เมื่อวันที่ 30 มกราคม บริษัทนิวเคลียร์แห่งชาติจีน (China National Nuclear Corporation ‘CNNC’) เปิดเผยว่าโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์หมายเลข 5 ในเมืองฝูชิง มณฑลฝูเจี้ยนที่ใช้เทคโนโลยี “หัวหลง-1” เป็นแห่งแรกของโลก ได้เดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าเต็มกำลังอย่างต่อเนื่อง เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์
“นี่เป็นสัญลักษณ์ที่ชี้ว่าประเทศจีนนั้นได้ก้าวขึ้นมาเป็นแนวหน้าในวงการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ยุคที่ 3 ของโลก” ยู่ เจี้ยนเฟิง ประธานกรรมการบริษัทนิวเคลียร์แห่งชาติจีนกล่าวว่า “ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ยุคที่ 3 อย่างแท้จริงต่อจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศสและรัสเซีย”
“การดำเนินงานเชิงพาณิชย์ของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ‘หัวหลง-1’ แห่งแรกของโลก มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างด้านพลังงานของจีน ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ และช่วยให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แตะจุดสูงสุดก่อนปี 2030 และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ก่อนปี 2060” ยู่ เจี้ยนเฟิงกล่าว
เขายังเผยว่า ในฐานะ “หัวหลง-1” เป็น “นามบัตรของประเทศ” ในการที่พลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ของจีนได้ก้าวสู่สากล และเป็นหนึ่งในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในยุคที่ 3 ที่ได้รับการยอมรับสูงที่สุดในตลาดพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ของโลกในปัจจุบัน การดำเนินงานเชิงพาณิชย์ของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ “หัวหลง-1” แห่งแรกนี้ เป็นการปูรากฐานที่แข็งแกร่งในการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีหัวหลง-1 อีกหลายแห่งและเพื่อเป็นการก้าวสู่สากลอีกด้วย
“หัวหลง-1” เป็นเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ยุคที่ 3 ที่จีนมีสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างสมบูรณ์ และเป็นหนึ่งในเครื่องปฏิกรณ์พลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ถูกยอมรับสูงที่สุดในตลาดนิวเคลียร์โลก ณ ปัจจุบัน”
“หัวหลง-1” ได้รับการออกแบบให้มีอายุขัยการใช้งานถึง 60 ปี เครื่องปฏิกรณ์ออกแบบให้ใช้แกนปฏิกรณ์ถึง 177 แท่ง และกำหนดเปลี่ยนเชื้อเพลิงแกนปฏิกรณ์ทุก ๆ 18 เดือน ซึ่งใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีผสมผสานระบบความปลอดภัยแบบ Active Safety และ Passive Safety รวมถึงอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบสองชั้น โดยเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดระดับสากล และส่วนประกอบหลักผลิตขึ้นภายในประเทศถึง 88% ช่วยเพิ่มความสามารถการก่อสร้างอีกหลายแห่งได้อย่างเต็มที่
เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ “หัวหลง-1” แห่งนี้เริ่มดำเนินงานก่อสร้างอย่างเป็นทาง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2015 และได้เชื่อมต่อเข้ากับโครงข่ายการไฟฟ้าแห่งชาติจีนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2020 รวมระยะเวลา 5 ปีกว่า โดยมีคณะทีมงานออกแบบ วิจัยและพัฒนากว่าพันคน มีโรงงานส่งอุปกรณ์เพื่อก่อสร้างกว่า 5,300 ราย มีผู้เข้าร่วมโครงการก่อสร้างนี้รวมกว่า 2 แสนคน ต่างล้วนร่วมกันใช้สิติปัญญาสร้างความอัศจรรย์ในประวัติศาสตร์การก่อสร้างพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งนี้ได้สำเร็จ
เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ “หัวหลง-1” แต่ละเตาสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเกือบ 1 หมื่นล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าต่อปีสำหรับใช้การผลิตและใช้ในชีวิตประจำวันของประเทศพัฒนาแล้วขนาดกลางที่มีประชากร 1 ล้านคน ในขณะเดียวก็เทียบเท่ากับลดการใช้ถ่ายหินลง 3.12 ล้านตัน และสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 8.16 ล้านตันต่อปี