ด้วยสถานการณ์โควิด-19 จึงทำให้มีการปรับแผนงานให้เหมาะสมพร้อมรับกับการจัดงานแบบ New Normal ที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้จัดงานสามารถจัดงานได้ โดยสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ ได้จัดทำโครงการเอ็กซิบิชั่นนิวนอร์ม (Exhibition New Norm) เพื่อช่วยฟื้นฟูและผลักดันผู้จัดงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศไทย รวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและเสริมศักยภาพให้เกิดการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศไทยได้ตามมาตรการอย่างปลอดภัย ครอบคลุมทุกรูปแบบการจัดงาน ทั้งการจัดงานในรูปแบบปกติ (Face to Face) และการจัดงานในรูปแบบปกติร่วมกับออนไลน์ (Hybrid Exhibition) เทรนด์ปีหน้าเน้นงานด้านเทคโนโลยี ซึ่ง นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า จากแผนการส่งเสริมอุตสาหกรรมการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของทีเส็บ ระยะ 5 ปี (2562-2566) โดยมุ่งเน้นการดึงงานและสนับสนุนการจัดงาน 12 อุตสาหกรรมหลัก ดังนั้นในปี 2564 จึงมีแผนการสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติ 58 งาน แบ่งเป็นงานเดิม 44 งาน และงานใหม่จำนวน 14 งาน ซึ่งทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร และอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียน 23,000 ล้านบาท จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ด้าน นายสรรชาย นุ่มบุญนำ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวว่า ทางอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาส่งเสริมการจัดงานแสดงสินค้าในยุควิถีใหม่ โดยงานแสดง ทุกงานได้จัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์งานผ่านช่องทางดิจิทัลต่างๆ อาทิ การจัดสัมมนาออนไลน์ (Webinar) เพื่อให้ความรู้กับอุตสาหกรรมและประชาสัมพันธ์งานอย่างต่อเนื่อง เน้นย้ำสุขอนามัยในการเข้าร่วมงานตามมาตรฐาน Standard Operating Procedure (SOP) เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์งานให้หลากหลาย เช่น ทางเว็บไซต์ E-newsletter Facebook และ Line OA โดยจัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบไฮบริด เอ็กซิบิชั่น (Hybrid Exhibition) มีผู้สนใจเข้าชมงานจากหลากหลายประเทศผ่านทางดิจิทัลกว่า 2,500 คน รวมถึงมีการจัดเจรจาธุรกิจทางออนไลน์ (Online Business Matching) กว่า 500 นัด ในหลากหลายอุตสาหกรรมอีกด้วย เอ็กซิบิชั่นกลไกเชื่อมต่ออุตสาหกรรม ส่วน นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด กล่าวว่า การจัดงาน Exhibition ยังคงเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมต่ออุตสาหกรรม พร้อมทั้งขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศแม้ในช่วงวิกฤตการณ์ที่ผ่านมา ทางนีโอเองในฐานะผู้จัดงานเเสดงสินค้าระดับนานาชาติได้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาผสานร่วมกับครีเอทีฟไอเดียในการสร้างสรรค์งานเเสดงสินค้าในรูปเเบบใหม่ อาทิ Webinar, Live streaming, Virtual Exhibition และ Online Business Matching เพื่อเสริมศักยภาพเเละเพิ่มการเข้าถึงอย่างไร้ขีดจำกัด “หากสถานการณ์การแพร่ระบาดกลับเข้าสู่สภาวะปกติ การใช้เทคโนโลยีออนไลน์จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเสริมประสบการณ์ให้กับผู้เข้าร่วมชมงาน และสามารถเป็นแพลตฟอร์มในการเชื่อมต่อเครือข่ายทางธุรกิจกับผู้ซื้อทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายศักดิ์ชัย กล่าว ศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล เพิ่มช่องทางการเข้าถึง-แลกเปลี่ยน ขณะที่ นายกวิน กิตติบุญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัท กวิน อินเตอร์เทรด จำกัด กล่าวว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 และการห้ามเดินทางระหว่างประเทศ บริษัทฯ ได้เริ่มนำ Digital เทคโนโลยีมาใช้ในการจัดงานแสดงของบริษัทฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แสดงไทยได้มีโอกาสพบปะกับกลุ่มเป้าหมายผู้ซื้อจากต่างประเทศที่สนใจแต่ไม่สามารถเดินทางมาได้เพราะปิดประเทศ ผลปรากฎได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้แสดง กวิน กิตติบุญญา โดยปี 2564 ทางบริษัทฯ ได้เตรียมการจัดงานในรูปแบบ Hybrid คือมีทั้ง Face to Face และ Digital เพราะคาดการณ์ว่าสถานการณ์โควิด- 19 คงยังไม่จบและวัคซีนที่ผลิตออกมายังมีไม่เพียงพอ ทั้งนี้ Digital จะครอบคลุมทั้งในส่วนของ International Exhibitors ที่สนใจต้องการขยายตลาดมาประเทศไทยและมาร่วมงานไม่ได้ และ Thai Exhibitors ที่ต้องการขายสินค้าไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตามแม้ในปี 2563 นี้ สถานการณ์โควิด-19 จะส่งผลกระทบให้ไม่สามารถเดินทางระหว่างประเทศได้ตามปกติ แต่ผู้จัดงานในอุตสาหกรรมการแสดงสินค้านานาชาติ ต่างนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดงานรูปแบบปกติร่วมกับออนไลน์ (Hybrid Exhibition) จึงยังทำให้เกิดการเจรจาธุรกิจและการซื้อขายระหว่างนักธุรกิจไทยและกลุ่มลูกค้าในอาเซียนเกิดการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ขึ้นกว่า 15,000 คู่ โดยทางทีเส็บให้การสนับสนุนงานแสดงสินค้านานาชาติทั้งสิ้นจำนวน 24 งาน มีผู้ร่วมงานจากทั้งในและต่างประเทศรวม 133,259 คน สร้างรายได้ 6,521 ล้านบาท