ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้แชร์ข่าวหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ที่พาดหัวข่าวว่า 'อดีต50ผู้สมัครทิ้งอนาคตใหม่' ในเพจเฟซบุ๊กชื่อ Charnvit Kasetsiri พร้อมข้อความระบุว่า... One month later with Thanaka in Burma หนึ่งเดือนมาแล้ว รัฐประหารพม่า รัฏฐาธิปัตย์ กับแป้งทานาคา Situation in Burma is serious but not hopeless... 1. ได้ฟัง และชอบ CNA ของสิงคโปร์ รายงานเรื่องพม่า ที่สัมภาษณ์อดีต รมต.กต.อินโดนีเซีย Marty Natalegawa (บุตรเขยของท่านทูตเสนีย์ เสาวพงษ์) ผู้ใช้คำคมว่า ASEAN must be on the right side of history 2. โดยเปรียบเทียบ comparisons แล้ว กองทัพพม่า กับกองทัพไทย ก้อ same same but different กล่าวคือ กองทัพพม่า control politics ส่วนกองทัพไทย play politics... 3. สำหรับสถานการณ์ในพม่า ว่าไปแล้วจาก จากเหตุการณ์การลุกฮือของประชาชน 8888 เมื่อวันที่ 8 เดือนแปด สิงหา ปี ค.ศ. 1988 (2531) จนมาถึงเหตุการณ์ลุกฮือครั้งใหม่นี้ 22222 เมื่อวันที่ 22 เดือนสอง กุมภา ปี ค.ศ.2021 (2564) นับได้ 33 ปีแล้วนั้น ทั้งคนพม่า และกองทัพพม่า ได้เปลี่ยนไปเยอะ กองทัพพม่า โดยเฉพาะระดับนายพล ได้กลายเปนแหล่งผลประโยชน์ เพื่อการกอบโกยล้วน ๆ ปราศจากซึ่งอุดมการณ์ ที่เคยอ้างว่า เปนซ้าย เปนสังคมนิยม เปนประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ส่วนประชาชนพม่า ก้อเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก กลายเปนชนชั้นกลางมากขึ้น เปนคนเมือง เปนผู้ประกอบการรายย่อย สร้างสถานะ ความเปนอยู่ รสนิยม และโลกทัศน์ ที่ต้องการความเปนสมัยใหม่ ทันโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ไม่ติดกับ กับโลกเก่าแต่เพียงอย่างเดียว และที่สำคัญคือ ไม่ทนกับเผด็จการทหาร อำนาจนิยมอีกต่อไป พม่าได้เปลี่ยนไปแล้ว แต่กองทัพพม่าต้องการกลับไปยังตำแหน่งแห่งที่เดิมของตน ต้องการที่จะ control อีกต่อไปให้นานแสนนาน (ซึ่งตรงนี้ ทั้งเหมือนและก้อต่างกับกองทัพไทย ที่แม้จะคุมการเมืองไม่ได้ แต่ก้อยังเล่นการเมืองอยู่ร่ำไป นั่นเอง) 4. กองทัพพม่า อ้างอย่างตื้นเขิน ว่าต้องทำรัฐประหาร เพราะการเลือกตั้งที่พรรค NLD ของอองซาน ซูจี ชนะเลือกตั้งที่ผ่านมาอย่างล้นหลาม กว่า 70 % นั้น "โกง" และจะให้มีการเลือกตั้งใหม่ใน 1 ปี แต่กองทัพพม่าก้อคุมสถานการณ์ไม่ได้ ประชาชนนอกจากจะไม่ยอมสยบ ยังประท้วงต่อเนื่องทั่วประเทศมาถึง 1 เดือนเต็มแล้ว 5. ในขณะเดียวกัน นักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ที่ชนะการเลือกตั้งมา ก้อไม่ยอมรับการที่จะต้องเลือกตั้งใหม่ กลับสร้างองค์กร ที่เรียกว่า CRPH = Committee Representing Pyidaungsu Hluttaw หรือคณะกรรมการรัฐสภา (ขบวนการเสรีพม่า) เพื่อที่จะดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต่อไป กล่าวโดยย่อ คณะรัฐประหารของกองทัพ ยังไม่สามารถตั้งตนเปน รัฏฐาธิปัตย์ sovereignty ได้ 6. กองทัพพม่า นอกจากควบคุมภายในประเทศยังไม่ได้ ก้อยังไม่สามารถจะได้รับการรับรองจากต่างประเทศ จะมีก้อแต่ นรม.ไทย ที่หลวมตัวทางการทูต ให้การรับรองโดยพฤตินัยไป ดังเช่นการกระมิดกระเมี้ยน จัดให้ รมต.กต.หญิงจากอินโดนีเซีย มาพบปะเจรจากันกับตัวแทนของพม่า คือ Wunn Maung Lwin โดยมี รมต.กต.ไทย ตลอดจน นรม.ไทย พบปะร่วมพูดคุยด้วย ในแง่ของมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเปน US, EU, ประเทศเกรด A ทั้งหลาย รวมทั้งญี่ปุ่น ก้อยังไม่มีประเทศใดให้การรับรอง แถม UN ก้อประนามอย่างรุนแรง 7. ในขณะเดียวกัน ชนชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย ในรัฐต่างๆ ทางเหนือ และตอนกลางหลายรัฐ ต่างก้อไม่ยอมรับการรัฐประหาร ครั้งนี้ เพราะการอยู่ใต้อำนาจการรัฐประหารของกองทัพพม่า ไม่มีทางออกใด นอกจากสงครามกลางเมือง การสู้รบที่ดำเนินมานับแต่สมัยเอกราช เปนเวลากว่า ครึ่งศตวรรษ สู้การเจรจาต่อรองกับรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งไม่ได้ 8. การรัฐประหารของกองทัพพม่า มีโอกาสที่จะไม่ชนะ อย่างครั้ง 8888 และ การต่อสู้ด้วยสันติวิธี ด้วยสัญลักษณ์ ด้วยความคิดริเร่ิม ไม่ว่าจะเปนการชู 3 นิ้ว ตีกะทะ หม้อไห กระป๋องกระแป๊ง การประท้วงของคนตั้งท้องจะมีลูก ของนักกล้าม ของดารา/เซเลป ของคนทาหน้าด้วย 'ทานากา' ของพระสงฆ์องค์เจ้า ของประชาชน พนักงาน ข้ารัฐการ ทุกหมู่เหล่า ก็มีโอกาสที่จะไม่แพ้ อย่างครั้ง 8888 ครับ ถ้าเปนไปตามข้อเสนอที่ 8 นี้ แรงกระเพื่อม ผลกระทบต่อไทย คงจะมีไม่น้อยเลย ทั้งนี้ ทั้งนั้น แม้ว่า Burma and Thailand = Same same but different ก้อตาม ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 27 กุมภา 2021/2564