เชิงสารคดี/บูรพา โชติช่วง: เกร็ดความรู้ “พรรณไม้พระราชทานนาม” สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรงสนพระราชหฤทัยและพระราชทานการสนับสนุนส่งเสริมงานด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เป็นที่ประจักษ์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง พระราชกรณียกิจสำคัญเฉพาะด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพรรณพืช ได้แก่ โครงการศูนย์ศึกษาพรรณไม้ป่า มีพระราชดาริให้จัดตั้งศูนย์รวบรวมพรรณไม้ป่าทั่วประเทศ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาและขยายพรรณไม้เพื่อมิให้ไม้ไทยต้องสูญพันธุ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ร่วมมือกันจัดสร้างสวนรวมพรรณไม้ป่าแห่งแรกขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ เมื่อพุทธศักราช 2535 ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ บริเวณบ้านม่วง จังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ พ ระราชทานนามว่า “สวนป่าสิริกิติ์” ต่อมาได้พระราชทานพระราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์ศึกษาพรรณไม้ป่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์” เป็นแหล่งศึกษาพรรณไม้ป่าตามพระราชดาริ และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติด้วย นอกจากนี้ได้พระราชทานโครงการสวนป่าสิริกิติ์อีกหลายแห่ง อาทิ สวนป่าสิริกิติ์บ้านโม่งหลวง สวนป่าสิริกิติ์บ้านขุนแม่นาย จังหวัดเชียงใหม่ สวนป่าพระนามาภิไธย ป่าบาลา-ฮาลา จังหวัดนราธิวาสและยะลา ด้วยความสนพระราชหฤทัยในด้านการอนุรักษ์พรรณพืชต่างๆ เมื่อมีการค้นพบพรรณไม้ชนิดใหม่ องค์กรที่เกี่ยวข้องจึงขอพระราชทานพระราชานุญาตเชิญพระนามาภิไธยมาตั้งเป็นชื่อดอกไม้และพรรณไม้หลายชนิด เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้น สำหรับในที่นี้นำชื่อ “พรรณไม้พระราชทานนาม” สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานนามดอกไม้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดอกไม้ที่เกิดในทุ่งหญ้าป่าเขาตามธรรมชาติ บางชนิดเป็นไม้ประจำถิ่นหายาก และเป็นพรรณไม้ที่ทอดพระเนตรเห็นตามทางเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำปลูกไว้ในพระตำหนักที่เสด็จแปรพระราชฐาน บางชนิดทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตามที่มีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานนาม ได้แก่ ดุสิดา เป็นพืชล้มลุกกินแมลง ขึ้นเป็นกอเล็กสูง 10 - 20 เซนติเมตร ดอกสีม่วงเข้ม ออกเป็นช่อแทงขึ้นจากโคนกอ พบที่อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย ประเทศไทยพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขึ้นตามพื้นที่โล่งชุ่มชื้น สร้อยสุวรรณา เป็นไม้ล้มลุก ขึ้นเป็นกอเล็กสูง 10 – 15 เซนติเมตร ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อตั้งจากโคนกอ พบที่อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินโดนีเซีย ประเทศไทยพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขึ้นตามพื้นที่โล่งชื้นแฉะ ทิพเกสร เป็นพืชกินแมลง สูง 10 – 30 เซนติเมตร ลาต้นเล็กมากอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวและมีใบที่เปลี่ยน เป็นถุงสาหรับดักจับแมลงขนาดเล็กเป็นอาหาร ดอกสีม่วงอ่อนแกมชมพู พบที่อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย ประเทศไทยพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขึ้นตามพื้นที่โล่งชุ่มชื้น มณีเทวา เป็นไม้ล้มลุก ลักษณะเป็นกอขนาดเล็กคล้ายหญ้า สูง 2 – 6 เซนติเมตร ดอกสีขาว ลักษณะเป็นก้อนกลมที่ปลายยอด ในประเทศไทยพบตามบริเวณที่ชื้นแฉะในที่โล่ง หรือชายป่าโปร่งในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สรัสจันทร เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กสูง 10 – 30 เซนติเมตร ลาต้นเล็กเรียวเป็นแกนบอบบาง ดอกสีชมพู จนถึงสีม่วงอมฟ้า ที่ปลายดอกมีสีเหลืองหรือสีครีม ในประเทศไทยพบบริเวณทุ่งหญ้าริมหนองน้า หรือพื้นที่ชุ่มน้าและบริเวณชายป่าโปร่ง นิมมานรดี เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ออกดอกเป็นช่อยาว 12 – 15 เซนติเมตร ก้านดอกมีขนนุ่มสีขาว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว มีขีดตามยาวสีแดงเข้ม พบในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระราชทานนามไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดาเนินไปทอดพระเนตรพรรณไม้บริเวณโคกนกกระบา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย เมื่อพุทธศักราช 2534 ที่มาเรื่องและภาพ หนังสือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 88 พรรษา 12 สิงหาคม 2563 กระทรวงวัฒนธรรมจัดพิมพ์ , เรียบเรียง