วันที่ 5 ต.ค.63 เครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น (คปท.) เผยแพร่แถลงการณ์ โดยมีเนื้อหาโดยสรุปเรียกร้องให้ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นทุกแห่งในประเทศลาออก ด้วยสปิริตประชาธิปไตย เพื่อให้มีการจัดเลือกตั้งท้องถิ่นทุกแห่งทุกรูปแบบทั้งประเทศใหม่ในปีนี้ ไม่ใช่ให้รัฐบาลสืบทอดอำนาจรัฐประหารทำการยื้อแช่แข็งและทำลายการเมืองท้องถิ่นเช่นที่ผ่านมา 7 ปีแล้วอีกต่อไป แต่ต้องให้มีเลือกตั้งภายในธันวาคมปีนี้ นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการลงนามท้ายแถลงการณ์ 75 ราย โดยมีเนื้อหาในแถลงการณ์ ดังต่อไปนี้ แถลงการณ์เครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น (คปท.) เรื่อง ขอให้ผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งลาออกจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐบาลจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นทุกแห่งใหม่โดยเร็ว นับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกประกาศคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 85/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ตลอดทั้งใช้อำนาจตามมาตรา 44 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2563) หรือ 7 ปีที่กระบวนการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นไทยตกอยู่ในภาวะชะงักงันจากคำสั่งอำนาจเผด็จการนั้น แม้คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ใช้ข้ออ้างว่าจะปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นไทย แต่ที่ผ่านมาพบว่าไม่เห็นผลที่เป็นรูปธรรมแต่ประการใด อันสะท้อนเจตจำนงที่ไม่ประสงค์สร้างประชาธิปไตยและพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ในทางกลับกันพบว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกคำสั่งและประกาศอีกหลายฉบับ เปิดทางให้ข้าราชการประจำในส่วนภูมิภาคเข้ามามีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการควบคุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในตำแหน่งฝ่ายบริหารและฝ่ายสภา ทั้งในแบบโดยตรงและโดยซ่อนเร้น การกระทำดังกล่าวเป็นการทำลายหลักการปกครองท้องถิ่นและขัดขวางกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยฐานราก ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตยในระดับชาติ ทั้งที่สถานการณ์ในปัจจุบัน ประเทศไทยของเราได้มีการเลือกตั้งในการเมืองระดับชาติตามกติการัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งที่แม้จะมีปัญหาด้านความบริสุทธิ์ยุติธรรมมาเกือบสองปีแล้ว แต่การเลือกตั้งท้องถิ่น เรายังไม่เห็นความชัดเจนของรัฐบาลที่อ้างว่าเป็นรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งที่สืบทอดอำนาจรัฐประหาร ทั้งที่โดยหลักการ การเลือกตั้งท้องถิ่นจะทำให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครองและการบริหารท้องถิ่น ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อท้องถิ่น มีความรักและปรารถนาที่จะพัฒนาสร้างชีวิตที่ดีขึ้นให้กับท้องถิ่นของตัวเอง การเลือกตั้งท้องถิ่นจึงสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการเลือกตั้งระดับชาติ หากประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นเข้มแข็ง ประเทศก็จะเข้มแข็ง อันจะนำไปสู่ความเลื่อมใสศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในที่สุด ด้วยเหตุนี้ ประชาชนและสังคมจึงต้องการให้รัฐบาลมีความชัดเจนในการจัดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น แต่ก็ยังไม่เห็นสัญญาณความจริงใจที่ชัดเจนของรัฐบาล ดังนั้น เครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น (คปท.) จึงมีมติขอให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน เป็นการแสดงสปิริตทางการเมือง (Political Spirit) เพื่อร่วมสร้างประชาธิปไตยไทย ทั้งเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกแห่งทุกรูปแบบตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว ต่อไป ด้วยจิตคารวะแด่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง (กรุงเทพมหานคร 1 แห่ง เมืองพัทยา 1 แห่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 แห่ง เทศบาล 2,472 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 5,300 แห่ง รวม 7,850 แห่ง) เครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น (คปท.) อาจารย์นักวิชาการลงนามในแถลงการณ์เครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น (คปท.) 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บูฆอรี ยีหมะ รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.สงขลา 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุฑฒจักร สิทธิ รัฐศาสตร์ มรภ.สกลนคร 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ การปกครองท้องถิ่น มรภ.พระนครศรีอยุธยา 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม 7. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสน์ ม.เชียงใหม่ 8. รองศาสตราจารย์ ดร.รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข รัฐศาสตร์ ม.บูรพา 9. อาจารย์ ฌญาพัทร์ ธัญญกิจ รัฐศาสตร์ ม.บูรพา 10. อาจารย์ จิรายุทธ์ สีม่วง รัฐศาสตร์ ม.บูรพา 11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพพร ขุนค้า รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.ราชนคนินทร์ 12. ศิวัช ศรีโภคางกุล วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น 13. ปราโมทย์ ระวิน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา 14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร 15. อาจารย์ วิชาญ ฤทธิธรรม รัฐศาสตร์ มรภ.สกลนคร 16. อาจารย์ เกรียงไกร ศรีโนนเรือง รัฐศาสตร์ มรภ.สกลนคร 17. สรพจน์ เสวนคุณากร คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี 18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา คล้ายเดช รัฐศาสตร์ ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ชัยภูมิ 19. อาจารย์ ธีระพงษ์ ทศวัฒน์ การพัฒนาสังคม มรภ.ราชนครินทร์ 20. อาจารย์ ตราดุลย์ นรนิติผดุงการ นิติศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา 21. อาจารย์ ธีรพงศ์ ไชยมังคละ การบริหารและการพัฒนาชุมชน มรภ.จันทรเกษม 22. ดร.ธรรมรัตน์ โพธิสุวรรณปัญญา คณะรัฐศาสตร์ มรภ.ชัยภูมิ 23. เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 24. กำพล จำปาพันธ์ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาประวัติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ 25. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม. ธรรมศาสตร์ 26. นพพร ศาลางาม นักศึกษาปริญญาเอก วิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก 27. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ 28. รองศาสตราจารย์ ดร.สามารถ ทองเฝือ คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ 29. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มูฮัมหมัด อิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง 30. อาจารย์ ดร.ขนิษฐา สุขสง คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 31. อาจารย์ จ.ส.ต. ดร.รัฐ กันภัย รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.เพชรบุรี 32. รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.เพชรบุรี 33. อาจารย์ คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา 34. ภัสสรา บุญญฤทธิ์ นักศึกษาปริญญาเอกสาขา Gender and Development Studies (GDS), Asian Institute of Technology (AIT) 35. สุไรนี สายนุ้ย คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ปัตตานี 36. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร 37. ปฐวี โชติอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี 38. รองศาสตราจารย์ สุภัทรา นีลวัชระ วรรณพิณ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ 39. อาจารย์ วีรศักดิ์ บำรุงตา รัฐศาสตร์ มรภ.สกลนคร 40. นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี 41. อันธิฌา แสงชัย ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 42. พสิษฐ์ วงษ์งามดี คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี 43. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มูนีเราะฮ์ ยีดำ รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา 44. อาจารย์ วรางคณา ปัญญามี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา 45. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 46. เผ่า นวกุล คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ 47. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไททัศน์ มาลา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ 48. รองศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ 49. คมสัน พรมรินทร์ นักศึกษาปริญญาเอก ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 50. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปกาศิต เจิมรอด นิติศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา 51. สุนทรชัย ชอบยศ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม 52. ดร.นพพล อัคฮาด รัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาการจัดการ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช 53. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก 54. อาจารย์ ศราวุฒิ วิสาพรม วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม 55. อาจารย์ ศุภกร ชมศิริ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ 56. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม 57. มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.พะเยา 58. ศักดิ์สิทธิ์ ฆารเลิศ รัฐศาสตร์ มรภ.ร้อยเอ็ด 59. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ นพแก้ว รัฐศาสตร์ มรภ.นครสวรรค์ 60. กิตติพัฒน์ คงมะกล่ำ รัฐศาสตร์ มรภ.นครสวรรค์ 61. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล เครือแสง รัฐศาสตร์ มรภ.นครสวรรค์ 62. นพพล แก่งจำปา ประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม 63. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วชิรวัตติ์ อาริยะสิริโชติ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม 64. ดร.โอฬาร อ่องฬะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ 65. นายอลงกรณ์ ศิลปดอนบม นิสิตปริญญาเอก วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม 66. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิบปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน ปรัชญาสังคมและวัฒนธรรม มรภ.มหาสารคาม 67. อาจารย์ ปฐมพงศ์ มโนหาญ สำนักวิชานวัตกรรมสังคม ม.แม่ฟ้าหลวง 68. ชัยพงษ์ สำเนียง ประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร 69. ศรันย์ สมันตรัฐ ภูมิสถาปัตยกรรม ม.เกษตรศาสตร์ 70. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติศักดิ์ บังเพลิง คณะมนุษย์ศาสตร์ฯ ม.มหาสารคาม 71. เอกราช มะลิวรรณ์ ศิลปศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 72. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนศักดิ์ สายจำปา รัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช 73. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ม.ธรรมศาสตร์ 74. ณัฐพงศ์ มาลี คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 75. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์