การประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลของยูเนสโกเพื่อการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 15 ซึ่งจัดขึ้นทางออนไลน์ระหว่างวันที่ 14 ถึง 19 ธันวาคม โดยการประชุมในครั้งนี้ได้ทำการพิจารณามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 50 รายการจากการยื่นเสนอจาก 57 ประเทศ
เมื่อเย็นวันที่ 17 ธันวาคม ตามเวลาของกรุงปักกิ่ง ประเทศจีนได้ยื่นเสนอ “มวยไทยเก็ก” และ “พิธีหวังฉวนหรือเทศกาลแห่เรือ ซึ่งเป็นพิธีกรรมและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการติดต่อระหว่างมนุษย์และมหาสมุทร” ภายใต้การยื่นเสนอร่วมกันกับประเทศมาเลเซีย รวม 2 รายการ โดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการและได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติประจำองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ณ ปัจจุบัน ประเทศจีนมีมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก (UNESCO) ทั้งหมด 42 รายการ และมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก
มวยไทเก็กเกิดขึ้นในกลางศตวรรษที่ 17 ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น มีผู้ฝึกอยู่ทั่วประเทศและได้แพร่หลายไปยังต่างประเทศอย่างกว้างขวาง มวยไทเก็กไม่มีข้อจำกัดสำหรับเพศ อายุ ร่างกาย อาชีพ และเชื้อชาติของผู้ฝึก โดยการฝึกมวยไทเก็กไม่เพียงเป็นการดูแลร่างกายและเสริมสร้างความแข็งแรงแก่ร่างกายเท่านั้น ยังเป็นสืบทอดยีนทางวัฒนธรรมของชนชาติจีนอีกด้วย “เรียนมวยเพื่อเข้าใจในเหตุผล” เป็นแนวคิดทางปรัชญาจีนดั้งเดิมและการดูแลรักษาสุขภาพ ความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติตามวัฏจักรของหยินและหยางที่แฝงอยู่ในมวยไทเก็ก ซึ่งเต็มไปด้วยความรู้และเข้าใจของผู้คนเกี่ยวกับกฎการเป็นไปของจักรวาล ธรรมชาติและร่างกายมนุษย์ มวยไทเก็กนั้นจะต้องมีนุ่มนวล โอนอ่อน ผ่อนคลาย ร่างกายตั้งตรงเป็นพื้นฐาน มีค่านิยมที่จะต้องเคารพครูบาอาจารย์ และน้อมรับในคำสอน เคารพซึ่งกันและกัน ไม่โกรธและใจกว้าง สามารถควบคุมอารมณ์และจิตใจที่ สงบ ให้อภัยและเป็นมิตรของผู้คนได้ มวยไทเก็กยังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมการตระหนักถึงสุขภาพของผู้คนให้มากขึ้น เสริมสร้างสุขภาพกายและใจ ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของผู้คนอย่างสมัครสมานสามัคคี และเพิ่มความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงในสังคม
พิธีหวังฉวนเป็นพิธีกรรมการสักการะบูชาของท้องถิ่นที่แพร่หลายอย่างกว้างขวางในภูมิภาคหมิ่นหนานของประเทศจีนและในภูมิภาคตามแนวชาวฝั่งชายฝั่งมะละกาของประเทศมาเลเซีย พิธีกรรมนี้มีตั้งแต่ระว่างศตวรรษที่ 15-17 เป็นต้นมา จากการล่องทะเลของชาวฮกเกี้ยนและการค้าขายทางทะเล และได้ค่อย ๆแพร่หลายจากภูมิภาคหมิ่นหนานของจีนไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในที่สุด พิธีหวังฉวนเป็นการหวนระลึกถึงความทรงจำทางประวัติศาสตร์ของบรรพบุรุษที่ท่องไปในมหาสมุทร แสดงให้เห็นถึงแนวคิดการเคารพต่อชีวิต และการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอย่างกลมกลืน และให้ข้อมูลการสนทนาทางวัฒนธรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคมที่ครอบคลุม พิธีการดังกล่าวแบกเอาวิทยาการเดินทะเลและความรู้ทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตสภาพอากาศ ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง และกระแสน้ำในมหาสมุทร ซึ่งเป็นการตกผลึกของภูมิปัญญาที่เกิดจากการใช้ชีวิตบนทะเลอันยาวนานของมนุษย์ พิธีหวังฉวนถูกมองว่าเป็นมรดกร่วมกันชุมชนชาวจีน-มาเลเซียของสองประเทศ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการเผยแพร่และการแลกเปลี่ยนผสมผสานของวัฒนธรรมจีนในประเทศต่าง ๆ ตามเส้นทางสายไทยทางทะเล