซึ่งกระบวนการดังกล่าวสามารถ นำไปใช้ได้กับวัตถุดิบประเภทอื่นๆที่เป็นคาร์บอนเบส)
โดยมีเตาเผาขยะระบบ Plasma Arc Torch ใช้ความร้อนจาก Freeboard Zone ให้ความร้อนเตาไพโรไลซิสคงที่ 150 องศาเซลเซียสจะทำให้ได้น้ำมันเตาดิบ นำน้ำมันเตาดิบเข้าสู่กระบวนการกลั่นสามารถกลั่นได้ทั้งน้ำมันดีเซล และเบนซิน แล้วทำการ Reforming จะทำให้น้ำมันที่ได้สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นซึ่งเตาเผาขยะหรือเตาปฏิกรณ์ แบบ Plasma Arc Torch จะมีอุณหภูมิที่ 2,000 องศาเซลเซียส +
สามารถใช้ความร้อนจากเตาปฏิกรณ์ได้ทั้งในกระบวนการไพโลเรซิส และผลิตไอน้ำจากการเผาขยะซึ่งได้เพิ่มเติมจากกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นซึ่งจะได้ ก๊าซมีเทน ไฮโดรเจน และคาร์บอนมอนน็อกไซด์
สำหรับโครงการนี้จะได้โรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้า 2 ประเภท คือ1.โรงกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยี Plasma Gasification ร่วมกับ Steam Turbine และGas Turbine 2.โรงไฟฟ้าHydrogen ก๊าซชีวภาพ+น้ำเสีย+ไฮโดรเจน เซลล์เชื้อเพลิง โดยจะรับซื้อวัสดุจากชาวบ้าน เช่น ยอดอ้อย ใบอ้อย ต้นข้าวโพด ฝักข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง ฟางข้าว นำมาผลิตกระแสฟ้า
สำหรับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้น โครงการนี้จะมีระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Wastewater Recycle Plant) โดยใช้เทคโนโลยีพลาสมาแก๊สซิฟิเคชั่น และ Fuel Cell จากโรงกำจัดขยะมูลฝมาผลิตน้ำบริสุทธิ์ทั้งจากการกำจัดขยะ และการผลิตไฟฟ้า ด้วยวิธี PEMelectrolysis และPEM Fuel Cell โดยนำน้ำเสียต่างๆมาทำน้ำประปาแล้วนำมาผลิตไฟฟ้า ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นโครงการแรกของประเทศที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพและคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ ซึ่งการบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ช่วยให้สามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับน้ำ เพราะมีการใช้น้ำเสียที่ได้จากโรงงานมาผ่านกระบวนการบำบัด ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของน้ำดิบ ส่งผลให้อัตราค่าน้ำลดลง นอกจากนี้การนำน้ำเสียมาบำบัดและนำกลับมาใช้ใหม่ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเป็นการลดปริมาณการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติด้วย.
อีกหนึ่งเทคโลโนยีสำหรับการกำจัดขยะติดเชื้อ คือ พลาสมาไพโรไลซิส -แก๊สซิฟิเคชั่นเป็นเทคโนโลยีการกำจัดขยะติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน ทั้งในเชิงเศรษฐศาสตร์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลาสมา (Plasma) มีอุณหภูมิสูงกว่า 1200 เซลเซียสและมีรังสียูวีความเข้มข้นสูงอุณหภูมิสูงของพลาสมาจะทำให้ส่วนประกอบของขยะพลาสติก สำลี ขวดแก้ว ผ้า ชิ้นเนื้อ สลายตัวหรือไพโรไลซิสและแก๊สซิฟิเคชั่นขึ้น เกิดเป็นเชื้อเพลิงเช่น ไฮโดรเจนคาร์บอนมอนอกไซด์ มีเทน ในขณะเดียวกันความร้อนและรังสียูวีจะทำลานเชื้อโรคทุกชนิดอย่างสมบูรณ์ทั้งเชื้อโรคปกติและเชื้อโรคที่ต้านทานความร้อน โดยอุณหภูมิของพลาสมาที่บริเวณขั่วแคโทดประมาณ 20,000 เคลวิน (หรือ 6,726.85 องศาเซลเซียส) และที่บริเวณขยะประมาณ 1,500 เคลวิน ( หรือ 1,226.85 องศาเซลเซียส) เทคโนโลยีพลาสมาไพโรไลซิส – แก๊สซิฟิเคชั่นจึงเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่จะพัฒนาขึ้นในประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตเนื่องจากการกำจัดขยะติดเชื้อให้เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ.
ส่วนขยะอินทรีย์เมื่อทำการแยกก๊าซมีเทนออกจากน้ำและเศษอาหาร ผัก ผลไม้ ที่หมัก จะนำน้ำเสียเข้าสู่กระบวนการ แยกตะกอนหนัก Dewatering ซึ่งจะทำการแยกเศษอาหาร ผักผลไม้ โดยการบดตัดให้มีขนาดเท่ากับขี้เลื่อย น้ำเสีย จะเข้าสู่กระบวนการกรอง Membrane Filtration และUltra Filtration เข้าสู่ระบบ Reverse Osmosis จะได้น้ำสะอาดเก็บไว้ในถังขนาดใหญ่ ส่วนน้ำเสียจากการแยกก๊าซมีเทนจากชีวมวล จะนำเศษชีวมวลเข้าสู่ระบบ ไพโรไลซิสร่วมกับการกลั่นน้ำมันจะได้ไบโอชา Bio Char สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหรือเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ได้ และน้ำเสียจะเข้าสู่กระบวนการเหมือนกับขยะอินทรีย์.
โครงการก่อสร้างโรงกำจัดขยะมูลฝอย เพื่อผลิตไฟฟ้าจะใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 4,600 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินการสร้างแล้วเสร็จประมาณ 16-18 เดือน แบ่งแผนงานการก่อสร้างเป็นสัญญาเหมาแบบเบ็ดเสร็ด. ซึ่งคาดว่าสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 20-25 เมกะวัตต์/ชั่วโมง โดยจะแบ่งผลประโยชน์ให้ อบต.ปากน้ำ เข้าสู่กองทุนหมู่บ้าน 25สตางค์/กิโลวัตต์จากการทำสัญญาขาย
ไฟฟ้า. อีกทั้งยังผลิตน้ำสะอาดได้วันละ 20,000 ลิตร .
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 200 คน ทางโครงการฯจะเข้าไปช่วยส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนเลี้ยงกุ้งก้ามกราม และกุ้งขาว เพราะพื้นที่ดังกล่าวยังไม่ค่อยมีผู้เลี้ยงมากเท่าไร ส่งเสริมให้ชุมชนผลิตไฟฟ้าจำหน่ายเองในชุมชน และจะมีโครงการช่วยเหลือผู้ป่วย ให้ทุนการศึกษา อีกด้วย.
สำหรับขั้นตอนต่อไปทางโครงการจะเน้นเรื่องการสร้างความรู้และเข้าใจและประชาสัมพันธ์กับชาวบ้านโดยรอบถึงนโยบายและเหทคโนโลยีที่ใช้ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยรอบ รวมถึงผลประโยชน์โดยตรงกับชาวบ้านในพื้นที่.