หมายเหตุ : “สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์” สัมภาษณ์พิเศษ “พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล” ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง คนใหม่ ถึงทิศทางการขับเคลื่อนภารกิจของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) โดยจะเน้นการทำงานเชิงลึก และเชิงบูรณาการ มีสาระที่น่าสนใจดังนี้ -ภารกิจของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ปฏิบัติการตามนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเน้นการทำงานใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1. งานถวายความปลอดภัย ในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนพระราชอาคันตุกะ และแขกของรัฐบาล ซึ่งอยู่ในการดูแลของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง 2.การดูแลในเรื่องของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เหมือนเราเป็นที่พึ่งหรือหน่วยสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ทั้งในภูธรและนครบาล ในเรื่องของการสืบสวนจับกุม บุคคลที่กระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายอาญา ทั่วราชอาณาจักร สิ่งไหนที่เกินขีดความสามารถของโรงพักพื้นที่ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางจะลงไปช่วยทันทีเมื่อมีการร้องขอ โดยเฉพาะคดีสำคัญสำคัญเป็นที่สนใจของพี่น้องประชาชน เราจะไม่เด็ดยอดเขาว่ามาแล้วเราเป็นพระเอก เมื่อเราช่วยงานสำเร็จแล้วก็จะถอนกำลังกลับที่ตั้งทันที ที่เหลือเป็นหน้าที่ของตำรวจพื้นที่ ที่จะต้องดำเนินการต่อไป เพราะเราทำงานในเชิงลึกและเชิงบูรณาการ 3.เรื่องงานจิตอาสา เพราะว่าหลายๆครั้งที่เราลงไปทำงานร่วมกับมวลชน จะเป็นผลดีต่อองค์กร การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในเรื่องของภัยพิบัติ ต่างๆ เช่น น้ำท่วม วาตภัย จะเห็นได้ว่าตำรวจสอบสวนกลาง จะนำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำ ตำรวจทางหลวง ตํารวจคอมมานโดกองปราบปราม ลงไปช่วยเสมอเป็นการประสานกำลังลงพื้นที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ซึ่งภาพเหล่านี้เป็นภาพเชิงบวก ขององค์กรสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรียกว่าจิตอาสา "ภัยพิบัติ จิตอาสาพัฒนา" เช่น การไปทำสาธารณประโยชน์ การตัดต้นไม้ปรับปรุงทัศนียภาพ หรือการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ และปลูกป่า การขุดลอกคูคลอง หรืออ่างเก็บน้ำซึ่งกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ทำอยู่อย่างต่อเนื่อง และสานงานตามนโยบายต่อจาก พล.ต.ท.สุทิน ทรัพย์พ่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ส่วนใหญ่แล้วตำรวจกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ผ่านการอบรมจิตอาสา หลักของ 904 มา ซึ่งมีองค์ความรู้ในหลายๆด้าน และมาเป็นแกนนำอบรม ในหน่วยงานต่างๆ เพื่อทำสาธารณประโยชน์ และจะทำต่อเนื่องตามนโยบาย ทั้ง 3 อย่าง ที่ได้เน้นไว้ ที่สำคัญอย่างหน่วยหลัก เช่น กองปราบปราม และกองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ ร่วมกันทำงานไม่มีการแบ่งหน่วยนั้นหน่วยนี้ เหมือนทัพหลวงเราเป็นส่วนกลาง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นความเดือดร้อนของประชาชน ในวงกว้าง แม้แต่คดีอุกฉกรรจ์ ต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่เห็นความสำคัญของกฎหมายบ้านเมือง เราจะต้องลงไป ดำเนินการทันที ถ้าทัพหลวงลงไปแล้วเอาไม่อยู่ จะมีหน่วยงานไหน กล้าลงไป ประชาชนจะมีที่พึ่งตรงไหน ในเมื่อเราไปแล้วจะต้องทำให้สงบราบคาบจริงๆ ตามนโยบายเชิงลึก ก็จะมีโอเปอเรชั่น ให้เกิดการประสานงานในการปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างตำรวจพื้นที่ กับหน่วยงานของเรา อย่างเช่นการทำปฏิบัติการยุทธการฟ้าสาง เหมือนสมัยก่อน ที่เราเคยทำแล้วเราก็จะทำยุทธการอย่างนี้ ให้มีทุกเดือน โดยใช้กำลังของกองบังคับการปราบปราม และกองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ หน่วยคอมมานโดเข้าไปปฏิบัติการ ปราบปรามพวกมือปืนรับจ้าง ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ห้ามมีเด็ดขาด ซึ่งกองบัญชาการสอบสวนกลาง จะดำเนินการปราบปรามอย่างจริงจัง ไม่ต้องมาไหว้ครูแล้วทำได้เลย ผมอยู่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมา 20 ปี อยู่กองปราบมา 18 ปีและอยู่หน่วยปฏิบัติการพิเศษ 2 ปี "ไม่ต้องมีนโยบายไม่ต้องพูดอะไรกันมาก ไม่ต้องไหว้ครูทุกคนทำงานได้เลย" ส่วนใหญ่ผู้บังคับบัญชาที่มอบนโยบายมาจากที่อื่น เลยจำเป็นต้องเรียกผู้ใต้บังคับบัญชามาให้รู้จัก เพื่อมอบแนวทางการทำงาน และแนวความคิดของผู้บัญชาการแต่ละท่าน แต่ของผมอยู่มาด้วยกัน 20 ปีเราเห็นหน้ากันอยู่ทุกวัน เราอยู่กับแบบพี่น้อง ทุกคนรู้นิสัยผมดีอยู่แล้วใน บช.ก. ทุกคนทำงาน มีความรู้ความสามารถ ทำงานอย่างเต็มที่ -การทำงานของ “ทีมหนุมาน” ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เราต้องเข้าใจว่ากองบังคับการปราบปราม สมัยก่อนเป็นหน่วยคอมมานโด กองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปราม แต่ยกฐานะ ขึ้น ทำหน้าที่ปราบปรามผู้มีอิทธิพล และมือปืนรับจ้าง จึงต้องมีชุดปฏิบัติการในการเข้าตรวจค้น ในเมื่อหน่วยคอมมานโดแยกตัวออกมาแล้ว กองปราบปรามจำเป็นที่ต้องมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษ จึงตั้งเป็นกองปฏิบัติการสนับสนุน ถามว่าต้องเพิ่มศักยภาพอะไรหรือไม่นั้น บอกได้เลยว่าไม่ต้อง ถ้าจะเพิ่ม ก็เป็นเพียงขีดความสามารถของคนให้มีความสามารถเพิ่มเข้ามา อย่างเช่นหน่วยหนุมาน จะเป็นเด็กใหม่ทั้งหมด ประสบการณ์ในการเข้า ปฏิบัติการ ในพื้นที่จริง อย่างน้อยเราจึงต้องมีการประสานงานปฏิบัติการร่วมกัน 1 กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ มีกองกับการต่อต้าน เป็น 1 ใน 3 ของแผนปฏิบัติการ ซึ่งจะเข้าเวลามีเหตุการณ์ก่อการร้าย ซึ่งเป็นแท่งหนึ่งของศูนย์ ปฏิบัติการก่อการร้าย มีอรินทราช 26 นเรศวร 261 และกองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ ต่อต้านการก่อการร้าย ในส่วนของกองกำกับการปราบปราม หน่วยหนุมาน มีมือดีๆอยู่แล้ว ผ่านการอบรมหลักสูตร 261 อรินทราช หลักสูตรสวาทแอดวานซ์ เพียงแต่หาประสบการณ์ เพื่อเข้าไปปฏิบัติการจริง สำหรับอุปสรรคที่ผ่านมายังไม่เคยมีปรากฏ ซึ่งผู้การฯแต่ละคนมีขีดความสามารถ และอยู่ในสาย กองบังคับการปราบปรามมาโดยตลอด เหมือนคราวนี้ขึ้นผู้การทั้งหมด 6 ท่าน แต่อยู่ในสังกัดของ บช.ก. ไม่มีใครออกนอกหน่วย และผู้การที่ขึ้นก็ขึ้นในหน่วยของตัวเองทั้งหมด ทุกคนรู้งานหมดแล้วไม่มีปลาผิดน้ำสักคน ทำให้หน่วยงานขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งไม่ต้องมอบนโยบายอะไรมากเลย เพราะรู้กันอยู่แล้ว สำหรับโครงการจิตอาสา ขณะนี้จะเน้นรับจิตอาสาในส่วนภูมิภาค แต่ละจังหวัด และมีการฝึกอบรมให้ สามารถเปิดเข้าสมัครอบรมได้ในเว็บไซต์จิตอาสา ซึ่งจิตอาสาที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนคือกรณี 13 หมูป่า เด็กในถ้ำหลวงน้ำนางนอน เราทำงานเป็นขบวนการ ทุกคนรู้หน้าที่กันหมด ส่วนตัวผมเป็นจิตอาสาต้องทำหน้าที่วิทยากร บรรยายตามที่ต่างๆเรียกว่าจิตอาสาหลัก หลักสูตรประจำ ที่ต้องออกไปให้ความรู้ ไปบรรยายตามหน่วยราชการในโรงเรียนต่างๆ ซึ่งเรากำลังทำงานในลักษณะเชิงรุก ตอนนี้จิตอาสาภูมิภาคกำลังเปิดรับสมัครอยู่ เป็นจิตอาสาหลักรุ่นที่ 5 จะเปิดในเดือน พฤศจิกายนนี้ อยู่ระหว่างการคัดเลือกบุคคลที่เข้ารับการฝึกอบรม เราต้องแยกก่อนว่าหลักสูตรอบรมจิตอาสานั้นมีอยู่ 3 หลักสูตรด้วยกัน 1. หลักสูตรพื้นฐาน จะเปิดโดยใช้เวลาทำการอบรมประมาณ 20 วัน 2. หลักสูตรประจำ ซึ่งเราจะเปิดอยู่ในขณะนี้เป็นรุ่น 5 ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมจะต้องทำการฝึกอบรม 50 วัน หรือ 1 เดือนครึ่ง แล้วก็มีหลักสูตรพิเศษ 3. หลักสูตรพิเศษ ผู้เข้ารับการอบรม จะต้อง เข้ารับการอบรมอยู่ประมาณ 3 เดือน หรือ 90 วัน ซึ่งจะต้องใส่ยอดองค์ความรู้ขึ้นไป มากกว่าหลักสูตรประจำ แต่ยังไม่ได้เปิด เนื่องจากเราเปิดหลักสูตรพื้นฐานกับหลักสูตรประจำก่อน สำหรับหลักสูตรประจำรุ่นที่ 5 นี้จะมีประชาชนเข้ารับการฝึกอบรม เนื่องจากเขาทำจิตอาสา ให้กับพี่น้องประชาชนอย่างทุ่มเท จริงๆ เมื่อผมเห็นแล้วผมจะคอมเมนต์ว่า คนนี้ทำงานจิตอาสาจริงๆ และเขาไม่ได้มาหวังประโยชน์ ซึ่งคนแบบนี้ เราต้องให้การสนับสนุน เพราะว่าเมื่อเขาได้องค์ความรู้ จากการอบรม 50 วัน เขาจะมีความรู้รอบตัว จากที่ไม่เคยรู้จักที่ไหนมาก่อน เขาจะได้ไปถ่ายทอด ในพื้นที่ของเขา ถ้าเราอยู่ภาคเหนือเราก็กลับไปอยู่ภาคเหนือ เป็นแกนหลักของภาคเหนือ เป็นสิ่งที่เราเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชน ที่เป็นผู้นำจิตอาสาชุมชนสามารถเข้าสมัครได้ ซึ่งเราจะเปิดทำการฝึกอบรมเดือนพฤศจิกายน เสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม งานจิตอาสา เป็นงานตามพระบรมราโชบาย พระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน พระองค์ท่านทรงเห็นว่า บ้านเมืองในช่วงนี้ เป็นช่วงที่มีการแตกแยก แบ่งเป็นสี เป็นก๊กเป็นเหล่า จึงนำโครงการจิตอาสามาทำงานสาธารณประโยชน์ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง โดยไม่แบ่งสีแบ่งกลุ่ม และเป็นการสืบสานต่อยอดตาม พระบรมราโชบายของพระองค์ท่าน ในการช่วยกันดูแลสิ่งสาธารณประโยชน์ต่างๆ รักษาขนบธรรมเนียมประวัติศาสตร์ สำหรับกลางปี พ.ศ. 2564 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง จะทำการย้าย ที่ทำงาน ตั้งอยู่ที่ หลังกองปราบ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม. ทุกหน่วยงานที่สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางจะย้ายไปอยู่ที่นั่น ส่วนกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองทองธานีนั้น เราได้แลกกันกับ กองบัญชาการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากติดเงื่อนไข ขอบเขตอำนาจหมายค้น ของศาลอาญาซึ่งเอาที่ตั้งของหน่วยเป็นหลัก -สิ่งที่อยากฝากพี่น้องประชาชน สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและไม่รับความเป็นธรรม สามารถร้องทุกข์ ถึงผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร หรือโทร. 195 ขอเรียนว่าทุกเรื่องที่ร้องเข้ามาในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเราไม่ได้ทิ้ง เราดำเนินการทุกเรื่อง ถ้าหน้างานไหนเข้ากอง กำกับการใด กองกำกับการนั้นจะต้องออกไปทำการสืบสวนหาข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินการต่อไป