"รัฐบาล" ลั่นไม่ปิดกั้นม็อบชุมนุม แนะอย่าเสียดสี-บิดเบือน หวั่นยิ่งเพิ่มขัดแย้ง "ไพบูลย์" ชี้ "ร่างฉบับไอลอว์"ส่อไม่ได้ไปต่อ ขัดม.255 เตือนอย่าหวังแค่เอาใจผู้ชุมนุม ส่วน"เพื่อไทย" จี้นายกฯลาออก ลั่นเสียสละคนเดียว เพื่อคน70ล้าน ประเทศจะได้เดินหน้าต่อ ขณะที่ "ตร."จ่อฟัน "3 ข้อหา" ม็อบก่อหวอดชุมนุมผิดเงื่อนไข ส่วน "ม็อบปลดแอก" นัดชุมนุมใหญ่ 17 พ.ย.นี้ เดินหน้าล้อมสภาทั้งทางบก-เรือ-อากาศ ด้าน "ซูเปอร์โพล" เผยคนกรุงเชียร์ "บิ๊กตู่"อยู่ต่อ สวนทางพรรคการเมืองคู่แข่งคะแนนนิยมลดลง เมื่อวันที่ 15 พ.ย.63 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าและประธานส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการพิจารณาญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 17-18 พ.ย.63 ว่า ได้เชิญส.ส.ของพรรคประชุมในวันจันทร์ที่ 16 พ.ย.นี้ เวลา 13.3 0 น. เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ร่าง ที่จะมีการพิจารณากันในวันที่ 17พ.ย.และ18 พ.ย. ซึ่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ร่างนี้ รัฐสภาได้มีการอภิปรายไปแล้ว 6 ร่าง จึงจะไม่มีการอภิปรายอีก ส่วนร่างที่เสนอเข้ามาใหม่คือร่างที่ประชาชนลงชื่อเสนอให้รัฐสภาพิจารณาที่เรียกว่าร่างไอลอว์ จะมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น หลังจากนั้นจะมีการลงมติว่าจะรับหรือไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใดบ้าง นายองอาจ กล่าวต่อว่า ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์จะเปิดโอกาสให้ ส.ส. แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางเพื่อพิจารณาให้รอบด้านมากที่สุด ส่วนการลงมติว่าจะรับร่างใดบ้างนั้น ทางที่ประชุม ส.ส. ได้เคยประชุมและมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันแล้ว ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา ว่า จะรับร่างที่เสนอโดยพรรคร่วมรัฐบาลที่ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมลงชื่อด้วย และร่างที่เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้านที่มีหลักการใกล้เคียงกัน สำหรับร่างของไอลอว์คงต้องรอฟังความคิดเห็นของ ส.ส. ว่าจะมีความคิดเห็นอย่างไร "กรณีที่มีความวิตกกังวลว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจจะมีการลงมติไม่ให้ผ่านทั้งหมดนั้น ขณะนี้คงบอกไม่ได้ คงต้องรอจนถึงเวลาลงมติ อะไรก็อาจเกิดขึ้นได้ เพราะที่ผ่านมาก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว รัฐสภากำลังจะลงมติรับหรือไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ดีๆ ก็มีการเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาก่อนรับหลักการ พอมาถึงวันนี้กำลังนัดประชุมเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญกันต่อ ก็มีส.ว. รวมกับส.ส.รัฐบาลส่วนหนึ่งเข้าชื่อให้ศาลรัฐธรรม นูญ ตีความว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ร่างของรัฐบาลฝ่ายค้านและไอลอว์จะทำได้หรือไม่" นายองอาจ กล่าวด้วยว่า เพราะฉะนั้นการประชุมรัฐสภาวันที่ 17-18 พ.ย.นี้ จึงไม่มีใครให้หลักประกันได้ว่าจะมีการลงมติหรือไม่ และผลจะออกมาอย่างไร เพราะอาจมีอภินิหารทางการเมืองทำให้เกิดเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนก็ได้ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว แต่ถ้าไม่มีอภินิหารอะไร อย่างน้อยที่สุดร่างของรัฐบาลและฝ่ายค้านน่าจะผ่านไปได้ แต่ขึ้นอยู่ว่าจะมีเสียง ส.ว. ประมาณ 84 เสียงลงมติให้ผ่านหรือไม่ ตามเงื่อนไขของการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ต้องมีเสียง ส.ว. เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งยังแผ่กระจายไปเกือบทุกหย่อมหญ้าจึงถือเป็นวาระสำคัญของบ้านเมือง ที่ทุกฝ่ายต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบก่อนตัดสินใจที่จะดำเนินการอะไร เพราะถ้าวางแผนพลาด หรือตัดสินใจผิด ก็อาจทำให้ประเทศติดหล่มจมปลักอยู่กับความขัดแย้งจนยากจะเยียวยา "โดยเฉพาะสมาชิกรัฐสภาทั้ง ส.ส.และส.ว. ต้องถือว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สามารถช่วยกันใช้เวทีรัฐสภาหาทางออกให้ประเทศได้ จึงขึ้นอยู่กับสมาชิกทุกคนว่าจะช่วยกันหาทางออกให้ประเทศ หรือจะสร้างทางตันให้ประเทศ ฝากทุกฝ่ายคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องโดยร่วมกันคล้องแขนนำพาประเทศไทยเดินหน้าต่อไปให้ได้ เพื่อลูกหลานของเราในอนาคต" ด้าน นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงการพิจารณาญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 17-18 พ.ย.นี้ ว่า การโหวตจะเกิดขึ้นในวันที่ 18 พ.ย. ซึ่งสมาชิกมีสิทธิให้ความเห็นชอบไม่เห็นชอบ เท่าที่ฟังเสียงสมาชิกนั้น ร่างที่ 1 และร่างที่ 2 น่าจะได้เสียงสนับสนุนเพียงพอ โดยเฉพาะเสียงของส.ว.ส่วนร่างที่เหลือ น่าจะได้เสียงสนับสนุนเห็นชอบไม่เพียงพอ ส่วนตัวมองว่าร่างที่ 3-6 นั้นย้อนแย้งกับร่างที่ 1 ที่พรรคร่วมฝ่ายค้านเสนอ เพราะเมื่อเสนอว่าจะให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด แต่กลับมาเสนอแก้ไขเป็นรายมาตราอีก มันจึงย้อนแย้งและขัดกัน ถ้ารับร่างที่ 1 ไปแล้วก็ไม่จำเป็นต้องรับร่างที่ 3-6 ทั้งนี้ ส่วนตัวยืนยันว่าจะโหวตรับหลักการเห็นชอบกับร่างที่ 1 และ 2 แน่นอน นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ส่วนร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน หรือร่างของไอลอว์นั้น ก็มีเสียงทักท้วงจำนวนมากตั้งแต่หลักการ เนื่องจากไม่ได้มีเหมือนกับร่างที่ 1 และร่างที่ 2 จะมีเหมือนอยู่บ้างในเรื่องการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 แต่ว่าในการแก้ไขจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ก็เขียนให้แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 ได้ ส่วนตัวตีความว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 255 ซึ่งมาตรา 255 ห้ามไว้ตั้งแต่ชั้นทำญัตติ จึงเหมือนญัตติมันต้องห้ามไปแล้ว ซึ่งมันมีอีกหลายเรื่องแต่เรื่องเดียวสำหรับตนมันก็ไปไม่ได้ "ต้องแยกเรื่องผู้ชุมนุมกับเรื่องที่จะใช้ดุลพินิจออกจากกัน การใช้ดุลพินิจต้องดูไปตามกฎหมายและความเหมาะสม ส่วนเรื่องผู้ชุมนุม ถ้าจะทำเพื่อเอาใจผู้ชุมนุม มันก็จะลามไปสู่เรื่องปฏิรูปสถาบันได้ สิ่งสำคัญต้องคิดถึงประชาชนที่ออกมาปกป้องสถาบันและคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับของไอลอว์ ซึ่งมีจำนวนมาก ถ้าไปรับแล้วจะตอบคำถามกับประชาชนกลุ่มนั้นได้อย่างไร เรื่องของการชุมนุมจะมาเป็นข้อตัดสินว่าจะรับหรือไม่รับร่าง หลักการคงไม่ได้ เพราะต้องใช้หลักของกฎหมายและความเหมาะสมมาตัดสิน" ส่วน นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกฯกล่าวถึงการแสดงความคิดเห็นต่างทางการเมืองว่า รัฐบาลไม่คิดปิดกั้นการแสดงออกทางการเมือง เพียงแต่อยากเห็นการชุมนุมเป็นไปในทางสร้างสรรค์ เคารพกฎหมาย และไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทย สิ่งที่รัฐบาลเป็นกังวลอย่างมากคือการสื่อสารในโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีการเผยแพร่ข่าวปลอม หรือการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร (Fake News) และจากการตรวจสอบพบว่ามีปริมาณค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีการเสียดสีกลุ่มประชาชนผู้มีความคิดเห็นที่แตกต่าง ซึ่งจะยิ่งทำให้กลุ่มต่างๆ เกิดความขัดแย้ง การเข้าใจผิด และอาจเกิดปัญหาบานปลายได้ รัฐบาลจึงอยากขอเชิญชวนกลุ่มผู้เห็นต่างทุกกลุ่ม ร่วมกันนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาด้านอื่นนอกเหนือจากประเด็นทางการเมือง โดยเฉพาะการนำเสนอข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในมาตรการหรือโครงการต่าง ๆ รัฐบาลขอยืนยันว่า รัฐบาลยินดีและพร้อมรับฟังข้อเสนอ ข้อเรียกร้องที่สามารถนำมาเป็นแนวทางให้ประเทศไทยสามารถก้าวผ่านวิกฤตเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ หากแนวคิดใดที่เป็นข้อเสนอที่ดีและเหมาะสม รัฐบาลก็พร้อมนำมาปฏิบัติเพิ่อให้เกิดเป็นรูปธรรมและพร้อมผลักดันเพื่อช่วยเหลือประชาชนทุกคน "ข้อเรียกร้องต่างๆ รวมทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องดำเนินการด้วยกลไกของรัฐสภาตามระบอประชาธิป ไตยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งน่าจะเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามระบบนิติรัฐ นิติธรรม ซึ่งรัฐบาลหวังให้มีแนวทางการแก้ปัญหาที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในวงกว้าง และหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่โดยรวม" ขณะที่ นางสาวอรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาพรรคฝ่ายค้าน ผู้ชุมนุม และนักวิชาการ ได้เสนอทางออกด้านการเมือง และเศรษฐกิจ มาโดยตลอด แต่รัฐบาลไม่เคยได้ยิน 6 ปีที่ผ่านมา คือบทพิสูจน์การบริหารประเทศที่ปราศจากการรับฟังเสียงของสังคมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในขั้นตกต่ำที่สุด หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่า เฉพาะหนี้ครัวเรือนไตรมาส 2 แตะร้อยละ 83.8 และอาจทะลุร้อยละ 90 ภายในสิ้นปีนี้ สอดคล้องกับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีที่จะลดต่ำลง รวมถึงปัญหาตกงาน บัณฑิตจบใหม่ว่างงานอีกจำนวนมหาศาล และการส่งออกที่อาจติดลบกว่าร้อยละ 10 ในปีนี้ ขณะที่ ส.ส. และ ส.ว. หลายคนยังทำตัวเป็นปรปักษ์ต่อประชาชน ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนี้ไร้ความสามารถและไร้ประสิทธิภาพในการทำงาน ผู้นำรัฐบาลมีหน้าที่บริหารประเทศให้ก้าวพ้นวิกฤต แต่ต้องมาขอไอเดีย ขอร้องให้ช่วยกัน จึงไม่ใช่วิสัยของผู้บริหารมืออาชีพ ทางออกเดียวของประเทศในเวลานี้คือการเสียสละลาออกของพล.อ.ประยุทธ์ เพียงคนเดียว จะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยเกือบ70ล้านคนทันที พล.อ.ประยุทธ์ออกมาให้สัมภาษณ์หลายครั้งว่าไม่อยากเป็นนายกฯ ไม่ยึดติดตำแหน่ง แต่ก็ไม่ลาออกเสียที ยิ่งอยู่ยิ่งเสื่อมถอยในตัวเอง และถ่วงประเทศชาติ "ขอให้ประชาชนจับตาการพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 17-18 พ.ย.นี้ ว่ารัฐบาลจะคำนึงถึงความต้องการประชาชนทั้งประเทศอีกหรือไม่ หรือจะตีมึนดึงดันไม่แก้ไขในประเด็นที่ประชาชนเรียกร้อง ยิ่งทำตัวเองเป็นตัวปัญหามากกว่าเดิม นายกฯและรัฐบาล ถนัดทำแต่สิ่งที่ย้อนแย้งในตัวเองเสมอ ทั้งกลับลำ แก้รัฐธรรมนูญ ใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ชุมนุม สวนทางกับปากที่สื่อสารกับประชาชน" ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวถึงความคืบคืบหน้ากรณีผู้ชุมนุมของกลุ่มม็อบเฟสต์ กลุ่มนักเรียนเลว และกลุ่มผู้หญิงปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้กระทำความผิดออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1.การทำร้ายร่ายกายเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย โดยใช้ด้ามธงตีศีรษะปวดบวม และอีกรายถูกของแข็งกระแทกที่ใบหน้า ริมฝีปากแตก ใบหน้ามีรอยฟกช้ำ ซึ่งเข้าข่ายข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงาน ,ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่, การร่วมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามมาตรา 215 โดยตำรวจทั้ง 2 นาย ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ที่ สน.สำราญราษฎร์ ประเด็นที่ 2 การนำผ้าไปคลุมและปีนขึ้นไปบนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นโบราณสถานที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานครและกรมศิลปากร การทำให้เสียหายหรือทำให้เสื่อมค่า หรือไร้ประโยชน์ จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน และพ.ร.บ.ความสะอาด ซึ่งขณะนี้กำลังตรวจสอบความเสียหายอยู่และเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษที่ สน.สำราญราษฎร์ ส่วนประเด็นที่ 3.กรณีผู้จัดการชุมนุมฝ่าฝืนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานได้แจ้งไว้ และความผิดอื่นๆ เช่น การกีดขวางทางจราจร, พ.ร.บ.ความสะอาด ซึ่งอยู่ระหว่างพิสูจน์ทราบผู้กระทำผิด ส่วนผู้จัดการชุมนุมสาธารณะมีส่วนในการรับผิดชอบ ขณะที่ กลุ่มเยาวชนปลดแอก โพสต์เฟซบุ๊ก " 17 พฤศจิกายนนี้ รวมพลังปักหลักชุมนุมใหญ่ราษฎรล้อมสภา! ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ซึ่งวันนั้นจะเป็นวันเดียวกับวันที่เริ่มพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ร่างพร้อมกัน! ตั้งแต่ 15.00 น. ยาวไปจนกว่าขี้ข้าเผด็จการจะยอมลงมติรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ขณะที่ นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล เปิดเผย ผลสำรวจภาคสนามเรื่อง คนละครึ่ง พึ่งได้พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.5 สนับสนุนรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่ต่อ นอกจากนี้ กลุ่มประชาชนทุกกลุ่มรายได้ส่วนใหญ่สนับสนุนรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ และทีน่าพิจำรณำคือ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง จะเลือกพรรคการเมืองใด เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังโครงการคนละครึ่ง พบว่า คนจะเลือกพรรคพลังประชำรัฐเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 10.9 ก่อนโครงการคนละครึ่ง มาอยู่ที่ร้อยละ 27.7 หลังโครงการคนละครึ่ง ในขณะที่ คนจะเลือกพรรคร่วมรัฐบำลไม่แตกต่างกัน คือร้อยละ 5.7 ก่อนโครงกำรฯ และร้อยละ 5.8 หลังโครงการฯ ขณะที่ พบอีกว่า คนจะเลือกพรรคเพื่อไทย ลดลงจำกร้อยละ 9.3 ก่อนโครงการฯ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 หลังโครงการฯ และพรรคก้ำวไกล (พรรคอนาคตใหม่เดิม) ลดลงจากร้อยละ 13.0 ก่อนโครงกำรฯ มำอยู่