เมื่อวันที่ 15 ได้มีการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนทาง เศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) อย่างเป็นทางการ ระหว่างการประชุมผู้นำความร่วมมือภูมิภาคตะวันออก ซึ่งกลายเป็นเขตการค้าเสรีที่มีจำนวนประชากร โครงสร้างสมาชิกที่หลากหลาย และมีศักยภาพในการพัฒนามากที่สุดในโลก นี่เป็นการก้าวสู่ความสำเร็จที่สำคัญของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เพื่อผลักดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภูมิภาค และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในปัจจุบันสถานการณ์ระหว่างประเทศกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างซับซ้อนมาก เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์เผชิญกับกระแสต่อต้านของลัทธิเอกภาพนิยมและลัทธิการป้องกันการค้ามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกด้วย และด้วยเหตุนี้ประเทศสมาชิกทั้ง 15 ประเทศก็ยังคงมีการเจรจากันอย่างใกล้ชิด และมีลงนาม RCEP ตามที่ได้กำหนดไว้ การลงนามในความตกลงนี้เป็นก้าวสำคัญสำหรับประเทศในภูมิภาคในการดำเนินการรักษาระบบการค้าแบบพหุภาคีอย่างเป็นรูปธรรม และสร้างเศรษฐกิจโลกในรูปแบบที่เปิดกว้าง ซึ่งมีความหมายเชิงสัญลักษณ์สำหรับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก ในช่วงเวลายากลำบากของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ประเทศในภูมิภาคตะวันออกได้เลือกที่จะเปิดกว้างในการร่วมมือ โดยนาย อัซมิน อาลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมของมาเลเซียได้กล่าวว่า การลงนามข้อตกลง RCEP หมายความว่าอาเซียนและคู่เจรจา “ตอบรับ” การค้าเสรี และ ”ปฏิเสธ” ลัทธิป้องกันการค้า วันที่ 13 พฤศจิกายน 2020 ขบวนรถไฟบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต จำนวน 50 ตู้ออกเดินทางจากท่าขนส่งทางรถไฟนานาชาติเต๋อหยางอย่างปลอดภัย ด้วยความพยายามร่วมมือกันของทุกฝ่าย สถานการณ์โดยรวมของการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีเสถียรภาพในทิศทางที่ดีขึ้น ประเทศต่างๆกำลังกลับมาทำงานและการผลิตอย่างเป็นระเบียบภายใต้การดำเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดให้เป็นปกติ และการฟื้นฟูอย่างมั่นคงของการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม จุดสำคัญในความพยายามออกมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสในเอเชียตะวันออก โดยการลงนามข้อตกลง RCEP ได้เพิ่มแรงผลักดันใหม่ในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค RCEP เป็นก้าวต่อไปในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เสริมสร้างความร่วมมือห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค และบรรลุข้อได้เปรียบและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศในภูมิภาค ในฐานะกลไกหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออก ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่ควบคุมไวรัสโควิด-19 และบรรลุการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้สำเร็จ ช่วยให้ประเทศในภูมิภาคสามารถป้องกันผลกระทบจากการแพร่ระบาดได้ ช่วงสามไตรมาสแรกของปีนี้ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนจีน–อาเซียนเพิ่มขึ้นตามแนวโน้ม และยังคงมีส่วนช่วยในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกอย่างต่อเนื่อง วันที่ 16 พฤษจิกายน 2020 กำลังขนถ่ายตู้สินค้า ที่ท่าเรือขนส่งตู้สินค้าต่างประเทศชิงต่าว ประเทศจีนได้ดำเนินการตามแนวคิดการพัฒนาใหม่ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสูง เร่งสร้างการพัฒนารูปแบบใหม่ มุ่งมั่นการขยายตัวความต้องการภายในประเทศ และในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการเปิดกว้างสู่ภายนอกในระดับสูง เมื่อไม่นานมานี้การจัดแสดงสินค้าครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นตามกำหนด ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของตลาดจีน และแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนการค้าเสรี และบทบาทการเป็นประเทศผู้นำที่เปิดตลาดสู่โลกอย่างแข็งขัน ประเทศจีนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการเจรจา RCEP มาโดยตลอด และมีบทบาทสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการเจรจา ประเทศจีนจะสนับสนุนอาเซียนให้มีบทบาทนำอย่างเช่นเคย และร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อดำเนินการใน RCEP เพื่อให้ผลลัพธ์เป็นประโยชน์ต่อองค์กรระดับภูมิภาคและประชาชนเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการลงนาม RCEP โดยทั่วไปแล้วอาเซียนมุ่งหวังเงินปันผลจากการพัฒนาและเปิดกว้างของประเทศจีน ประเทศในภูมิภาคก็มุ่งหวังที่จะสร้างความร่วมมือในการสร้าง “เส้นทางสายไหม” หรือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ร่วมกัน ส่งเสริมการติดต่อเชื่อมโยงซึ่งกันและกันในภูมิภาค และปลดปล่อยศักยภาพของตลาดเอเชียตะวันออกหลังจากความร่วมมือของ RCEP RCEP รวมฉันทามติของเจตจำนงของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค แสดงให้เห็นว่าการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการ การลงนามในข้อตกลงนี้เป็นผลมาจากการเจรจาอย่างหนักเป็นเวลา 8 ปี โดยเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก และเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของการรวมกลุ่มการร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ประเทศสมาชิกควรใช้โอกาสในการสร้างประโยชน์จากการค้าในครั้งนี้ ด้วยความร่วมมือกันในการส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19 สร้างความสุขให้กับประเทศในภูมิภาคและประชาชน เพื่อสร้างคุณูปการการเปิดกว้างสู่เศรษกิจโลก และมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันของภูมิภาคเอเชียตะวันออกอย่างยั่งยืน