สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย ได้สร้างรายได้หลักและคุณประโยชน์ให้กับประเทศเป็นอย่างมาก โดยขับเคลื่อนกว่าหนึ่งในสามของมูลค่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยชื่อเสียงติดอันดับต้นๆในระดับโลกทั้งในด้านความงดงามและทางเลือกที่หลากหลายของสถานที่ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ดึงดูดใจ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม เศรษฐกิจสามสีกับการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามด้วยเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ที่เกิดขึ้น คือ การระบาดของไวรัสโควิด-19 กลายเป็นแรงผลักดันให้ทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ให้บริการในธุรกิจท่องเที่ยวต้องปรับตัวอยู่เสมอและสร้างสรรค์รูปแบบการท่องเที่ยวและบริการใหม่ๆ ให้ทันกับความต้องการที่เปลี่ยนไปของนักท่องเที่ยว ซึ่งภายในหนังสือ 9 แนวโน้มใหม่ในอนาคตการท่องเที่ยว ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีข้อมูลที่น่าสนใจในเรื่องดังกล่าว โดยได้สร้างความเข้าใจเชิงลึกในแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและจุดประกายความคิดใหม่ๆในการสร้างสรรค์และพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้สามารถก้าวต่อไปได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่ง เศรษฐกิจสามสีกับการท่องเที่ยว (Three Colors Economy and Tourism) เป็น สีสันของเศรษฐกิจแห่งอนาคตอันเป็นโมเดลเศรษฐกิจใหม่เพื่อ การปรับทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศ โดยนำ ไปจับคู่กับ 3 แนวโน้มแห่งอนาคต ที่โลกกำลังมุ่งหน้าไปเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน สีเขียว สื่อถึงเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สีเงิน สื่อถึงสีผมของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็น กลุ่มคนที่ถือเป็นแรงขับเคลื่อนใหม่ของระบบเศรษฐกิจทั่วโลก สีทอง สื่อถึงยุคทองของ ระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เริ่มต้นจาก เทคโนโลยีสีเขียว เมื่อกระแสโลกหันไปสู่ทิศทางอุตสาหกรรม สะอาด(GreenIndustries) ทำ ให้การนำแนวคิด ความยั่งยืนถูกนำ ไปปรับใช้ในหลากหลายด้านเกิดเป็นมาตรฐานใหม่ที่จำ เป็นต้องมีเพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับนานาชาติกุญแจสำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยวให้ประสบความสำเร็จคือ การเปลี่ยนเป้าหมายให้สอดคล้องกับพลวัตโลก โดยแบ่งออกได้เป็นประเภทย่อย 2 ประเภท ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คือรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมและชุมชน การท่องเที่ยวยั่งยืน คือแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืนที่สามารถนำ ไปประยุกต์ใช้ได้กับการท่องเที่ยวทุกประเภท ทั้งนี้การท่องเที่ยวสีเขียวก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยก่อให้เกิดการจ้างงานและการหมุนเวียนเศรษฐกิจเข้าสู่ท้องถิ่น ช่วยสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชน และสิ่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด และก่อให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนวัฒนธรรมท้องถิ่น พร้อมทั้งเผยแพร่ความเป็นท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จัก นอกจากนี้การท่องเที่ยวสีเขียวยังตอบสนองนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายมิติอีกด้วย โอกาสจากกระแสผู้บริโภคด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จากBooking.com SustainableTravel Report 2020 พบว่า ร้อยละ 55 ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก มีความมุ่งมั่นที่จะใช้บริการการท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืนและช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น ร้อยละ 48 ของนักท่องเที่ยว ยอม เผชิญกับความยากลำ บากมากขึ้น เช่น เวลาในการเดินทาง หากการท่องเที่ยวจะเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นร้อยละ 56 ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกคิดว่าการใช้บริการที่พักที่มีความยั่งยืนมีความจำ เป็นอย่างยิ่งร้อยละ 52 ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกยินดีที่จะมองหาสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความนิยมน้อยกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะ Overtourismประเทศไทยกับการท่องเที่ยวแบบสีเขียว โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป ส่วน ตลาดสีเงิน ประเทศไทยกำ ลังกลายเป็นสังคมสูงอายุ (Ageing Society) และจะเข้าสู่สถานะสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี 2564 การที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไป หรือการเปลี่ยนไปเป็นสังคมสูงวัยไม่ใช่ภาระ หากแต่เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น โดย Silver Economy = สังคมที่เอื้อกับผู้สูงวัย +ตลาดสินค้าและบริการใหม่ + การปรับใช้เทคโนโลยี โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวสูงอายุสร้างรายได้ ให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในปี 2558 กว่า195,891ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8.66 โดยในปี 2564 คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยจะมีจำ นวนทั้งสิ้นกว่า 5.7 ล้านคน และมีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงวัยชาวต่างชาติจำนวนทั้งสิ้นกว่า 6.2 ล้านคน ดังนั้น สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงและพัฒนา โดยอาศัยหลักการอารยะสถาปัตยกรรม (Universal Design) เพื่อการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ ในการออกแบบทางกายภาพ เพื่อการปรับปรุง ก่อสร้าง พัฒนาสิ่งบริการด้านกายภาพเพื่อสนับสนุน และอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกาย ให้สามารถใช้สิ่งบริการ หรือพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยว ได้อย่างสะดวกสบาย เสริมสร้างความเข้าใจ และสร้างความสุข ความเพลิดเพลินในการรับบริการการท่องเที่ยว ด้าน แพลตฟอร์มสีทอง คือ การเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทำ ให้สภาพภูมิทัศน์ ทางเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีมีการก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดโอกาส ในการนำ เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ แพลตฟอร์ม มาประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย และส่งผลให้ความยืดหยุ่นในการปรับตัวนั้นเป็นสิ่งจำเป็น โดย New Golden Age of Platform = โอกาสทางเทคโนโลยี+ ความยืดหยุ่นในการปรับตัว ในปัจจุบันพฤติกรรมการท่องเที่ยวมีลักษณะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเอง(Freely Independent Traveler: FIT) มากยิ่งขึ้น ประกอบกับการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำ ให้เป็นช่องทางสำคัญที่แพลตฟอร์มดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทในการอำนวยความสะดวกให้แก่การท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การให้ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว การเปรียบเทียบราคา การจองที่พัก การเดินทางและการจับจ่ายใช้สอย รวมไปถึงก่อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน