พิจิตร...ชาวบ้านแฮปปี้ร้านค้าปลื้มเงิน“เราชนะ”ถึงมือผู้บริโภคสู่ร้านค้าส่งผลเศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดSpring Money เกาะติดโครงการเงิน“เราชนะ” 7,000 บาท รัฐบาลส่งตรงถึงมือชาวบ้านเมืองชาละวันแล้ว ส่งผลร้านที่เป็นนิติบุคคลค้าปลีก ค้าส่ง บรรยากาศคึกคัก ชาวบ้านกล้าซื้อ กล้ากิน กล้าใช้ หลังจากซื้อปัจจัย4 ด้วยเงิน 200-300 บาทโครงการธงฟ้าประชารัฐ จากนั้นเป็น ชิม ช้อป ใช้ 1,500 บาท สุดท้ายรัฐบาลอัดยาแรงสู้กระแสวิกฤตเศรษฐกิจโควิด19 อัดงบ 7,000 บาท เร่งซื้อของกิน ของใช้ ภายใน 4 เดือน ทำให้สิ่งที่อยากได้ อยากมี นอกเหนือจากปัจจัย 4 เริ่มขายได้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง ถ้วย ถัง กาละมัง หม้อ ส่งต่อไปถึงงานวัดและวัฒนธรรมประเพณี พลอยได้ดีตามไปด้วย วันที่ 22 ก.พ. 2564 ความคืบหน้าจากการที่รัฐบาลออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโควิด19 ด้วยการจัดนโยบาย “เราชนะ” ให้ประชาชนผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟนหรือยังเข้าไม่ถึงโครงการใดๆที่รัฐเคยจัดสวัสดิการให้ ให้มาลงทะเบียนแล้วจะได้เงิน 7,000 บาท เพื่อนำไปจับจ่ายใช้สอยเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นทั้งห้างสรรพสินค้าหรือร้านโชห่วยทั้งที่เป็ นนิติบุคคล และ บุคคลธรรมดา ซึ่งเงินก้อนแรกของกลุ่มแรกๆ มีการโอนเงินผ่านแอพเป๋าตังค์โดยผ่าน G-Wallet แต่สำหรับกลุ่มเปราะบางที่เข้าไม่ถึงสมาร์ทโฟน ก็ได้รับเงิน7,000 จากโครงการ “เราชนะ” ด้วยเช่นกัน สรุปก็คือใช้สมาร์ทโฟนหรือบัตรประชาชนไปดำเนินการจับจ่ายใช้สอยเลือกซื้อสินค้ากับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการได้ ล่าสุดผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปพบกับ นายจาตุรนต์ เหลืองสว่าง “คุณอู๋” กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหแสงชัยมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ 21/39-40 ถนนคลองคะเชนทร์ อ.เมือง จ.พิจิตร ได้พาดูบรรยากาศของประชาชนที่พากันมาเข้าแถวเพื่อซื้อสินค้าในแต่ละวันประมาณ 500 คน โดยร้านค้าแห่งนี้เป็นร้านค้าปลีก-ค้าส่ง และขายลูกค้ารายย่อย ซึ่งเข้าโครงการของรัฐบาลที่ สนง.พาณิชย์จังหวัดพิจิตร มาชักชวนและแนะนำทุกโครงการ ซึ่ง นายจาตุรนต์ “คุณอู๋” กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหแสงชัยมาร์เก็ตติ้ง เล่าให้ฟังถึงโครงการที่เข้าร่วมกับรัฐบาลในช่วงวิกฤษเศรษฐกิจว่า ร้านของตนเข้าร่วมโครงการที่ 1 คือ โครงการธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือคนชนชั้นรากหญ้าอย่างแท้จริง ได้เงินคนละ 200-300 บาท ต่อเดือน ส่งเงินจ่ายตรงเข้าในบัตรประชาชน หรือ สมาร์ทโฟน ไม่ผ่านขบวนการขั้นตอนหรือมีค่าดำเนินการเงินถึงมือชาวบ้านเต็มๆ ได้เงินต่อคน 200-300 บาทต่อเดือน สมมุติว่าครอบครัวหนึ่งมี 3-5 คน ได้รวมกัน 1,500 บาท ก็นำมาซื้อ ข้าวสาร น้ำตาล น้ำมันพืช ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ทำให้คุณภาพชีวิตในครอบครัวดีขึ้นเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มกำลังซื้อให้กับฐานรากที่เค้าต้องการเงินไปใช้จ่ายจริง จึงนับได้ว่าเป็นสวัสดิการพื้นฐานอย่างแท้จริง จากนั้นเป็นโครงการที่ 2 คือ ชิม ช้อป ใช้ โครงการนี้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขอพูดในมุมมองของร้านค้าก็คือ รัฐบาลต้องการให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยให้มากขึ้น จึงจ่ายเม็ดเงินให้คนละ 1,500 บาท ซึ่งทางร้านยอมรับว่าในตอนนั้นขายดีขึ้นมากๆ ลูกค้ากล่าใช้เงินเพิ่มมากขึ้นเหตุเพราะเงินในกระเป๋ามีมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่มีรายรับอยู่ประมาณ 12,000-15,000 บาท แต่มีรายจ่ายเช่าบ้าน-ผ่อนบ้าน เดือนละ 5,000 บาท ผ่อนรถ 3,000 บาท รวม 8,000 บาท เหลือ 4,000 บาท กินใช้ในครอบครัวก็ต้องจำกัดจำเกลี่ย พอใรเงิน ชิม ช้อป ใช้ มาเข้ากระเป๋าคนทำงานที่อยู่ใน กทม. ก็เริ่มมีเงินไปซื้อของนอกเหนือจากปัจจัย 4 บ้างก็ไปซื้ออุปกรณ์ IT หรือสิ้งที่ตัวเองอยากได้ แต่มนุษย์เงินเดือนในต่างจังหวัดก็นำมาจับจ่ายใช้สอย ซื้อของกิน ของใช้ ที่อยากได้ เพิ่มมากขึ้นกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นอย่างดี ( โครงการคนละครึ่งร้านค้าแห่งนี้ไม่ได้เจ้าร่วมโครงการเนื่องจากเป็นนิติบุคคล ) โครงการที่ 3 คือ โครงการ “เราชนะ” นายจาตุรนต์ เหลืองสว่าง “คุณอู๋” กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหแสงชัยมาร์เก็ตติ้ง เล่าต่อว่า...โครงการนี้เม็ดเงินก้อนโตขึ้น เพราะโครงการธงฟ้าประชารัฐได้คนละ 200-300 บาท 1 ปีก็ได้เงินแค่ 3,600 บาท แต่โครงการ “เราชนะ” ภายในระยะเวลา 2 เดือน คือตามกำหนดเงื่อนไขให้ลงทะเบียน 5 มีนาคม 2564 ผู้ได้สิทธิจะได้เงิน 7,000 บาท/คน แต่ต้องใช้เงินจับจ่ายใช้สอยภายใน 4 เดือน ซึ่งถือว่าเป็นยาแรงในการกระตุ้นเศรษฐกิจในยุคโควิด 19 เพราะที่ผ่านมาประชาชนหวาดกลัววิตกจริตจึงไม่กล้าใช้เงิน “เมื่อทุกคนไม่กล้าใช้เงิน เงินก็ไม่หมุน พอเงินไม่หมน เศรษฐกิจก็พังทลายหมด การจ้างงานก็เสียหาย ได้รับผลกระทบตามไปด้วย รัฐจึงมีโครงการออกมา ซึ่งทุกโครงการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ไม่เหมือนกัน เราเป็นชาวบ้านก็ต้องเข้าถึงเข้าใจของนโยบายเหล่านี้ด้วย ” สำหรับบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยสังเกตได้ว่าสินค้าที่มียอดขายอันดับ 1. คือ ข้าวสาร 2. น้ำมันพืช 3. น้ำตาล 4. เครื่องครัว เช่นน้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ 5. นมและบะหมี่สำเร็จรูป 6.ของใช้ สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก 7. เครื่องประทินความงาม 8. อุปกรณ์ใช้ในครัวเรือน กระทะ ถ้วย ชาม กะละมัง หม้อ ( ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยขายได้เลย ) 9. เครื่องใช้ไฟฟ้า พัดลม เตารีด เครื่องซักผ้า รวมไปถึงเครื่องปรับอากาศ