วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ทางการมณฑลกุ้ยโจวของจีนประกาศว่า 9 อำเภอของมณฑลนี้ ซึ่งรวมถึงอำเภอจื่อหยุน อำเภอน่ายง และอำเภอเวยหนิง เป็นต้น ได้ถอนตัวออกจากบัญชีรายชื่ออำเภอยากจน ด้วยเหตุนี้ อำเภอยากจนจำนวน 66 อำเภอในมณฑลกุ้ยโจวได้พ้นความยากจนทั้งหมด นับเป็นเหตุการณ์เชิงศิลาจารึกบนหนทางช่วยเหลือผู้ยากไร้ของจีน บัดนี้ อำเภอยากจนระดับชาติจำนวน 832 อำเภอทั่วประเทศจีนได้พ้นความยากจนทั้งหมดแล้ว ตั้งแต่จีนดำเนินนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศเมื่อกว่า 40 ปีก่อน โดยเฉพาะหลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 เป็นต้นมา จีนได้นำร่องเดินหนทางเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับการพัฒนาอย่างมีเอกลักษณ์ของจีนตามสภาพจริงของบ้านเมือง และก่อรูปเป็นระบบการต่อสู้เพื่อพ้นความยากจนอย่างมีเอกลักษณ์ของจีน โดยเฉพาะหลังจากได้กำหนดยุทธศาสตร์และหลักนโยบายเพื่อพ้นความยากจนอย่างแม่นยำและตรงจุดเป็นต้นมา จีนได้ดำเนินการต่อสู้เพื่อพ้นความยากจนในทั่วประเทศ ซึ่งทำให้ประชากรผู้ยากไร้ลดลงเป็นจำนวนมาก และได้ปูพื้นฐานอย่างแน่นหนาต่อการสร้างสรรค์สังคมอยู่ดีมีสุขอย่างรอบด้านให้ลุล่วงไปในปี 2563 “มหัศจรรย์ประเทศจีน” ในประวัติศาสตร์บรรเทาความยากจนของโลก “เป็นที่จับตามองของประชาคมโลกที่จีนมีประชากรยากไร้ที่สุดจำนวนมากได้พ้นความยากจน ความเร็วเป็นหนึ่งเดียวในโลก” นางเฮเลน คลาร์ก (Helen Clark) อดีตผู้อำนวยการโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ชื่นชมด้วยความจริงใจต่อความสำเร็จของจีนในการช่วยเหลือผู้ยากไร้ สาเหตุที่นางเฮเลน คลาร์ก ชื่นชมจีน เพราะว่าตั้งแต่สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้น โดยเฉพาะหลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 เป็นต้นมา จีนได้มีส่วนเกื้อกูลกว่า 70% ต่อการบรรเทาความยากจนของโลก จีนได้สร้างความมหัศจรรย์เพื่อบรรเทาความยากจน โดยมีขนาดใหญ่ที่สุด ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานที่สุด และได้สร้างผลประโยชน์ให้แก่ประชากรจำนวนที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ หลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 เป็นต้นมา พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดการต่อสู้เพื่อพ้นความยากจนเป็นเป้าหมายขั้นต่ำและเป็นส่วนที่ต้องพัฒนาก่อนของการสร้างสรรค์สังคมอยู่ดีมีสุขอย่างด้าน และได้ลงเรี่ยวลงแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยคณะกรรมการกลางพรรคฯ ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ถึง พ.ศ. 2563 ต้องประกันให้ผู้ยากไร้ในชนบทพ้นความยากจนตามเกณฑ์ที่จีนปฏิบัติใช้ในปัจจุบัน อำเภอยากจนต้องหลุดพ้นจากภาวะยากจนทั้งหมด และแก้จนในภาพรวมของภูมิภาคต่าง ๆ พิจารณาจากสภาพและลักษณะในการต่อต้านความยากจน คณะกรรมการกลางพรรคฯ ได้กำหนด “แผนการ” ที่ว่า “ช่วยเหลือผู้ยากไร้อย่างแม่นยำและตรงจุด” เกี่ยวกับยุทธศาสตร์และหลักนโยบายการช่วยเหลือผู้ยากไร้อย่างแม่นยำและตรงจุด นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนเน้นย้ำว่า ให้ความสำคัญกับ “ความแม่นยำและตรงจุด 6 ประการ” ได้แก่ เฟ้นหาผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างแม่นยำและตรงจุด จัดโครงการอย่างแม่นยำและตรงจุด ใช้เงินทุนอย่างแม่นยำและตรงจุด ใช้มาตรการเข้าถึงครัวเรือนอย่างแม่นยำและตรงจุด จัดส่งเจ้าหน้าที่ตามสภาพของหมู่บ้านยากจนอย่างแม่นยำและตรงจุด และได้ประสิทธิภาพเพื่อพ้นความยากจนอย่างแม่นยำและตรงจุด “ความแม่นยำและตรงจุด 6 ประการ” ดังกล่าวได้ครอบคลุมขั้นตอนต่าง ๆ ในการจำแนกผู้ยากไร้ที่จะได้รับความช่วยเหลือ และการช่วยเหลือกับการบริหาร เป็นต้น ได้เชื่อมโยงทั้งกระขวนการของการช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับการพัฒนา ซึ่งสามารถชี้นำประชาชนผู้ยากไร้ให้มีส่วนร่วมในโครงการเพื่อพ้นความยากจนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำให้โครงการเป็นไปตามแผนการ เงินทุนเป็นไปตามโครงการ โครงการและเงินทุนเป็นไปตามผู้รับผิดชอบ เพื่อประกันให้ความช่วยเหลือเข้าถึงประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด และให้ความช่วยเหลือเข้าถึงพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด การช่วยเหลือผู้ยากไร้อย่างแม่นยำและตรงจุดต้องยืนหยัดให้ใช้นโยบายที่แตกต่างกันตามกลุ่มชนที่แตกต่างกันและท้องที่ที่แตกต่างกัน ให้ใช้นโยบายที่แตกต่างกันตามสาเหตุที่ก่อให้เกิดความยากจน และให้ใช้นโยบายที่แตกต่างกันตามประเภทความยากจน โดยพิจารณาสภาพความยากจนก่อน แล้วให้ยาตามอาการ รักษาด้วยวิธีหยอดหรือฉีดยาตามเป้าหมายอย่างแม่นยำและตรงจุด ซึ่งได้แก้ไขปัญหา“ช่วยเหลือใคร” “ใครช่วยเหลือ” และ“ช่วยเหลืออย่างไร” อย่างมีประสิทธิภาพ พิจารณาจากความเร็วการบรรเทาความยากจน ความเร็วของจีนเร็วกว่าทั่วโลกอย่างเห็นได้ชัด ตอนที่จีนเริ่มดำเนินนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศ พ.ศ. 2521 คิดตามเกณฑ์ความยากจนในเวลานั้นคือ รายได้สุทธิต่อคนต่อปีมูลค่า 200 หยวน จีนมีประชากรผู้ยากไร้ถึง 250 ล้านคน คิดเป็น 31% ของประชากรทั้งหมดในชนบท (อัตราการเกิดความยากจน) ถึงพ.ศ. 2562 ประชากรผู้ยากไร้ในจีนเหลือเพียง 5.51 ล้านคน ส่วนอัตราการเกิดความยากจนเหลือเพียง 0.6% พิจารณาจากปริมาณบรรเทาความยากจน จีนเป็นประเทศที่ได้ลดประชากรยากไร้เป็นจำนวนมากที่สุดในโลก ตลอดช่วงกว่า 40 ปีที่ดำเนินนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศ จีนได้ลดจำนวนประชากรยากไร้ถึง 850 ล้านคน โดยสร้าง “มหัศจรรย์ประเทศจีน” ในประวัติศาสตร์บรรเทาความยากจนของโลก การช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยการผลิตเป็นแนวทางพื้นฐานเพื่อพ้นความยากจนอย่างมั่นคง “ตอนนี้เราไม่เพียงแต่ได้อยู่บ้านใหม่ที่กว้างและสว่างขึ้นแล้วเท่านั้น หากยังมีวิธีหาเงินอีกด้วย อยู่บ้านก็มีรายได้ ไม่ต้องไปหางานทำนอกหมู่บ้านเสียอีก” ในหมู่บ้านผู้อพยพที่สร้างใหม่ จังหวัดฉาโย่วโห้วฉี เมืองอูลันฉาปู้ เขตมองโกเลียใน มีเรือนกระจกที่ปลูกเห็ดที่สร้างขึ้นเรียงรายเป็นแถว ๆ นางอู๋ ซานหนวี่ วัย 62 ปี กำลังเก็บเห็ดอยู่ เธอเริ่มทำงานที่นี่ตั้งแต่ทางหมู่บ้านได้สร้างเรือนกระจกปลูกเห็ดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว โดยมีรายได้วันละ 100 หยวน จนถึงปัจจุบัน เธอได้สร้างรายได้กว่า 400,000 หยวนแล้ว ( ประมาณ 2,000,000 บาท) จังหวัดฉาโย่วโห้วฉีเป็นพื้นที่ยากจนมาก ที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนแหล่งน้ำ สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานชนบทล้าหลัง ด้วยเหตุนี้ ตำบลทูมูล์ไทจึงรวบรวมผู้อพยพเกือบ 3,400 คนจากกว่า 50 หมู่บ้าน ย้ายเข้าไปอยู่ในหมู่บ้านที่สร้างขึ้นใหม่ 30 หมู่บ้าน ย่ำเข้าหมู่บ้านผู้อพยพในตำบลทูมูล์ไท จังหวัดฉาโย่วโห้วฉีจะพบว่า ถนนผิวเรียบสะอาด ลานบ้านเป็นระเบียบเรียบร้อย เรือนบ้านกว้างและสว่าง เห็ดในเรือนกระจกเจริญผลิดอกออกผล วัวและแกะในคอกเจริญเติบโตแข็งแรง ชาวบ้านกำลังยุ่งทำงานด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสอย่างมีความสุข ทั่วทั้งหมู่บ้านเต็มเปี่ยมไปด้วยบรรยากาศการผลิตที่เจริญรุ่งเรือง และมีระบบนิเวศที่น่าอยู่ หมู่บ้านผู้อพยพในเขตมองโกเลียดังกล่าว เป็นภาพสะท้อนผลสำเร็จในการช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยการผลิตของรัฐบาลจีน การช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยการผลิตเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาในเขตยากจน เป็นแนวทางพื้นฐานของการต่อสู้เพื่อพ้นความยากจนและการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน ในกระบวนการช่วยเหลือผู้ยากไร้ หน่วยงานบริหารระดับต่าง ๆ ของจีนได้ส่งเสริมให้พื้นที่ต่าง ๆ พัฒนาการผลิตด้านการเกษตร การป่าไม้ การปศุสัตว์ การท่องเที่ยวกับวัฒนธรรม และการค้า อย่างมีเอกลักษณ์ และเหมาะสมกับสภาพที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ ด้านหนึ่งคัดเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับพื้นฐานการผลิต ลักษณะเฉพาะ และทรัพยากรธรรมชาติส่วนท้องถิ่น อีกด้านหนึ่งพยายามกระตุ้นกำลังใจเพื่อการพัฒนาของประชาชนผู้ยากไร้ โดยอบรมและพัฒนาทักษะฝีมือการผลิตของผู้ยากไร้ อีกทั้งสร้างความมุ่งมั่นเพื่อพ้นความยากจนและสู่ความมั่งคั่งของประชาชนผู้ยากไร้ด้วย ตอนที่พัฒนาการผลิตในเขตยากจน จีนได้บุกเบิกทรัพยากรอย่างสมเหตุผล และอนุรักษ์ระบบนิเวศน์พร้อมกัน โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ของเขตยากจนอย่างบูรณาการ ซึ่งรวมถึงการจัดวางการผลิต การเปลี่ยนแปลงของตลาด การขนส่งกับคมนาคม การประชาสัมพันธ์ และการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ เป็นต้น เพื่อผลักดันการผลิตในเขตยากจนให้พัฒนาอย่างยั่งยืน การช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยการผลิตของจีน ยังทุ่มกำลังในการยกระดับการผลิตดั้งเดิมในส่วนท้องถิ่น โดยให้การสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญ จีนได้ผลักดันให้อินเตอร์เน็ต บิ๊กดาต้า การประมวลผลแบบคลาวด์ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น ผสมผสานให้กลมกลืนกับการผลิตดั้งเดิมอย่างลึกซึ้ง ใช้ความพยายามในการขยายห่วงโซ่การผลิต พยายามแก้ไขปัญหาการแปรรูปและปัญหาการจำหน่ายที่เขตยากจนต้องเผชิญหลังการผลิต เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ได้ส่งออกไปจากเขตยากจน โดยเปลี่ยนก้อนดินให้เป็นก้อนเงินก้อนทองในกระบวนการพ้นความยากจนและมุ่งสู่ความมั่งคั่ง และสนับสนุนการผลิตของเขตยากจนให้พัฒนาด้วยดียิ่งขึ้น การช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยการศึกษาเพื่อป้องกันความยากจนข้ามชั่วคน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เน้นย้ำว่า “การแก้ปัญหายากจนต้องสร้างความรู้ก่อน ต้องให้การศึกษาที่มีคุณภาพแก่คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะต้องให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตของคนรุ่นใหม่ในเขตยากจนและเขตภูเขา การให้คนรุ่นใหม่ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ก่อนอื่นต้องพัฒนาการศึกษา อย่างนี้แล้วการพัฒนาในอนาคตของพวกเขาก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง” ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนของจีนให้ความสำคัญในการพัฒนาการศึกษาและยกคุณภาพประชากรผู้ยากไร้มาโดยตลอด โดยเฉพาะหลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 เป็นต้นมา จีนได้กำหนดนโยบายสำคัญจำนวนหนึ่งตามลำดับ ซึ่งรวมถึง “แนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินโครงการช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยการศึกษา” และ “แผนการพัฒนาเด็กในเขตยากจนแห่งชาติ (พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2563)” เป็นต้น นโยบายเหล่านี้ได้ให้หลักประกันอย่างรอบด้านแก่เด็กและนักเรียนในเขตยากจนตั้งแต่แรกเกิดจนถึงสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ การช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยการศึกษาแยกออกจากการอุทิศของครูบาอาจารย์ไม่ได้ ตอนที่ไปช่วยสอนหนังสือในจังหวัดเหลียงซาน มณฑลเสฉวนใหม่ ๆ นางสาวเซี่ย ปินหรงไม่ได้คิดว่าจะอยู่ที่นั่นนานหลายปี จนถึงปัจจุบัน เธอในฐานะอดีตทหารที่ปลดประจำการได้ยืนหยัดช่วยสอนหนังสือที่เขตยากจนเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว เธอถูกขนานนามว่าเป็น “กุหลาบเข้มแข็ง” ที่ตั้งรกรากอยู่ในเขตภูเขาต้าเหลียงซาน เธอได้นำมาซึ่งพลังชีวิตและความหวังใหม่มาสู่ป่าเขา เธอเดินทางไปถึงหมู่บ้านจากานโล่ในช่วงเปิดเทอมฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2558 หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านยากจนที่สุดแห่งหนึ่งในเขตภูเขาต้าเหลียงซาน เด็ก ๆ มักจะต้องไล่ฝูงวัวฝูงแพะไปที่ไกลมากเพื่อปล่อยให้กินหญ้าก่อน แล้วจะไปโรงเรียนภายหลัง จึงเข้าเรียนสายบ่อย ๆ นานเข้า เด็กเหล่านี้ก็ไม่อยากไปโรงเรียนเสียอีก ด้วยเหตุนี้ ครูเซี่ย จึงไปเยี่ยมที่บ้านนักเรียนทุกคน กล่าวชักชวนอย่างตั้งใจจนให้เด็ก ๆ พากันกลับห้องเรียนอีก “เห็นเด็ก ๆ เจริญเติบโตขึ้นทุกวัน ก็มีกำลังใจยืนหยัดทำงานอยู่ต่อแล้ว” ครูเซี่ยเล่าให้ฟังว่า เมื่อหลายปีก่อน เด็ก ๆ แม้พูดและฟังภาษาจีนกลางก็ไม่ได้ แต่ตอนนี้พวกเขาต่างได้กลายเป็นเด็กที่มีเหตุผล และรู้จักตอบแทนบุญคุณแล้ว เธอรู้สึกว่าตัวเองไปถูกที่แล้ว ได้ช่วยเหลือให้เด็ก ๆ ในเขตยากจนเจริญเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง ขณะเดียวกัน ก็ได้เพิ่มคุณค่าชีวิตของเธอ การช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยการศึกษาต้องมีการสนับสนุนทางนโยบายของรัฐบาล หน้าที่สำคัญของการช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยการศึกษาของจีนคือ เสริมสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างรอบด้าน เร่งพัฒนาอาชีวศึกษาที่ทันสมัยให้เร็วยิ่งขึ้น ยกระดับการบริการของอุดมศึกษา ยกระดับการให้ทุนการศึกษา และยกระดับความเป็นสารสนเทศของการศึกษา มาตรการประกันโครงการช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยการศึกษาของจีนได้แก่ ประการแรก หลักประกันด้านงบประมาณ โดยเสริมสร้างหลักประกันด้านเงินทุนต่อโครงการช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยการศึกษา และส่งเสริมการบริหารเงินทุนสำหรับโครงการช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยการศึกษา ประการที่สอง การมีงานทำของนักเรียนนักศึกษา โดยเสริมสร้างให้จัดหางานทำแก่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาใหม่ ชี้นำและสนับสนุนนักศึกษาที่จบจากสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยอาชีวศึกษาไปทำงานหรือประกอบธุรกิจในเขตยากจน ประการที่สาม ให้ความช่วยเหลือแบบการจับคู่ โดยพัฒนาการอบรมบุคลากรก่อน แล้วพัฒนากลไกความช่วยเหลือแบบการจับคู่ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ประการที่สี่ นำเข้าบุคลากร โดยจัดผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ครูบาอาจารย์ดีเด่น ช่างฝีมือ ช่างเทคนิคเฉพาะด้านที่เกษียณแล้ว และอาสาสมัครจากเมืองขนาดใหญ่และปานกลางทางตะวันออก ไปสอนหนังสือในโรงเรียนเขตยากจน ให้สิทธิพิเศษเพื่อดึงดูดบุคลากรจากภาคตะวันออกไปสอนหนังสือที่เขตยากจน โดยเฉพาะสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาในเขตยากจนนำเข้าบุคลากร การช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถ่ายโอนและการประยุกต์ใช้ผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเขตเขตยากจน ในอดีต อำเภอโม่ทัว เขตปกครองตนเองทิเบต เกือบถูกปิดกั้นจากโลกภายนอก โดยการนำวัสดุสิ่งของเข้าไปในภูเขาใหญ่ต้องอาศัยคนแบกเท่านั้น จนกว่ามีการสร้างสถานีฐานขึ้นที่นั่น อำเภอโม่ทัวจึงมีการติดต่อกับโลกภายนอกอย่างแท้จริง นายอาวาง ผู้จัดการบริษัทไชน่าโมบายล์สาขาอำเภอโม่ทัว เป็นเจ้าหน้าที่รุ่นแรกที่ได้เข้าร่วมการก่อสร้างสถานีฐานอำเภอโม่ทัว เขาทำงานด้านโทรคมนาคมในอำเภอโม่ทัวมาเป็นเวลา 16 ปีแล้ว เป็นสักขีพยานการติดตั้งเครื่องโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตในอำเภอโม่ทัว เขารับผิดชอบการใช้งานและความปลอดภัยของสายโทรศัพท์และสายอินเตอร์เน็ตในอำเภอโม่ทัว เพื่อให้อำเภอโม่ทัวก้าวสู่อนาคตที่งดงามยิ่งขึ้น ในอำเภอโม่ทัวอำเภอเล็ก ๆ ที่มีประชากรหมื่นกว่าคนแห่งนี้ นายอาวางในฐานะผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม การรักษาความปลอดภัยทางโทรคมนาคมของอำเภอโม่ทัวเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของเขา กล่าวสำหรับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เทคโนโลยีโทรคมนาคมเคลื่อนที่ได้อำนวยความสะดวกอย่างมากต่อการดำเนินงานของพวกเขา ปัจจุบัน การส่งข้อความสั้นทดแทนการเป่าแตรในอดีต บรรดาเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นสามารถจัดส่งข้อมูลข่าวสารให้แก่ชาวบ้านด้วยวิธีที่สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น หลังการประชุมสมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ 18 เป็นต้นมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยืนหยัดให้การช่วยเหลือผู้ยากไร้ผสมผสานกับการช่วยเหลือให้มีความมุ่งมั่นและมีภูมิปัญญา เจาะจงต่อจุดอ่อนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนการขาดแคลนบุคลากรของเขตยากจน หน่วยงานดังกล่าวได้ผลักดันงานช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเป็นรูปธรรม โดยช่วยให้เขตยากจนเกิดพลังขับเคลื่อนจากภายในและสามารถเติบโตขึ้นด้วยตนเอง ใช้ “ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” อย่างขันแข็ง สร้างกลไกประสานงานระหว่างกระทรวงและหน่วยงานต่าง ๆ ในการใช้ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดมพลังทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของทั่วทั้งสังคม รับใช้การต่อสู้เพื่อพ้นความยากจน โดยใช้นโยบายจำนวนหนึ่ง เพื่อผลักดันให้การช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้คืบหน้าไปอย่างมั่นคง ทุ่มกำลังดำเนินโครงการ “บุคลากรร้อยพันหมื่น” ในการช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อำนวยโอกาสการสร้างนวัตกรรมและการบุกเบิกพัฒนาธุรกิจ พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อพ้นความยากจน ส่งเสริมให้ถ่ายโอนและประยุกต์ใช้ผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเขตยากจน จัดส่งเจ้าหน้าที่พิเศษเพื่อขับเคลื่อนการบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนการบุกเบิกพัฒนาธุรกิจในหมู่บ้านยากจนอย่างทั่วถึง การพ้นความยากจนและมุ่งสู่ความมั่งคั่งขาดแคลนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ได้ การช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนได้รับผลคืบหน้าสำคัญ การช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยการประสานงานระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันตก เพื่อไม่ให้มีเขตยากจนตกรอบแม้แต่เขตเดียว พ.ศ. 2539 รัฐบาลจีนได้กำหนดนโยบายสำคัญ “การประสานงานระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันตกเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้” ข้อมูลปรากฏว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มณฑลและเมืองต่าง ๆ ภาคตะวันออกของจีนได้ให้ความช่วยเหลือทางการคลังมูลค่า 13,270 ล้านหยวนแก่ภาคตะวันตก โดยช่วยสร้างทางหลวงในชนบทที่มีความยาวรวม 21,500 กิโลเมตร และช่วยสร้างศูนย์อนามัยจำนวน 1,690 แห่ง... ... พ.ศ. 2559 เมืองจี่หนัน มณฑลซานตุง (ภาคตะวันออก) กับจังหวัดปกครองตนเองชนเผ่าถู่เจียและชนเผ่ามุ้งเซียงซี มณฑลหูหนาน ได้ผูกเป็นมิตรกันอันเนื่องมาจากโครงการประสานงานระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันตกเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เมืองจี่หนันได้จับมือกับจังหวัดเซียงซีร่วมกันพัฒนาก้าวหน้า โดยเมืองจี่หนันได้ให้ความช่วยเหลือทางการคลังมูลค่า 1,108 ล้านหยวน บริจาคเงินและสิ่งของมูลค่า 200 ล้านหยวน ร่วมมือกันพัฒนาโครงการการผลิตเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้จำนวน 349 โครงการ ช่วยให้ประชากรผู้ยากไร้จำนวน 255,000 คนพ้นความยากจน นอกจากนี้ เมืองจี่หนันยังส่งเสริมให้ธุรกิจ 28 รายไปลงทุนและสร้างโรงงานที่จังหวัดเซียงซีน โดยได้สร้างนิคม 8 แห่ง และลงทุนมูลค่ากว่า 300 ล้านหยวน มีประชากรผู้ยากไร้กว่า 10,000 คนได้มีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าวโดยตรง อำเภอยากจนระดับชาติ 7 อำเภอในจังหวัดเซียงซีได้พ้นความยากจนทั้งหมดเมื่อต้นปี พ.ศ. 2563 การประสานงานระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันตกเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้กับการสนับสนุนแบบจับคู่นั้นมีความหมายสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งไม่จำกัดอยู่ที่ด้านเศรษฐกิจและด้านวัตถุเท่านั้น การใช้ความได้เปรียบจากการพัฒนาของภาคตะวันออกไปเสริมข้อด้อยด้านการพัฒนาของภาคตะวันตก การใช้ความได้เปรียบจากการพัฒนาก่อนของภาคตะวันออกไปเสริมการเจริญขึ้นภายหลังของภาคตะวันตก และการเปลี่ยน “การช่วยเหลือผู้ยากไร้แบบการให้เลือด” ให้เป็น “การช่วยเหลือผู้ยากไร้แบบการผลิตเลือด” นั้น ไม่เพียงแต่ได้เร่งกระบวนการลดช่องว่างระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันตกให้เร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น หากยังได้กระตุ้นให้ภาคตะวันตกเกิดพลังขับเคลื่อนการพัฒนาภายในอีกด้วย ภาคตะวันตกของจีนพยายามไล่ตามภาคตะวันออก เพื่อช่วงชิงให้มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ขณะเดียวกัน รูปแบบ “การประสานงานระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันตกเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้กับการสนับสนุนแบบการจับคู่” นั้น ได้แสดงให้เห็นถึงความเหนือกว่าของสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนอย่างเป็นรูปธรรม ถือเป็น “แผนการจีน” เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของโลกอย่างมิพักต้องสงสัย ซึ่งแสดงให้เห็นถึง “ภูมิปัญญาของจีน” “ไม่ให้เขตยากจนตกรอบแม้แต่เขตเดียว ไม่ให้ผู้ยากไร้ตกรอบแม้แต่คนเดียว” ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย จุดหลักของการประสานงานระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันตกเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ต้องเกาะติด “การประสานงาน” การประสานงานระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันตกเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ไม่ใช่การ “โปรยเงิน” เด็ดขาด แต่เป็นการพูดจริงทำจริง การเชื่อมต่ออย่างแม่นยำและตรงจุด การอำนวยประโยชน์แก่กัน ได้รับชัยชนะร่วมกัน และพัฒนาก้าวไปร่วมกันภายใต้เงื่อนไขที่เรียนรู้ความต้องการของเขตยากจน เพื่อให้ “นิทานพ้นจนของจีน” เป็นที่น่าความประทับใจมากยิ่งขึ้น นายหลิน เว่ยกวาง เขียน นายจูน ฟาน แปล