เมื่อกล่าวถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่น่ากลัวหนึ่งในนั้นคงไม่พ้นแผ่นดินไหว ซึ่งความเสียหายแก่ชีวิตผู้คนมาแล้วมากมาย แผ่นดินไหวเกิดจากการไถล และเสียดสีของของแผ่นเปลือกโลกซึ่งแบ่งได้เป็นหลายชิ้น เช่น แผ่นยูเรเชียน แผ่นอินเดียน-ออสเตรเลียน แผ่นแปซิฟิกหรือแผ่นทวีปอเมริกาเหนือ เป็นต้น แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่เนื่องจากแรงขับดันภายในโลก ซึ่งการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเทียบกับแผ่นข้างเคียงมีทั้งแยกออกจากกัน (Normal Fault) เคลื่อนที่เข้าหากัน (Reverse Fault) บางกรณีดันกันจนยกตัวเป็นเทือกเขาสูง เช่น เทือกเขาหิมาลัยบางกรณีซ้อนกัน โดยแผ่นมหาสมุทรมุดเข้าไปข้างใต้แผ่นทวีป (Subduction) เช่นที่บริเวณประเทศญี่ปุ่นและทะเลอันดามันหรือไถลเสียดสีกันในแนวราบ (Strike-slip) เช่นในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ดังนั้นบริเวณที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากคือบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก เรียกว่า รอยเลื่อน (Fault) ซึ่งแนวที่ใกล้กับประเทศไทยมากที่สุด คือ แนวร่องซุนด้าในทะเลอันดามัน ซึ่งทอดยาวพาดผ่านประเทศพม่าในแนวเหนือใต้การเกิดสึนามิเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ก็เกิดจากบริเวณแนวมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกที่ร่องซุนด้าทางตอนใต้ของทะเลอันดามันใกล้ตอนเหนือของเกาะสุมาตรานั่นเอง ซึ่งจากที่ผ่านมาแผ่นดินไหวในประเทศไทย ถึงแม้แนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกหลักไม่ได้พาดผ่านประเทศไทยโดยตรงแต่แผ่นเปลือกโลกที่ประเทศไทยก็มีรอยเลื่อนที่แตกแขนงออกมาจากรอยเลื่อนหลักจากการสำรวจทางธรณีวิทยาพบ รอยเลื่อนกระจายอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของประเทศไทย รอยเลื่อนที่เกรงว่าจะมีผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครมากที่สุด คือรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ซึ่งวางตัวตามแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจุดที่ใกล้กรุงเทพมหานครมากที่สุดห่างจาก กทม. ประมาณ 150 ถึง 200 กิโลเมตร ระยะห่างถือว่าไกลพอสมควร แต่กรุงเทพตั้งอยู่บนชั้นดินที่เป็นดินเหนียวอ่อนซึ่งสามารถขยายความรุนแรงของการสั่นสะเทือนได้คล้ายกับกรุงเม็กซิโกซิตี้ ซึ่งเคยเกิดความเสียหายรุนแรงจากแผ่นดินไหวที่เกิดห่างออกไปกว่า 200 กิโลเมตรเมื่อปี ค.ศ.1985เชียงใหม่เป็นอีกพื้นที่ในประเทศไทยที่อาจได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว โดยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2549 ได้ เคยเกิดแผ่นดินไหวที่อำเภอแม่ริม ขนาด 5.1 ริคเตอร์ ซึ่งทำให้อาคารบางหลังในบริเวณใกล้เคียงเกิดความเสียหาย แต่เป็นความเสียหายที่ไม่รุนแรง เพราะแผ่นดินไหวมีขนาดเล็ก ดังนั้นในอนาคตอาจเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่กว่า หรือใกล้ตัวเมืองก็ได้ เพราะในภาคเหนือมีรอยเลื่อนขนาดเล็กกระจายอยู่หลายแห่ง จากการที่มีประเด็นในโซเชียลที่เป็นกระแสในแอปพลิเคชั่นไลน์ ได้มีการส่งต่อๆกันโดย มีข้อความว่า “ พี่พรรคพวกผมที่ทำงานที่องค์การนาซ่าแอบส่งข่าวมาว่าแผ่นดินเปลือกโลกบริเวณเขื่อนสามผาที่จีนกำลังเคลื่อนขยับตัวจะเป็นเหตุทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดของโลกและเขื่อนต่างๆทั่วโลกแตกสำหรับที่ไทยเขื่อนเมืองกาญจนบุรี เขื่อนภูมิพลเขื่อนป่าสักฯอันตรายยิ่งข่าวนับจากนี้ไปโดยเฉพาะที่เมืองกาญจนบุรีแผ่นดินจะยุบกลายเป็นเหวลึกน่ากลัวมากๆกรุงเทพฯคงรอดยากเสียแล้วหลัง 62-63 จะคิดแก้กันอย่างไรรีบๆครับ” ทางทีมไขประเด็นโซเชียลจึงได้สอบถามไปยัง ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านภัยภิบัติ เผยถึงเรื่องกังกล่าวว่า ยังไมได้รับข้อมูลเรื่องดังกล่าวจากทาง นาซ่า (NASA) มาก่อน แต่ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น ที่ทำงานอยู่กับ นาซ่า จะเดินทางมาที่กรุงเทพฯ เพื่อประชุมกันถึงเรื่องระบบการเตือนภัยในประเทศเรา ที่ยังดูล้าสมัยไม่มีความชัดเจน ซึ่งเป้าหมายคือการปรับปรุงระบบการเตือนภัยพิบัติต่างๆ ให้มีความทันสมัยมากขึ้น หน่วยงานป้องกันภัยพิบัติในบ้านเราเองยังทำงานกันแบบไม่มีความสอดคล้องกัน ต่างกันต่างทำ จึงทำให้ข้อมูลที่ออกไปสู่สาธารณชนเกิดความผิดเพี้ยน ยกตัวอย่างเช่น กรมอุตุนิยมวิทยา ควรเป็นองค์กรหลักที่ให้ข้อมูลการเตือนภัย อาทิ จะเกิดพายุที่ไหน รุนแรงเท่าไหร่ เพื่อป้องกันการสับสนของคนรับข้อมูล ส่วนเรื่องที่แชร์กันยังไม่ได้รับข่าว หรือข้อมูลใดๆ จากทางนาซ่า แต่การที่เขื่อนขนาดใหญ่จะแตกได้นั้น จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเปลือกโลกมีการขยับตัวอย่างรุนแรง ทีมไขประเด็นโซเชียลก็ขอฝากไปยังผู้ที่แชร์ข้อความกันในโลกออนไลน์อย่าได้ตระหนกเกินไป ควรเสพข่าวหรือข้อมูลอย่างมีสติ