สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) ระบุว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้หนี้สินทั่วโลกเพิ่มขึ้น 24 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 700 ล้านล้านบาทในช่วงปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่ารวมคิดเป็น 281 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (8,500 ล้านล้านบาท) แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยอัตราส่วนหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 อยู่ที่ระดับสูงกว่า 355%
โดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศได้ประมาณการณ์ว่าการใข้จ่ายของภาครัฐทั่วโลกมีสัดส่วนการก่อหนี้เพิ่มขึ้นประมาณครึ่งหนึ่ง ขณะที่บริษัท, ธนาคาร และครัวเรือนก่อหนี้ทั้งสิ้น 5.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ, 3.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และ 2.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ
ส่งผลให้ในปีที่ผ่านมาท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 หนี้สินทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์มากกว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลกเมื่อปี 2551 และ 2552 เสียอีก ซึ่งในขณะนั้นอัตราส่วนหนี้ต่อ GDP เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และ 15 ตามลำดับ
สถาบันการเงินระหว่างประเทศยังได้คาดการณ์ว่าในปีนี้ระดับการกู้ยืมจะยังคงเพิ่มขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 ก.พ. ที่ผ่านมานายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวมปี 2563 ว่าหนี้สินครัวเรือนในไตรมาสสามปี 2563 มีมูลค่า 13.77 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 3.9% ใกล้เคียงกับ 3.8% ในไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วน 86.6% ต่อ GDP เพิ่มสูงขึ้นตามเศรษฐกิจที่หดตัวจากผลของการแพร่ระบาดของโควิด-19
The global debt-to-GDP ratio surged by 35 percentage points to over 355% of GDP in 2020, well beyond the upswing seen during the 2008 global financial crisis.
— IIF (@IIF) February 17, 2021
More in our new Global Debt Monitor: https://t.co/yYIja7nLM1 pic.twitter.com/EuLD5RRAs0