NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุ “ภาพ #เลนส์ความโน้มถ่วง ที่บิดโค้งกาลอวกาศจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ภาพกาแล็กซี PLCK G045.1+61.1 ที่ถูกบิดโค้งไปตามสนามโน้มถ่วง (เส้นโค้งสีแดงตรงกลางภาพ) เป็นกาแล็กซีที่มีอัตราการก่อดาวฤกษ์เกิดใหม่สูงกว่ากาแล็กซีทั่วไป ห่างจากโลกประมาณ 12,000 ล้านปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Bootes) เลนส์ความโน้มถ่วง (Gravitationally Lensing) เกิดจากแรงโน้มถ่วงของวัตถุมวลมากที่ส่งผลให้กาลอวกาศโค้งงอ แสงที่เดินทางผ่านบริเวณดังกล่าวจะบิดโค้งไป คล้ายกับแสงที่หักเหผ่านเลนส์แว่นตา ภาพปรากฏของกาแล็กซีที่อยู่ไกลโพ้นจึงถูกยืดขยายจากกาลอวกาศที่บิดโค้งนี้ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทำนายเอาไว้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป เรียบเรียง : กฤษดา รุจิรานุกูล - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร. อ้างอิง : [1] https://www.nasa.gov/.../2020/hubble-makes-a-bright-find [2] http://www.sci-news.com/.../hubble-gravitational-lens...”