นายหลิน เว่ยกวาง เขียน นายจูน ฟาน แปล
ผลสำเร็จการช่วยเหลือผู้ยากไร้ของจีนมีความหมายระดับโลก ผลสำเร็จและประสบการณ์ของจีนเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้พ้นความยากจน ถือเป็นภูมิปัญญาและแผนการที่จีนอุทิศให้แก่ภารกิจบรรเทาความยากจนของโลก
พิจารณาจากความเร็วในการบรรเทาความยากจน จีนทำได้เร็วกว่าทั่วโลกอย่างเห็นได้ชัด สถิติจากธนาคารโลกปรากฏว่า ตามเกณฑ์ความยากจนสากลคือ 1.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อวัน จากปลายปี พ.ศ. 2524 ถึงปลายปี พ.ศ. 2558 อัตราการเกิดความยากจนของจีนได้ลดลง 87.6% โดยเฉลี่ยลดลง 2.6% ต่อปี ในระยะเดียวกัน อัตราการเกิดความยากจนของโลกได้ลดลง 32.2% โดยเฉลี่ยลดลง 0.9% ต่อปี โดยเฉพาะตั้งแต่จีนดำเนินนโยบายการช่วยเหลือผู้ยากไร้อย่างแม่นยำและตรงจุด พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา จีนได้ลดจำนวนประชากรผู้ยากไร้กว่า 13 ล้านคนต่อปี รวมแล้ว จีนได้ลดจำนวนประชากรผู้ยากไร้กว่า 93 ล้านคนภายในเวลา 7 ปี ซึ่งได้เร่งกระบวนการบรรเทาความยากจนของโลกอย่างมีพลัง
ผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของจีนในการบรรเทาความยากจนนั้น ได้ผลักดันกระบวนการบรรเทาความยากจนของโลกโดยตรง และได้สร้างความมั่นใจของโลกในการขจัดความยากจนด้วย ยุทธศาสตร์และหลักนโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้อย่างแม่นยำและตรงจุด ไม่เพียงแต่ตรงกับเป้าหมายบรรเทาความยากจนของจีนเท่านั้น หากยังมีคุณค่าต่อการสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับทฤษฎีธรรมาภิบาลเพื่อแก้จนระหว่างประเทศ และผลักดันให้บรรดาประเทศกำลังพัฒนาพ้นความยากจนโดยเร็ว
จีนดำเนินความร่วมมือเพื่อบรรเทาความยากจนกับสหประชาชาติและประเทศกำลังพัฒนาอย่างแข็งขัน ซึ่งมีส่วนเกื้อกูลต่อการให้ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากขึ้นหลุดพ้นความยากจน สถิติจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติปรากฏว่า พ.ศ. 2562 ทั่วโลกยังมีประชากรประมาณ 736 ล้านคน (10% ของประชากรทั้งหมดของโลก) ที่ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากเหลือเกิน โดยมีค่าครองชีพต่ำกว่า 1.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อวัน เพื่อช่วยให้สหประชาชาติบรรลุเป้าหมาย ขจัดความยากจนทุกรูปแบ ซึ่งเป็นเป้าหมายธรรมาภิบาลเพื่อขจัดความยากจนของโลกที่กำหนดไว้ใน วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี พ.ศ. 2573 ของสหประชาชาติ จีนดำเนินความร่วมมือเพื่อขจัดความยากจนอย่างแข็งขันกับสหประชาชาติ ธนาคารโลก ตลอดจนบรรดาประเทศกำลังพัฒนา ได้อุทิศกำลังเพื่อสร้างระบบธรรมาภิบาลแก้จนของโลกขึ้น นอกจากนี้ จีนยังช่วยให้สหประชาชาติบรรลุเป้าหมายขจัดความยากจนตามวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี พ.ศ. 2573 ผลักดันให้สมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 73 ผ่านมติ ขจัดความยากจนในชนบท ปฏิบัติตามวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี พ.ศ. 2573 นี่เป็นครั้งแรกที่สมัชชาสหประชาชาติได้ผ่านมติเกี่ยวกับการขจัดความยากจนในชนบท โดยกำหนดยุทธศาสตร์และหลักนโยบาย เพื่อช่วยให้ชนบทของประเทศกำลังพัฒนาบรรเทาความยากจนและพ้นความยากจน อีกทั้งส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในชนบทของประเทศกำลังพัฒนา จีนใช้กลไกความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงความร่วมมือระหว่างใต้กับใต้และข้อริเริ่ม หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เป็นต้น ผลักดันให้ประเทศและภูมิภาคที่เกี่ยวข้องพัฒนาเศรษฐกิจ โดยผ่านการแลกเปลี่ยนทางนโยบาย การเชื่อมต่อทางอุปกรณ์ การอำนวยความสะดวกทางการค้า การหมุนเวียนทางเงินทุน และความเข้าใจระหว่างประชาชนประเทศต่าง ๆ จีนยังพยายามให้ผลสำเร็จของความร่วมมือเพื่อบรรเทาความยากจนระหว่างประเทศเกิดประโยชน์แก่ประเทศและประชาชนให้มากยิ่งขึ้น
การกระทำเชิงสร้างสรรค์และประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อบรรเทาและพ้นความยากจนของจีนเป็นที่น่าเรียนรู้ของโลก ดั่งที่นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส (Ant?nio Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติระบุว่า ยุทธศาสตร์และหลักนโยบายบรรเทาความยากจนอย่างแม่นยำและตรงจุด เป็นแนวทางเดียวในการช่วยเหลือประชากรยากไร้ที่สุด และบรรลุเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ของวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี พ.ศ. 2573 ประเทศจีนได้ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือประชากรหลายร้อยล้านคนพ้นความยากจน ประสบการณ์ของจีนเป็นที่น่าเรียนรู้ต่อประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ
นายโรเบิร์ต ลาวเรนซ์ คูห์น (Robert Lawrence Kuhn) ประธานมูลนิธิคูห์นสหรัฐอเมริกา ผู้ที่ได้รับเหรียญรางวัลมิตรภาพเพื่อการปฏิรูปของจีนระบุว่า ปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ของจีน ทำให้ประชากรนับร้อยล้านคนได้พ้นความยากจน ซึ่งเป็นผลสำเร็จเชิงประวัติศาสตร์ที่สมควรจดจำไว้อย่างถาวร เขาเห็นว่า ประสบการณ์ของจีนในการช่วยเหลือผู้ยากไร้มีอยู่ประการหนึ่งสำคัญมาก นั่นก็คือ กระตุ้นอย่างจริงจังเพื่อให้เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ยึดมั่นการต่อสู้เพื่อพ้นความยากจนเป็นงานที่ต้องทำก่อน
ตั้งแต่จีนใช้นโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศเป็นต้นมา ยอดจำนวนประชากรที่พ้นความยากจนของจีนมีมากกว่าประชากรทั้งหมดของทวีปลาตินอเมริกา จีนได้สร้างคุณูปการอันโดดเด่นเพื่อบรรเทาความยากจนของโลก นายรอนนี ลินส์ (Ronnie Lins) ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษาแห่งบราซิลเขียนบทความโดยระบุว่า ทั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความสามารถของจีนเพื่อขจัดความยากจนในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา
ศาสตราจารย์กามาเกีย (Kamakia) จากมหาวิทยาลัยชามาร์อินเดียระบุว่า การที่จีนได้รับชัยชนะของการต่อสู้เพื่อพ้นความยากจนนั้นไม่เพียงแต่เป็นเรื่องการขจัดความยากจนของจีนเท่านั้น หากยังเป็นตัวอย่างของทุกประเทศ ซึ่งรวมทั้งประเทศพัฒนาแล้วด้วย เป็นส่วนเกื้อกูลของแผนการและแนวคิดของจีนที่มีต่อโลก
นางเมลาเนีย อูลริช (Melanie Ulrich) เจ้าหน้าที่ธนาคารพัฒนาเอเชียระบุว่า จีนได้ประสบความสำเร็จที่น่าสนใจในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ประสบการณ์บรรเทาความยากจนของจีนเป็นที่น่าเรียนรู้สำหรับประเทศอื่น ๆ
นายจอห์น เนสบิทท์ (John Nasbitt) นักเขียนอเมริกันที่มีผลงานติดอันดับขายดี นักอนาคตศึกษาผู้มีชื่อเสียง ระบุว่า พิจารณาจากทั่วโลกแล้ว การใช้ความพยายามเพื่อบรรเทาความยากจนของจีน มีคุณค่าอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มุ่งจะหลุดพ้นความยากจน
นายเบนจามิน เดวิส (Benjamin Davis) ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์เพื่อบรรเทาความยากจนในชนบทขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติระบุว่า เรากำลังศึกษาว่า จะแบ่งปันประสบการณ์ของจีนให้กับประเทศอื่น ๆ อย่างไร จีนได้ดำเนินความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในทวีปลาตินอเมริกาและแอฟริกาเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร โครงการเหล่านี้ได้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว
รสชาติเหอเถียนในเป็ดย่างปักกิ่ง
นายจาง จงข่าย และนายติง เหล่ย เขียน นายจูน ฟาน แปล
ท่ามกลางอากาศหนาวเล็กน้อยยามต้นฤดูหนาว ขณะที่ชิมเป็ดย่างในร้านอาหารกรุงปักกิ่ง คุณอาจจะมีโอกาสได้ลิ้มรสเหอเถียน เขตซินเกียง ที่ห่างไกลกว่า 4,000 กิโลเมตร
อำเภอลั่วผู่ เขตเหอเถียน ตั้งอยู่ด้านเหนือของภูเขาคุนหลุน และทางใต้ของทะเลทรายทักลามากาน เขตซินเจียง โดยมีพื้นที่โอเอซิสไม่ถึง 6% ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านท้องถิ่นส่วนใหญ่ไม่เคยพบเห็นเป็ดมาก่อน ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อำเภอลั่วผู่ได้ก่อสร้างฐานเลี้ยงเป็ดพันธุ์ซื่อซี่ปักกิ่งขนาดใหญ่ติดอันดับสองของจีนขึ้น เป็ดพันธุ์ซื่อซี่ปักกิ่งเป็นเป็ดที่ใช้ย่างเป็ดปักกิ่งโดยเฉพาะ ปัจจุบัน ได้มีเป็ดนับพันตันได้ บิน จากอำเภอลั่วผู่ไปยังกรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ และมณฑลเจ้อเจียง เป็นต้น
เป็ดพันธุ์ซื่อซี่ปักกิ่ง พันธุ์แท้ เหล่านี้ มาจากบริษัทอาหาร ลี่เถียนเซียงหนง จำกัด ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมปักกิ่ง อำเภอลั่วผู่ โดยเป็ดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาจาก บริษัทเป็ด จินซิง ปักกิ่ง จำกัด ในฐานะโครงการช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยอุตสาหกรรมการผลิตส่วนท้องถิ่น บริษัทลี่เถียนเซียงหนงตั้งรกรากในเขตยากจนที่สุดของเขตซินเจียง โดยประกอบการเลี้ยงเป็ดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ การฟักเป็ดเนื้อ การแปรรูปอาหารเป็ด การเชือดกับการแปรรูป และโลจิสติกส์กับการแช่แข็ง เป็นต้น ปัจจุบัน มีทักษะเชือดเป็ดปีละ 20 ล้านตัว
ที่สหกรณ์วิชาชีพกสิกรเพาะเลี้ยงสัตว์ปีกเฟิ่นโต้ว ในหมู่บ้านบอสทานคูเลอร์ ตำบลซานพูลู อำเภอลั่วผู่ เสียง กาบ ๆ... เสียงร้องของเป็ดดังขึ้นเป็นระลอก ๆ นายอับไลที เรอเจภู พี่เลี้ยงเป็ด วัย 25 ปี กำลังยุ่งกับการเติมอาหารให้เป็ด ในฐานะครอบครัวยากไร้ลงทะเบียน เขามาทำงานในสหกรณ์เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ก่อนหน้านี้ เขาทำไร่นาเลี้ยงชีพ หลังจากได้รับการอบรมจากเจ้าหน้าที่มืออาชีพ เขาเรียนเลี้ยงเป็ดให้เป็นภายในเวลาอันสั้น ปัจจุบัน เขามีเงินเดือนเกือบ 3,000 หยวน (ประมาณ 15,000 บาท)
เพื่อประกันการช่วยเหลือผู้ยากไร้อย่างแม่นยำและตรงจุด รัฐบาลจีนได้จัดการจำแนกครอบครัวยากจนและหมู่บ้านยากจนอย่างแม่นยำและตรงจุด โดยทำการสำรวจเพื่อเรียนรู้สภาพความยากจน วิเคราะห์สาเหตุที่ก่อให้เกิดความยากจน เพื่อประกันประสิทธิภาพและประสิทธิผลของความช่วยเหลือ
ก่อนหน้านี้ ผมไม่เคยเห็นเป็ดเยอะอย่างนี้ ตอนแรกยังไม่ค่อยชิน รู้สึกเสียงเจี๊ยวจ๊าวไปหน่อย ตอนนี้รู้สึกว่าเป็ดเหล่านี้น่ารักขึ้น นายอับไลที เล่าให้ฟังด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส โดยอุ้มเป็ดตัวหนึ่งที่วิ่งออกมาจากคอกให้กลับไป
นายซ่ง จี้กาง เลขาธิการพรรคฯ ประจำบริษัทลี่เถียนเซียงหนง ผู้รับผิดชอบโครงการขจัดความยากจน บรรยายสรุปว่า ปัจจุบัน นอกจากโรงงาน อำเภอลั่วผู่ยังมีสหกรณ์เลี้ยงเป็ดเนื้อ 8 สหกรณ์ และโรงเรือนเลี้ยงเป็ดเนื้อจำนวน 250 โรง นอกจากสร้างงานทำอย่างมั่นคงแล้ว อำเภอลั่วผู่ยังช่วยให้ชาวบ้านท้องถิ่นประมาณ 5,000 ครัวเรือนได้รับผลประโยชน์จากการเลี้ยงเป็ดโดยผ่านการถือหุ้นบริษัทและปันผล
นายซ่ง จี้กาง บอกผู้สื่อข่าวว่า เนื่องจากลักษณะเฉพาะด้านแสง ความร้อน และน้ำเป็นด่างเล็กน้อยของอำเภอลั่วผู่ เป็ด ปักกิ่ง ที่เลี้ยงในเขตเหอเถียนมีรสชาติดีมาก ปัจจุบัน ทางบริษัทลี่เถียนเซียงหนง กำลังคิดค้นสูตรอาหารเป็ดสูตรใหม่ โดยเพิ่มส่วนประกอบของพุทราแดงและกุหลาบที่ผลิตในเขตเหอเถียนในการเพาะเลี้ยง เป็ดพุทราแดง และ เป็ดกุหลาบ ที่มีเอกลักษณ์ของเขตเหอเถียน
นอกจากนี้ โรงงานแปรรูปอาหารว่างเขตเหอเถียนเพิ่งสร้างเสร็จเรียบร้อย ซึ่งจะปรับปรุงห่วงโซ่อุตสาหกรรมการผลิตเป็ดเนื้อส่วนท้องถิ่นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อีกไม่นานผลิตภัณฑ์เนื้อเป็ดแรปรูป แบรนด์ ต้าโม่หยุนยา (เป็ดหอมทะเลทราย) จากอำเภอลั่วผู่จะถูกส่งไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศจีน และจะมีนักชิมจำนวนมากยิ่งขึ้นได้ลิ้มรสเป็ดเหอเถียน
โรงเรียนประถมซีวั่งที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลสูงที่สุดในโลก
นายจง สือ เขียน นายจูน ฟาน แปล
อำเภอปันเกอ เขตปกครองตนเองทิเบต ตั้งอยู่บนที่ราบสูงด้านเหนือของทิเบต อยู่เหนือระดับน้ำทะเลกว่า 4,700 เมตร มีประชากรประมาณ 3 หมื่นคน ที่นั่น อากาศหนาวจัด ปริมาณออกซิเจนในอากาศน้อยมาก ฤดูหนาวยาวนานตลอดจนไม่มีฤดูร้อน ในอำเภอเล็ก ๆ ที่ห่างไกลและการดำรงชีวิตอย่างยากลำบากแห่งนี้ มีโรงเรียนประถมที่ทันสมัยแห่งหนึ่งเปิดสอนอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่กลุ่มบริษัทปิโตรเลียมและเคมีจีนหรือ Sinopec ช่วยสร้างขึ้น โดยลงทุนเกือบ 40 ล้านหยวน และใช้เวลาก่อสร้างกว่า 3 ปี โรงเรียนแห่งนี้ไม่เพียงแต่ได้ขจัดความยากลำบากด้านการศึกษาของท้องถิ่นและตำบลที่อยู่รอบข้างเท่านั้น หากยังเป็นตัวอย่างของวิสาหกิจส่วนกลางในการช่วยเหลือทิเบต โดยเปลี่ยนรูปแบบความช่วยเหลือจากการให้เลือดเป็นการสร้างเลือด
โรงเรียนประถมที่ฟรีทุกอย่าง
โรงเรียนประถมซีวั่ง (ความหวัง) แห่งนี้มีพื้นที่ก่อสร้าง 12,700 ตารางเมตร โดยมีตึกการเรียนการสอน 1 หลัง หอพักนักเรียน 6 หลัง หอพักครูและพนักงาน 4 หลัง อีกทั้งมีห้องเรียนมัลติมีเดีย และห้องเรียนภาษาอย่างครบครัน ปัจจุบัน เวลากล่าวถึงโรงเรียนประถมที่กลุ่มบริษัท Sinopec ช่วยสร้างขึ้นแห่งนี้ คนท้องถิ่นต่างยกนิ้วหัวแม่มือชม นายบาถ่า เลขาธิการพรรคฯ ประจำอำเภอปันเกอระบุว่า โรงเรียนแห่งนี้เป็น วิศวกรรมที่ดีที่สุด ในจังหวัดน่าฉวี่ เขตทิเบต
ครูใหญ่ของโรงเรียนประถมแห่งนี้บรรยายสรุปว่า เทอมที่แล้วโรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนที่มาจากตำบลต่าง ๆ จำนวน 742 คน ซึ่งล้วนเป็นนักเรียนประจำทั้งหมด โดยกินนอนอยู่ในโรงเรียน และฟรีค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ปัจจุบัน อำเภอปันเกอมีโรงเรียนเพียง 3 แห่งเท่านั้น ในจำนวนนี้ โรงเรียนที่มีอุปกรณ์สมบูรณ์ที่สุด และมีคุณภาพการเรียนการสอนดีที่สุดก็คือ โรงเรียนประถมซีวั่งที่กลุ่มบริษัท Sinopec ช่วยสร้างขึ้น นักเรียนที่ได้มีโอกาสเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ ในวันข้างหน้า จะมีโอกาสก้าวออกจากเขตภูเขาและไปหางานดี ๆ ทำที่ภายนอก
รูปแบบสร้างเลือดในการช่วยเหลือทิเบตของวิสาหกิจส่วนกลาง
มีรายงานว่า จนถึงปลายปี พ.ศ. 2554 บรรดาวิสาหกิจส่วนกลางได้จัดสรรเงินทุนมูลค่ากว่า 5,000 ล้านหยวนไปช่วยเหลือทิเบตในการพัฒนาด้านวัฒนธรรมการศึกษา การรักษาพยาบาล อนามัย ป้องกันและบรรเทาภัย อบรมบุคลากร การบริจาคโดยไม่คิดค่าตอบแทน และการสนับสนุนเฉพาะสาขาอาชีพ เป็นต้น บรรดาวิสาหกิจส่วนกลางได้ลงทุนมูลค่ากว่า 40,000 ล้านหยวนในการพัฒนาพลังไฟฟ้า ชลประทาน โทรคมนาคม พลังงาน สินแร่ และการท่องเที่ยวของทิเบต นอกจากนี้ บรรดาวิสาหกิจส่วนกลางยังได้รับเหมาโครงการต่าง ๆ ที่มีมูลค่าตามสัญญากว่า 24,000 ล้านหยวนในการก่อสร้างทางรถไฟ ทางหลวง สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน วิศวกรรมโทรคมนาคม ชลประทาน การกำเนิดไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ และการสำรวจทรัพยากรในทิเบตอีกด้วย
เกี่ยวกับเรื่องที่วิสาหกิจส่วนกลางช่วยเหลือทิเบตโดยเปลี่ยนจากแบบการให้เลือดเป็นแบบการสร้างเลือดอย่างไรนั้น กลุ่มบริษัท Sinopec ระบุว่า ตัวอย่างเช่นกลุ่มบริษัท Sinopec ได้ลงทุนก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานในอำเภอปันเกอโดยไม่คิดค่าตอบแทน ขณะเดียวกัน กลุ่มบริษัท Sinopec ยังให้ความสำคัญในโครงการอบรมด้านการรักษาพยาบาล การศึกษา และการอบรมเจ้าหน้าที่อีกด้วย โรงเรียนประถมซีวั่งอำเภอปันเกอก็เป็นโครงการแบบนี้ นอกจากช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตที่มีเอกลักษณ์ของทิเบต กลุ่มบริษัท Sinopec กำลังศึกษาอยู่ว่า จะดำเนินความร่วมมือกับท้องถิ่นอย่างไร เพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตที่มีเอกลักษณ์เหล่านี้มีขนาดใหญ่ขึ้นและเข้มแข็งขึ้น และให้เขตยากจนที่ได้รับความช่วยเหลือสามารถพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนด้วยตนเอง
ตำบลซงเจียง นครเซี่ยงไฮ้ จับคู่ช่วยเหลือจังหวัดสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนาน
นายเริ่น เผิง เขียน นายจูน ฟาน แปล
นครเซี่ยงไฮ้กับจังหวัดสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนาน แม้ห่างไกลกันมาก แต่มีความผูกพันกันอย่างใกล้ชิดสนิทสนม
เริ่มตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา ตำบลซงเจียง นครเซี่ยงไฮ้กับจังหวัดปกครองตนเองชนเผ่าไตสิบสองปันนามณฑลหยุนหนานได้จับคู่กันในการช่วยเหลือผู้ยากไร้อย่างแม่นยำและตรงจุด หลังจากอำเภอเมิงไห่ได้พ้นความยากจนใน พ.ศ. 2561 และอำเภอเมิงล่าได้พ้นความยากจนใน พ.ศ. 2562 จังหวัดสิบสองปันนาได้กลายเป็นจังหวัดแรกในมณฑลหยุนหนานที่ ทั่วทั้งจังหวัดได้พ้นความยากจน
อำเภอเมิงล่าเป็นอำเภอปลูกยางพาราที่ใหญ่ที่สุดของจีน แต่อุปกรณ์และกรรมวิธีการแปรรูปยางพาราธรรมชาติของที่นั่น อยู่ในสภาพล้าหลังเป็นเวลานาน โดยขาดแคลนการแปรรูปอย่างละเอียดประณีตและอุตสาหกรรมการผลิตครบชุด ผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับการแปรรูปขั้นต้น อำเภอเมิงล่าเป็นแค่แหล่งวัตถุดิบเท่านั้น
พ.ศ. 2561 นครเซี่ยงไฮ้ได้ลงทุนพัฒนาโครงการแปรรูปยางพาราธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดของจีนที่อำเภอเมิงล่า โดยจะสร้างมวลรวมการผลิต 10,000 ล้านหยวนและตำแหน่งงาน 1,800 ตำแหน่ง รวมทั้งรายได้จากภาษีอากรมูลค่า 550 ล้านหยวนต่อปี เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ระยะที่หนึ่งของโครงการดังกล่าวเริ่มการผลิต นี่เป็นครั้งแรกที่มณฑลหยุนหนานสามารถแปรรูปยางพาราธรรมชาติอย่างละเอียดประณีต
การคายน้ำ การล้างไขมัน การหมัก... ...ผ่านการแปรรูปอย่างต่อเนื่อง น้ำยางธรรมชาติสีขาวกลายเป็นก้อนใหญ่ที่อ่อนนิ่มในกรอบแม่พิมพ์ ต่อจากนั้น ยังมีขั้นตอนล้างน้ำ อบแห้ง และบรรจุหีบห่อ เป็นต้น เสร็จแล้ว น้ำยางที่ไหลมาจากต้นยางตอนเช้า ก็เปลี่ยนตัวเป็นหมอนยางพาราและที่นอนยางพารา แล้วถูกจัดส่งจากฐานผลิตยางพาราธรรมชาติหย่งเซิงจงเจียว อำเภอเมิงล่า ไปยังตลาดในท้องที่ต่าง ๆ อย่างไม่ขาดสาย
ตำบลซงเจียง เป็นจุดเริ่มต้นด้านตะวันออกของทางด่วนเซี่ยงไฮ้-คุนหมิง (G60) และเป็นแหล่งริเริ่มของระเบียงวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม G60 อีกด้วย จุดหมายปลายทางด้านตะวันตกของทางด่วน G60 อยู่ที่เมืองคุนหมิงเมืองเอกของมณฑลหยุนหนาน ธุรกิจต่าง ๆ ในมณฑลหยุนหนานได้มองเห็นโอกาสการพัฒนาของระเบียงวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม G60 ที่ตั้งอยู่ในดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำฉางเจียง และหวังที่จะส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราไปสู่โพ้นทะเล โดยอาศัยศักยภาพของมหานครเซี่ยงไฮ้