หลังผ่านการเจรจาอย่างยากลำบากที่ยาวนานถึง 8 ปี เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ผู้นำประเทศกว่า 15 ประเทศ อันได้แก่ 10 ประเทศอาเซียน รวม จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้บรรลุข้อตกลงและร่วมลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP อย่างเป็นทางการ ความเห็นต่อการร่วมลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ว่าเป็นความสำเร็จในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันออก RCEP จะช่วยยกระดับความเชื่อมั่นการค้าและการลงทุนในภูมิภาค เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทาน เสริมสร้างความสามารถด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ช่วยผลักดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของทุกประเทศ และส่งเสริมการพัฒนาอย่างมั่งคั่งแบบระยะยาวในภูมิภาคนี้ ส่งเสริม 15 ประเทศรวมเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่ ขบวนรถไฟระหว่างประเทศ จีน-เวียดนาม ส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้ากับอาเซียน ประเทศสมาชิก RCEP ทั้ง 15 ประเทศมีประชากร ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ (GDP) และมูลค่าการค้ารวมทั้งสิ้นคิดเป็นเกือบ 30% ของโลก นั่นหมายความว่าได้กลายเป็นตลาดการค้าแบบพหุภาคีขนาดใหญ่ที่มีค่า GDP ประมาณหนึ่งในสาม ของ GDP โลก การร่วมลงนามRCEPครั้งสุดท้ายนี้เป็นผลลัพธ์จากการที่ประเทศสมาชิกอาเซียน10ประเทศและประเทศที่เข้าร่วมความตกลงร่วมกันผลักดันการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมานั้น ทุกประเทศได้มีการจัดประชุมเจรจาความตกลงร่วมกันถึง 46 ครั้ง และการประชุมระดับรัฐมนตรี 19 ครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นมา สมาชิก RCEP ต่างเอาชนะความยากลำบากจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 บรรลุการเจรจาการเข้าสู่ในทุกด้าน และดำเนินการตรวจสอบถ้อยคำทางกฎหมายของข้อตกลงกว่า 14,000 หน้าเป็นที่เรียบร้อย และได้ลงนามข้อตกลงตามกำหนดเวลาระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำได้ในที่สุด ผลลัพธ์นี้ได้มาไม่ง่ายเลย ในหนึ่งในคู่เจรจาของอาเซียน เป็นผู้สนับสนุนเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์และการค้าเสรีอย่างแข็งขันมาโดยตลอด และเป็นผู้ที่มีกระตือรือร้นเข้าร่วมและผู้ให้ในการร่วมเจรจา RCEP ประเทศจีนสนับสนุนอาเซียนอย่างมั่นคงในการมีบทบาทเป็นศูนย์กลางในการเจรจา RCEP และมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับสมาชิกอาเซียนเพื่อผลักดันให้การเจรจาเสร็จสิ้นโดยเร็ว ข้อตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุม ทันสมัย คุณภาพสูงและเอื้อประโยชน์ร่วมกัน เปิดบริการขบวนรถไฟ จีน-ยุโรป (เอเชีย) ได้เปิดเส้นทางขนส่งใหม่ระหว่างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าอาเซียนกับเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (Zhai Huiyong / ภาพและแสง) RCEP ไม่เพียงแต่เป็นความตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน และยังเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุม ทันสมัย คุณภาพสูงและเอื้อประโยชน์ร่วมกัน โดยข้อตกลงครอบคลุมแล้ว 20 ข้อบท ซึ่งประกอบด้วยการเข้าสู่ตลาดการค้าสินค้า การค้าด้านการบริการ และการลงทุน และยังประกอบด้วยเนื้อหากฎระเบียบจำนวนมากเกี่ยวการอำนวยความสะดวกทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา พานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายการแข่งขันทางการค้า และการจัดซื้อโดยรัฐ สามารถกล่าวได้ว่าข้อตกลงครอบคลุมการค้าขาย การลงทุนอย่างเสรีและได้รับการอำนวยความสะดวกทางการค้าครบทุกด้าน RCEP เป็นความตกลงที่ทันสมัย ซึ่งใช้หลักการของการสะสมถิ่นกำเนิดของสินค้า สนับสนุนการพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค ใช้เทคโนโลยีใหม่ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกของศุลกากร ส่งเสริมการพัฒนาการขนส่งข้ามพรมแดนรูปแบบใหม่ ใช้บัญชีการค้าในรูปแบบ Negative-list เป็นคำมั่นสัญญาในการเข้าลงทุน เพิ่มความโปร่งใสของนโยบายการลงทุนมากยิ่งขึ้น ข้อตกลงยังเพิ่มข้อบทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาระดับสูง พานิชย์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไป ปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของยุคเศรษฐกิจดิจิทัล RCEP เป็นความตกลงที่มีคุณภาพสูง การค้าขายสินค้าผลิตภัณฑ์ปลอดภาษีโดยรวมกว่า 90% ภายใต้ความตกลง การค้าการบริการและระดับการเปิดกว้างการลงทุนสูงกว่าความตกลงการค้าเสรีอาเซียน+1 อย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกัน RCEP เป็นการเพิ่มความสัมพันธ์ทางการค้าเสรีที่สำคัญระหว่างสองคู่ประเทศ ได้แก่ จีน-ญี่ปุ่น และ ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ ทำให้ระดับการค้าเสรีในภูมิภาคสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการประมาณการของสถาบันนโยบายนานาชาติ RCEP คาดหวังขับเคลื่อนการส่งออกของประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นกว่า 10.4% ในปี 2025 RCEP ยิ่งเป็นความตกลงที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ประเทศสมาชิก RCEP ประกอบมีประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา และก็มีบางประเทศที่ยังเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด จึงเกิดความแตกต่างกันอย่างมากของระบบเศรษฐกิจ ระดับการพัฒนาและขอบเขตทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก ข้อตกลงดังกล่าวคำนึงถึงความต้องการของทุกฝ่ายในระดับสูงสุด เพื่อบรรลุความสมดุลของผลประโยชน์ในด้านการเข้าถึงตลาดและกฎระเบียบต่างๆ เช่น สินค้า การบริการ และการลงทุน ปฏิบัติต่อประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดแตกต่างออกไป ช่วยให้ประเทศสมาชิกกำลังพัฒนาเสริมสร้างขีดความสามารถ และส่งเสริมความสมดุลการพัฒนาในภูมิภาค และแบ่งปันผลประโยชน์ของ RCEP