ไม่รู้เงินไปไหนหมด ? ใครเคยรู้สึก และเป็นแบบนี้บ้าง คำตอบ คือ “ฟุ่มเฟือย” เงินหายไปกับ ความฟุ่มเฟือย นี่คืออุปสรรคของการออมเลยทีเดียว คือ การใช้จ่ายเงินแบบมีเท่าไหร่ใช้มันให้หมด ใช้ให้หมดไม่ต้องเก็บคนสมัยนี้ มักมีทัศนะผิดๆที่ว่าออมเมื่อไหร่ก็ได้ ขอใช้ให้เต็มที่ก่อนดีกว่า ทำงานมาเหนื่อยจะตายขอฉันซื้อความสุขก่อนนะ เดี๋ยวเก็บเงินทีหลังแล้วกันไม่เถียงเลยว่าการใช้จ่ายเงินที่หามาได้เองนั้น ไม่ใช่เรื่องผิด หามาก็ต้องใช้ แต่ถ้าใช้จ่ายเกินความจำเป็นก็ต้องระวังให้ดีๆ เพราะหากวันหนึ่งวันที่เกิดเจ็บป่วยหรือมีเรื่องที่จะต้องใช้เงินด่วน ถึงจะมานั่งคิดว่า “ไม่รู้เงินไปไหนหมด” หากเริ่มต้นด้วย ความฟุ่มเฟือย วันข้างหน้าหรืออนาคต คือ ความหายนะ จะเร็วจะช้าขึ้นอยู่กับความมากน้อยของความฟุ่มเฟือยของแต่ละคน บางคนอาจจะมีการใช้จ่ายเกินกว่าเงินที่หามาได้ ด้วยการซื้อสิ่งของใดที่ไม่จำเป็นยิ่งต้องระวังมากๆ การออม จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการหยุด ความฟุ่มเฟือย เริ่มออมเพียง 5-10 % ของรายได้ต่อเดือนก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี เป็นการบังคับ เก็บเงินออมเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินและยามจำเป็น ที่ผ่านมาการรณรงค์เรื่อง การออม ทั้งของภาครัฐ และเอกชน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ก็ร่วมมือร่วมใจกระตุ้นเตือนผ่านกิจกรรม แคมเปญการออมเงินต่างๆ มากมาย ซึ่งก็น่ายินดี ที่สามารถโน้มน้าว คนไทยเห็นความสำคัญในการเรื่องการออมมากขึ้น ปัจจุบันมีเงินออม คิดเป็นสัดส่วนสูงกระเตื้องขึ้นถึงร้อยละ 77.4 ของประชากรทั้งหมด โดยร้อยละ 47.4 เป็นการออมระยะสั้น ส่วนร้อยละ 52.6 เป็นการออมระยะยาว (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย) ซึ่งในจำนวนนี้ มีทั้งการออมเพื่อใช้จ่ายในช่วงหวังเกษียณ การออมเพื่อการซื้อบ้าน และการออมเพื่อการศึกษา ข้อมูลดังกล่าวสอดรับกับผลสำรวจจาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือ ทีดีอาร์ไอ ที่ระบุว่า คนไทยที่ไม่มีเงินออม ลดลงจากร้อยละ 48 จากสถิติในปี 2531 เหลือเพียงร้อยละ 22.6 ในปี 2556 โดยภายในเวลากว่า 20 ปี คนไทยมีปริมาณเงินออมเพิ่มสูงขึ้นถึง 10 เท่าเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าข้อมูล และผลสำรวจ จะชี้ว่าคนไทยมีพฤติกรรมการออมที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าอดีตในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่สิ่งที่ยังเป็นปัญหาคือ มีเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น ที่สามารถวางแผนการออมและทำได้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ ขณะที่ร้อยละ 34.3 มีการออมเพื่อใช้ในยามเกษียณแต่ไม่สามารถทำได้ตามแผนที่วางไว้ ดังนั้นจึงต้องหันมาดูวิเคราะห์พิจารณาว่า เหตุใดถึงเป็นเช่นนี้ ?หากดูวิถีและแนวทางการออมที่ปลูกฝังลงในจิตสำนึกของคนไทยในอดีต ที่มีพฤติกรรมการออมที่เน้นความปลอดภัยและความเสี่ยงต่ำเป็นหลัก อาทิ การฝากเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ หรือการซื้อสินทรัพย์ อย่างเช่น อสังหาริมทรัพย์ หรือ ทองคำเท่านั้น แต่ปัจจุบันคนรุ่นใหม่โดยกลุ่มคนวัยทำงานตั้งแต่อายุ 20-29 ปี ส่วนมากเลือกที่จะออมเงินระยะสั้น และนำเงินออมนั้นไปลงทุน ในธุรกิจส่วนตัว มากกว่าการฝากเงินในบัญชีเงินฝาก โดยเฉพาะยุคนี้เป็นยุคของ Start Up ที่เป็นกระแสและอินเทรนด์สำหรับคนรุ่นใหม่ ซึ่งก็มีทั้งประสบความสำเร็จ และล้มเหลว ดังนั้น จึงมิต้องแปลกใจเลยว่า การออม "ติดลบ" หรือมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ หรือ “ไม่รู้เงินไปไหนหมด” ซึ่งหลายภาคส่วนต่างพยายามรณรงค์ให้จำนวนดังกล่าวลดลง ด้วยการสร้างสรรค์รูปแบบการออมเงินให้มีหลากหลายทาง เพื่อให้เราได้เลือกการออมเงิน ตามความต้องการของเราได้อย่างถูกใจเต็มที่แล้วจะมีการออมแบบไหนที่จะช่วยให้สามารถออมเงินได้ประสบความสำเร็จจริงๆ และคุ้มค่า ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกการออม ที่หลายคนสนใจและหันมาออมเงินในรูปแบบนี้กันเพิ่มขึ้น จะได้เห็นจากการแข่งขันอัดกิจกรรมโฆษณาเชิญชวนจากบรรดาสถาบันการเงินทั้งจากธนาคาร และบริษัทประกันชีวิต ที่ออกมานำเสนอรูปแบบการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์อย่างน่าสนใจ อีกทั้งการออมในรูปแบบนี้มีสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมายโดยเฉพาะในเรื่องเบี้ยประกันที่จ่ายนำมาลดหย่อนภาษีได้ทุกปีที่ชำระ รวมทั้งหากคำนวณผลตอบแทนก็จะดีกว่าการฝากเงินเพื่อเอาดอกเบี้ยในยุคนี้ อีกทั้งผลตอบแทนที่ได้ก็ไม่ต้องมาเสียภาษีเงินฝาก และพร้อมได้ความคุ้มครองชีวิตเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง ซึ่งจะเป็นหลักประกันให้กับคนในครอบครัวได้อีกด้วย ทั้งหมดนี้ จึงทำให้การทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นคำตอบที่ จะช่วยการันตรีว่าปลายทางจะมีเงินเป็นก้อนได้จริงๆสามารถออมเงินได้ประสบความสำเร็จจริง และคุ้มค่า เป็นการออมเงินง่ายๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารเสียอีกด้วย ไม่ว่าคนไทยในปัจจุบัน มีพฤติกรรมการออมอย่างไร และเปลี่ยนแปลงจากอดีตมากน้อยแค่ไหน ก็อยากจะให้คนไทยหันมาออมเงินตั้งแต่วันนี้ยังไม่สายเกินไป