ในช่วงปีที่ผ่านมาภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีการเติบโตสูงสุดในประวัติศาสตร์จนกลายเป็นหนึ่งในสิบประเทศที่คนนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก แซงหน้าประเทศอย่าง สหราชอาณาจักร ญีปุ่น และฮ่องกง ด้วยอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือเป็นความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจ แต่ด้วยช่วงะยะเวลากว่า 6 เดือนของการแพร่ะระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การเติบโตที่รวดเร็วนี้ส่งผลกระทบทางอ้อมให้เกิดภาวะโรงแรมที่พักล้นตลาด ด้วยโอกาสและความสามารถในการฟื้นฟูของตลาดในประเทศไทยดึงดูดให้นักลงทุนเลือกที่จะเข้าลงทุนในประเทศไทย ส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์ในประเทศมีจำนวนมากขึ้นจนกระทบต่อการทำธุรกิจของผู้ประกอบการในพื้นที่ แม้ว่าจะเห็นการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติทีเดินทางเข้ามาในไทยสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงก่อนปี 2563 แต่ผู้ประกอบการหลายรายก็เริ่มเผชิญกับความท้าทายจากการแข่งขันที่สูงขึ้นในปีหลังๆ มานี้ จนผู้ให้บริการที่พักในประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง มีตัวเลือกการเดินทางมากขึ้น ทั้งนี้ นายแบรด ไฮนส์ รองประธานกรรมการบริษัท SiteMinder ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค กล่าวว่า ถ้าย้อนดูการเติบโตของประเทศไทยเพื่อให้เข้าใจถึงที่มาของภาวะที่พักล้นตลาด ในช่วงปี 2546 ช่วงที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศกำลังเริ่มเติบโต จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมีเพียงราว 80,000 คน หรือคิดเป็นเพียง 0.3 %ของจำนวนประชากรไทยในสมัยนั้น แต่ด้วยกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้นส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเติบโตขึ้น ตามเทคโนโลยีมีวิวัฒนาการมากขึ้น รวมถึงตัวเลือกในการเดินทางที่หลากหลายและราคาก็จับต้องได้ ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทยสูงถึงหนึ่งล้านคนเป็นครั้งแรกในปี 2516 และสูงถึงสิบล้านคนในปี 2544 และเกือบถึง 40 ล้านคนในปี 2562 เทียบเท่ากับปริมาณ 57% ของประชากรในประเทศไทยปัจจุบัน โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและโอกาสที่เพิ่มขึ้น สำหรับนักลงทุนและรัฐบาลไทย ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูงเกือบ 2 ล้านล้านบาทในปี 2562 เมื่อนับจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของจำนวนห้องพักที่เติบโตแซงหน้าปริมาณความต้องการ แม้ว่ารายได้ต่อห้องในปี 2562 ของโรงแรมทั่วประเทศจะปรับตัวลดลงเฉลี่ย 6% โดยแหล่งท่องเที่ยว อาทิ ภูเก็ต และ เกาะสมุยปรับตัวลดลง 10% หากแต่ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ยังมีแผนที่จะสร้างจำนวนห้องพักเพิ่มกว่า 50,000 ห้องในระยะเวลาอีก 5 ปีข้างหน้า นับเป็นการแข่งขันที่สูงขึ้น และกดดันให้ผู้ให้บริการที่พักต้องปรับลดราคาที่พักให้ต่ำลง และการแข่งขันด้านราคานี้ ยังส่งผลให้กำไรของผู้ประกอบการเหลือน้อยลงเป็นอย่างมาก ต้องปรับตัวและพัฒนาธุรกิจ ดังนั้น นายแบรด จึงกล่าวถึง แนวทางการเติบโตท่ามกลางการแข่งขันในตลาดประเทศไทย ว่า ผู้ให้บริการที่พักจะประสบความสำเร็จท่ามกลางการแข่งขันในตลาดดังกล่าวนี้ จะต้องปรับตัวและพัฒนาธุรกิจของตัวเองอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการท่องเที่ยวจะอยู่ในช่วงชะลอตัว โดยมี 4 แนวทาง เพื่อพัฒนาธุรกิจโรงแรมสู่ความสำเร็จ 1.รักษามาตรฐาน ถือเป็นความท้าทายของโรงแรมที่ก่อตั้งมายาวนานในประเทศไทย ที่จะปรับปรุงสถานที่และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อก้าวให้ทันกับโรงแรมใหม่ๆ ในช่วงที่ธุรกิจโรงแรมมีที่พักมากเกินความต้องการ โดยเฉพาะโรงแรมระดับ 5 ดาวในประเทศไทยที่หากไม่พัฒนาก็เสี่ยงต่อการถูกลูกค้ามองว่าไม่คู่ควรกับระดับมาตรฐานที่ได้รับ ส่วนข้อที่ 2 คือ การลงทุนกับพนักงาน ในภาวะห้องพักล้นตลาดนี้ ส่งผลให้จำนวนพนักงานที่มีทักษะด้านการบริการมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากโรงแรมที่เปิดใหม่ ล้วนต้องการรับพนักงานที่มีประสบการณ์จากโรงแรมที่เปิดมาก่อน ดังนั้นปริมาณที่พัก ซึ่งล้นตลาดเป็นการเข้ามาทดสอบความเพียงพอของจำนวนบุคลากรที่มีคุณภาพในตลาด ดังนั้นการลงทุน เพื่อพัฒนาทักษะให้พนักงานถือเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่า และอยากจะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ภูมิใจต่อองค์กร โดยพนักงานโรงแรม คือ ส่วนสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อประสบการณ์การเข้าพักของลูกค้า ดังนั้นการลดอัตราการลาออกของพนักงานจึงมีส่วนสำคัญอย่างมากเช่นกัน สร้างจุดขายโรงแรมให้โดดเด่น ขณะที่ข้อ 3 นายแบรด กล่าวว่า การสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่น เพราะด้วยปริมาณโรงแรมที่มีล้นตลาดอาจทำให้โรงแรมที่มีอยู่มีลักษณะคล้ายกันไปหมด โดยเฉพาะโรงแรมระดับ 1-4 ดาวในประเทศไทยที่กำลังแข่งขันด้านราคากันอย่างหนัก ดังนั้นสิ่งที่สำคัญ คือ การสร้างจุดขายที่โดดเด่นของโรงแรมเพื่อสร้างฐานลูกค้าประจำและการตอบรับเชิงบวกจากลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการบอกต่อปากต่อปาก และช่องทางออนไลน์ก็ตาม ข้อที่ 4 ศึกษาคู่แข่ง ซึ่งในช่วงการฟื้นตัว และการทำธุรกิจจากนี้ ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาแนวทางในการเข้าถึงผู้บริโภคของคู่แข่งที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน และตั้งราคาที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งเจ้าอื่นๆ ได้โดยไม่เป็นการตัดราคาตัวเอง ซึ่งเครื่องมือสำคัญอย่าง Insights โดย SiteMinder ถือเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในการช่วยผู้ประกอบการจับตาดูการตั้งราคาของคู่แข่งตัวเองและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การขายได้อย่างทันท่วงที ซึ่ง นายแบรด กล่าวว่า การพัฒนาการจัดการและเตรียมความพร้อมสำหรับการกลับมาของนักท่องเที่ยว ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในช่วงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เป็นการช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับพนักงาน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวที่กำลังจะกลับมาอีกครั้ง ทั้งนี้เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในช่วงสิบปีที่ผ่านมาถือเป็นด้านบวกสำหรับผู้ประกอบการที่พักมาโดยตลอด แต่เนื่องจากช่วงเวลานี้ทุกหน่วยงานกำลังเผชิญกับโอกาสทางการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ลดลง และจำนวนของโรงแรมและที่พักที่มีมากมาย ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้หากไม่ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์