นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า ... อุบาทว์!!!! มีไอ้โม่ง แอบแก้ไขข้อมูลใน Wikipedia ลบชื่อหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ออกแล้วแก้เป็นจอมเผด็จการ ป.พิบูลสงคราม ไอดอลของคณะล้มเจ้า!!! และล็อคไม่ให้แก้ไขอีก!!! ชาวโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษากำลังโวยกันใหญ่แล้ว!!!! ผมเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาปี2507 ได้ทราบมาตั้งแต่เป็นนักเรียนแล้วว่า ผู้ก่อตั้งคือหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ####### “บิดเบือนกันทุกอย่าง” !!! เรียน นักเรียนเก่าเตรียมฯ ทุกท่าน เรื่อง การบิดเบือนประวัติของโรงเรียนและลบชื่อ ม.ล.ปิ่น ในวิกิพีเดีย เมื่อวานผมพบความพยายามที่ผิดปกติในการแก้ไขข้อมูลเรื่องโรงเรียนเตรียมฯ ในวิกิพีเดีย ที่ทำงานเร็วมาก ไม่ลดละ และปิดกันคนอื่นไม่ให้แก้ไขข้อมูลกลับคืน ตามที่ผมได้เคยเขียนเรื่องนี้ไว้เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 63 จากการเข้าไปพบว่าข้อมูลของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในวิกิพีเดีย ถูกแก้ไขเกือบทั้งหมด เช่น ถูกเอารูปตราพระเกี้ยวออก เปลี่ยนชื่อผู้ก่อตั้งเป็นจอมพล ป. เพิ่มเนื้อหาข้างในจำนวนมากที่เป็นเรื่องในช่วงสงครามโลกที่รัฐบาลจอมพล ป. บริหารประเทศแบบเบ็ดเสร็จ เปลี่ยนรูป ม.ล.ปิ่น เป็นรูปจอมพล ป. ฯลฯ เมื่อเข้าไปดูบันทึกประวัติการแก้ไข พบว่ามีชื่อผู้ใช้ชื่อหนึ่งที่ไม่ใช่ผู้ใช้ระดับธรรมดาเป็นผู้แก้ไข และเมื่อมีผู้อื่นเข้าไปเปลี่ยนชื่อผู้ก่อตั้งกลับไปเป็น ม.ล.ปิ่น มาลากุล (เหมือนเดิมตั้งแต่ตั้น) ก็จะถูกแก้กลับเป็นจอมพล ป. เกือบจะทันที และถึงแม้จะแก้ไปเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตามมติสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2480 ที่ให้จุฬาฯ จัดตั้งโรงเรียนเตรียมฯ) ก็จะถูกแก้กลับเป็น จอมพล ป. เกือบทันทีอีกเช่นเดียวกัน และตอนนี้ได้ล๊อคไม่ให้คนทั่วไป (นอกจากผู้ใช้ในระดับที่ถูกกำหนด) สามารถเข้าไปแก้ไขกลับได้อีกแล้ว จึงน่าสังเกตว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชื่อผู้ใช้นี้มีศักยภาพในระบบของวิกิสูงกว่าผู้ใช้ธรรมดาทั่วไป มีเป้าหมายที่มุ่งมั่นแน่วแน่มากว่าจะต้องให้ปรากฎชื่อ จอมพล ป. เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมฯ การใช้ความเชี่ยวชาญด้าน IT เข้าไปบิดเบือนข้อมูลด้วยการอ้างอิงหลักฐานประกอบเพียงบรรทัดเดียว ที่ดูเหมือนน่าเชื่อถือแล้วไปลบล้างข้อมูล​ที่มีหลักฐานมากมาย ซ้ำยังยึดถือมาต่อเนื่องถึง 82 ปี​ หลายคนอาจไม่ค่อยสนใจนักเพราะเข้าใจดีว่าข้อมูลในวิกิเป็นสาธารณะทั้งผู้สร้างและผู้เสพ ใครจะเขียนหรือแก้ไขก็ได้ เชื่อถือไม่ได้อยู่แล้ว แต่ประเด็นที่สำคัญของเรื่องนี้คือ มันทำให้เด็กเตรียมและคนรุ่นใหม่ซึ่งเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา หลงเชื่อได้ง่าย ใช้ส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ และใช้ปะติดปะต่อกับข้อมูลที่บิดเบี้ยวอื่น ๆ เป็นเรื่องราวที่ผิดเพี้ยน ขอบคุณข้อมูลและภาพ เพจ-Paisal Puechmongkol