1 วัน 1 คืนที่ อุดรธานี โดย อลงกรณ์ พลบุตร พ.ย.2563 ในอดีตอุดรธานีมีคำขวัญเดิมว่า “น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรม 5,000 ปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรชันไฌน์” นับแต่30 พ.ค.2556 อุดรธานีเปลี่ยนคำขวัญใหม่เป็น “กรมหลวงประจักษ์ฯสร้างเมือง ลือเลื่องแหล่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด ธรรมชาติเนรมิตทะเลบัวแดง แรงศรัทธาศรีสุทโธ ปทุมมาคำชะโนด” อุดรธานีเป็นเมืองใหญ่ในอีสานเหนือประชากรใกล้เคียงกับขอนแก่นเกือบ2ล้านคนเสนอตัวจัดงานพืชสวนโลกและผมเคยลงไปดูพื้นที่ร่วมกับหอการค้า อบจ.และจังหวัดอุดรธานีเมื่อ2เดือนก่อนหน้านี้ ........................... ก่อนวันหยุดยาว 1 วันหลังเสร็จงานที่กระทรวงเกษตรตอนเย็นเดินทางต่อไปอุดรธานี ถึงค่ำพบข้าราชการกระทรวงเกษตรจากนั้นแยกไปพบปะสังสรรค์สมาชิกพรรคภาคอีสานก่อนเข้าพักที่โรงแรมอัมมาร์สไตล์โมร็อคกันแปลกตาน่าพักมาก วิสัยทัศน์อีสาน 2020 เช้าวันรุ่งขึ้นร่วมงานสัมมนาภาคอีสานในฐานะรองหัวหน้าพรรคฯ และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกับคุณไชยยศ จิรเมธากร รองหัวหน้าพรรคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอดีตผู้สมัคร สส.ทั้ง 116 เขต ในภาคอีสาน ณ โรงแรมการิน จังหวัดอุดรธานี โดยบรรยายหัวข้อ "วิสัยทัศน์อีสาน 2020 : อีสาน ฮับเกษตรและอาหารโลก" มองใกล้มองไกล ไปให้ถึง ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ 5 วงแหวนเป้าหมายตลาดใหม่ 5 แนวทางใหม่ และ 5 พลังขับเคลื่อน ได้แก่ 5 วงแหวนเป้าหมายตลาดใหม่ คือวางจุดยืนยุทธศาสตร์อีสานเป็นศูนย์กลางการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปยังพื้นที่เป้าหมายตลาดใหม่ 6 พันล้านคน วงแหวนที่ 1 อีสาน 20 จังหวัด 22 ล้านคน วงแหวนที่ 2 อินโดจีน 120 ล้านคน วงแหวนท่ี 3 อาเซียน 650 ล้านคน วงแหวนท่ี 4 เอเชีย 4,500 ล้านคน วงแหวนท่ี 5 อเมริกา 1,000 ล้านคน 5 แนวทางใหม่ คือ 1.เกษตรอนาคต Future Crop 2.อาหารอนาคต Future Food 3.โลจิสติกส์อนาคตเชื่อมอีสาน เชื่อมโลก 4.คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเกษตรอาหาร 5.การตลาดสมัยใหม่ O2O และ 5 พลังขับเคลื่อน ได้แก่ 1.AICศูนย์ขับเคลื่อนใหม่ 2.เทคโนโลยี นวัตกรรม ภูมิปัญญาไทย 3.เกษตรกรรรมยุคใหม่ 4.เกษตรกร สหกรณ์ และผู้ประกอบธรุกิจเกษตรอาหารยุคใหม่ 5.เขตเศรษฐกิจเกษตร-อาหารนิคมอุตสาหกรรมอาหาร สำหรับการทำงานการเมือง เราต้องทำงานการเมืองสร้างสรรค์ใช้แนวคิดวิสัยทัศน์นโยบายพัฒนาอีสานใหม่ๆและการทำงานรูปแบบใหม่มุ่งทำงานแก้ไขปัญหาและการพัฒนาให้ประชาชน เอาประชาชนมาก่อนไม่ใช่ตัวเรา แข่งขันทำความดีแทนการเมืองแบบเดิมๆเพื่อสร้างศรัทธาชนะใจประชาชน ไม่ต้องหาเสียง ให้หางานแทน เกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อเกษตรกรรายเล็ก เสร็จแล้วไปประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ณ ห้องประชุมพระพุทธบาทบัวบก อาคาร 2 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี โดยมีนายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัด ให้การต้อนรับ และนางขนิษฐา โกวิทยากร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพร้อมด้วยคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ1ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ระดับซึ่งได้ชมเชยทีมเกษตรอุดรธานีและทีมจังหวัดที่ทำงานบูรณาการกันแบบเป็นทีมเวิร์คจนบรรลุเป้าหมายทั้งจำนวนการจ้างงานและการคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ พร้อมย้ำว่า เกษตรทฤษฎีใหม่คือแนวทางดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาความยากจนและหนี้สินของเกษตรกรรายเล็กรายย่อย(small scale farmers)ซึ่งเป็นเกษตรกรกลุ่มใหญ่ที่สุดโดยโครงการนี้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินการครอบคลุมกว่า7หมื่นหมู่บ้านทั่วประเทศเป็นการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบแบบยั่งยืนซึ่งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน(Sustainable Agriculture)ที่มีรัฐมนตรีเกษตรฯ.ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อนเป็นต้นเรื่อง นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว เมื่อเสร็จประชุมตอนเที่ยงก็เดินทางต่อไปเยี่ยมชมพื้นที่โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ในฐานะที่ผมเป็นประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมีคุณอรพิน พิพัฒน์วิไลกุล รองประธานนิคมฯ นายวีระพงษ์ เต็งรังสรรค์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ให้การต้อนรับโดยหารือความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวแห่งแรกของอีสานทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร (Agriindustry) และอุตสาหกรรมอาหาร (Food Industry) ซึ่งหมายรวมถึงอาหารคนอาหารสัตว์ (Food and Feed) เชื่อมโยงศูนย์ AIC (ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม-Agritech and Innovation Center) 20 ศูนย์ในอีสานและระบบโลจิสติกส์( Logistic )รวมทั้งเตรียมพร้อมมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร หลังยุคPost-Covid19 เช่น Water Footprint, Rules of Origin ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) แบบครบวงจร มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมการผลิตอาหารปลอดภัยของโลกสอดรับกับวิสัยทัศน์อีสาน2020 นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีมีการเชื่อมโยงกับทางรถไฟในประเทศและแผนเชื่อมเส้นทางรางลาว-จีนอีกด้วยเหมาะกับคำว่า”เชื่อมอีสาน-เชื่อมโลก” โปรตีนทางเลือก-บริษัทแมลงรวย จากนั้นก็เดินทางต่อไปบริษัทมารวยแมลงโดยต้องเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยผ่าน Zoom meeting เสร็จแล้วจึงเยี่ยมชมบริษัทและโรงงานแปรรูปจิ้งหรีดกำลังผลิตวันละ3ตันโดยมีนายสไกร อินทร์นาง กก.ผจก. ให้การต้อนรับพร้อมบรรยายทิศทางของตลาดแมลงในประเทศและต่างประเทศ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแมลงในรูปแบบทอดอบบรรจุถุงและกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนทางเลือกใหม่ Super Food เวชสำอางค์ เครื่องดื่ม อาหารคนป่วย เวย์โปรตีน เป็นต้น แมลงเป็นโปรตีนทางเลือกใหม่ที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO)ประกาศสนับสนุนเพราะเป็นอาหารแห่งอนาคต กระทรวงเกษตรฯโดยท่านรัฐมนตรีเฉลิมชัยจึงประกาศเป้าหมายให้ไทยเป็นฮับแมลงโลก พบปะเกษตรกรอุดรธานี บ่าย 3 โมงเดินทางไปประชุมหารือกับเกษตรกรที่ร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ร่วมกับทีมเกษตรจังหวัดและท่านนายอำเภอเมืองรวมทั้งผู้นำท้องถิ่นซักซ้อมแนวปฏิบัติของโครงการก่อนบินกลับกรุงเทพและเพชรบุรีครับ เป็นอีกวันแห่งความประทับใจที่ได้ความรู้ใหม่ๆประสบการณ์ใหม่ได้พบเพื่อนใหม่ๆและงานใหม่ๆที่มีอนาคตของประเทศรออยู่ข้างหน้า