เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 18 ก.พ.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการใช้สิทธิ์ตามโครงการเราชนะ ภายหลังจากที่รัฐบาลได้โอนเงินให้กับผู้ที่ได้รับสิทธิ์วันแรกวันนี้พร้อมกันทั้งประเทศ โดยเฉพาะที่ร้านเต็มสิบ ซึ่งตั้งอยู่ ถ.กสิกรทุ่งสร้าง ตรงข้าม มทบ.23 เขตเทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งเปิดเป็นร้านจำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง และเข้าร่วมโครงการเราชนะ ตามที่รัฐบาลกำหนด โดพบว่ามีประชาชน พ่อค้า แม่ค้า เดินทางมาซื้อหาสินค้ากันอย่างคึกคักเพื่อหวังใช้สิทธิ์เราชนะในวันแรกวันนี้ แต่ก็พบปญหาคือลูกค้าไม่สามารถใช้ระบบแอพพลิเคชั่นเป๋าตังได้ เนื่องจากระบบล่ม ขณะที่ร้านค้าที่ใช้ระบบถุงเงิน นั้นยังคงสามารถใช้งานได้ตามปกติ
นางฐานิดา กฤษะสุต ซึ่งมาเลือกซื้อสนิค้ากับทางร้านโดยใช้สิทธิ์เราชนะ กล่าวว่า เป็นลูกค้าประจำที่ร้านเต็มสิบ เพราะมีสินค้าครบ จบในที่เดียว โดยได้สมัครเข้าร่วมโครงการเราชนะและได้รับการยืนยันในการรับสิทธิ์ดังกล่าวจึงเดินทางมาใช้สิทธิ์เนื่องจากเป็นวันแรกของการได้รับเงินรวม 2,000 บาทในงวดแรก โดยก่อนเดินทางมาที่ร้านได้ทดลองเปิดใช้แอพพลิเคชั่นเป๋าตังแล้งและ พบว่าสามารถใช้ได้ จึงมาซื้อข้าวของจำเป็นที่ใช้ในร้านค้า แต่เมื่อมาถึงร้านเต็มสิบกลับพบว่าเปิดใช้งานไม่ได้ จึงพยายามเปิดจนสามารถใช้งานได้
“ระบบล่ม ใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง คาดว่ามีคนเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก โดยส่วนตัวก็รำคาญปัญหาเรื่องระบบการใช้งาน เพราะมีความจำเป็นที่ต้องมาซื้อข้าวของเครื่องใช้ไปไว้ในร้าน แต่หากเข้าใช้บริการไม่ได้ คงต้องคืนสินค้าก่อนแล้วค่อยมาซื้อวันหน้า แต่ก็ถือว่าได้รับประโยชน์จากโครงการเราชนะเป็นอย่างมาก เพราะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ไปได้มาก”
ขณะที่ นายปาลกฤษณ์ นาคะปักษิณ เจ้าของร้านเต็มสิบ กล่าวว่า หลังจากที่เปิดโครงการให้ใช้วันแรก พบว่ามีประชาชนจำนวนมากเปิดใช้แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง ทำให้ระบบล่ม ลูกค้าบางรายต้องใช้เวลากว่า 10 นาที ก็ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ ทำให้ลูกค้าต้องคืนสินค้า ซึ่งตั้งแต่เปิดร้านมาพบว่ามีลูกค้า 4-5 ราย ไม่สามารถใช้แอพพลิชั่นได้ ก็ต้องคืนสินค้า ซึ่งทางร้านก็รับคืนไว้ก่อน
"ร้านก็เห็นใจลูกค้า เพราะบางรายเดินทางมาไกล ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะมาซื้อเครื่องปรุงรส พวกน้ำตาล น้ำปลา ข้าวสารและกลุ่มอาหารแห้งหรืออาหารแช่แข็ง ขณะที่ ปัญหาระบบล่มนั้นต้องการให้รัฐเร่งปรับปรุงระบบ โดยนำปัญหาจากโครงการคนละครึ่งมาเป็นตัวอย่างของการแก้ไขปัญหาเพื่อที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชที่ต้องใช้งานในระบบในระยะยาว"