"บิ๊กตู่" เผยทูลเกล้าฯ พรบ.งบปี 64 แล้ว ส่วน "รมว. คลัง" คนใหม่เดี๋ยวออกมา "วิษณุ"เผยนายกฯ ย้ำครม.หนุนแก้รธน.ฉบับพรรคร่วม-ฝ่ายค้าน ชี้ "ในเมื่อเสนอแล้วก็ต้องเข็นต่อ" บอกให้กมธ.ถกกันในสภาฯ ยัน 30 วัน ไม่ใช่การเตะถ่วง เปรยวิสามัญเปิดยากแต่ไม่ใช่เปิดไม่ได้ "บิ๊กป้อม"บอก"คิดไปเอง"หลังถูกถามเตรียมตั้งพรรคใหม่ ชี้มี"พปชร."อยู่แล้ว ด้าน"สมพงษ์"คัมแบคหัวหน้าเพื่อไทย "ประเสริฐ"นั่งเลขาฯ "อรุณี"รับหน้าที่โฆษกฯ "สมพงษ์"ขอบคุณสมาชิกให้ความไว้วางใจ ลั่นระดมทุกสรรพกำลังทำ"เพื่อไทย"ให้สำเร็จเหมือน"ทรท." ส่วน "หมอวรงค์"แฉยับขบวนการล้มล้างประเทศไทย ตั้งฐานที่มั่น"สิงคโปร์-ตุรกี"ส่วน "มท.-กกต." เร่งเดินหน้าจัดเลือกตั้งท้องถิ่น "บิ๊กป๊อก" จ่อชง ครม.ไฟเขียว 6 ต.ค.นี้ เมื่อวันที่ 1 ต.ค.63พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงการนำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2564 ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมแล้วหรือยังว่า " น่าจะทูลเกล้าฯแล้วนะ ผมเซ็นไปหลายอย่าง อะไรเร็วสุดก็ลง เอาน่า เดี๋ยวก็ออกมา" เมื่อถามว่า ได้มีการนำชื่อรมว.คลังคนใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯแล้วหรือยัง พล.อ.ประยุทธ์ หันมาตอบว่า เดี๋ยวก็ออกๆ วันนี้พวกเราต้องช่วยกันเดินไปข้างหน้าอย่ามาดึงกันไปเรื่อยทุกเรื่องบ้านเมืองก็ไปไม่ได้ ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ กล่าวถึงกรณีวุฒิสมาชิกเห็นควรให้มีการพูดคุยในกรรมา ธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมทั้ง 6 ฉบับ ก่อนรับหลักการ โดยไม่เห็นด้วยที่นายกฯได้ส่งสัญ ญาณให้รับญัตติของพรรคร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมถึงหากจะตั้งส.ส.ร.ต้องมีการทำประชามติก่อนว่า เป็นความเห็นของส.ว. แต่ถึงอย่างไรทุกอย่างจะต้องไปพูดคุยกันในกรรมาธิการฯ ซึ่งตั้งขึ้นตามข้อบังคับเพื่อพิจารณาก่อนรับหลักการ โดยร่างนั้นเป็นร่างของพรรคร่วมรัฐบาล 1 ร่าง และเป็นร่างของพรรคฝ่ายค้าน 1 ร่าง ซึ่งหลักการคล้ายคลึงกัน และร่างของพรรคฝ่ายค้าน แต่เป็นการแก้ไขรายมาตราอีก 4 ร่าง ร่างของไอลอว์อีก 1 ร่าง ซึ่งทั้งหมดจะเข้าไปสู่การพิจารณาของกรรมาธิการฯ และได้ยินว่าจะนำบทสรุปหรือข้อสังเกตของกรรมาธิการชุดของ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกฯ และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาหลักเกณฑ์ และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือว่าเป็นการดี เพราะตอนที่ชุดของนายพีระพันธุ์เสนอยังไม่มีร่างใดเลยแม้แต่ร่างเดียว ดังนั้นจึงต้องนำมาเทียบกันทั้งหมด ซึ่งจะต้องใช้เวลาไม่เกิน 30 วันนี้ "ที่เป็นข่าวและวิจารณ์กันว่ารัฐบาลส่งสัญญาณอะไรนั้น เมื่อวันอังคารที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา ผมก็นั่งอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย แต่ไม่เห็นว่าเป็นการส่งซิกใดๆ เป็นเพียงมีการพูดคุยกันหลายเรื่อง เป็นธรรมดา ของทุกวันอังคารก่อนการประชุมครม.ที่รัฐมนตรีคนไหน หรือหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลคนไหน มีข้อหารือหรือเล่าให้นายกฯฟัง ก็มาพูดคุยเป็นธรรมดา และมีการพูดถึงเรื่องปัญหารัฐธรรมนูญ ซึ่งนายกฯ ปรารภขึ้นมาว่าร่างของพรรคร่วมนั้น สมาชิกพรรคร่วมได้ลงชื่อกันไปจำนวนมากกว่า 200 คน ฉะนั้นก็เป็นธรรมดาที่พรรคร่วมเมื่อเสนอแล้ว ก็ต้องเข็นต่อไป จะไปกลับลำได้อย่างไร ซึ่งทุกพรรคก็เห็นด้วย ว่าถูกต้องยืนยันว่า30 วันนี้ไม่ได้มีขึ้น เพื่อจะถ่วงเวลาใดๆ ทั้งสิ้น นายวิษณุ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม การจะเปิดวิสามัญฯนั้นยุ่งยากพอสมควร เพราะต้องมีพระราชกฤษฎีกาเปิดสภาฯ แล้วยังต้องมีพระราชกฤษฎีกาอีกฉบับหนึ่งเพื่อปิดสภาฯ ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่าไม่ต้องเปิดวิสามัญฯใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่แน่ อาจจะเปิดก็ได้ เพราะการเปิดสภาฯ สมาชิกก็เข้าชื่อกันขอเปิดได้ เพราะการเปิดสภาฯวิสามัญนั้นทำได้2 แบบ โดยครม.ขอเปิด และสมาชิกสภาฯเข้าชื่อกันขอเปิด แต่ในเมื่อจะเปิดสภาฯอยู่แล้วในวันที่ 1 พ.ย. ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ ดังนั้นก็ต้องเปิดวันที่ 2 พ.ย. ก็สามารถประชุมร่วมกันได้เลย ก็ไม่ได้เสียเวลาแต่อย่างใด ส่วนความมั่นใจก็รอฟังทางกรรมาธิการฯ ส่วนตนเชื่อว่าพรรคร่วมรัฐบาลที่เข้าชื่อกันเสนอนั้น เขาก็มีความมั่นใจของเขาแล้ว เชื่อว่าในกรรมาธิการฯพูดกันเดี๋ยวเดียวก็เข้าใจ ในเมื่อแต่ละคนมีเหตุผลทั้งนั้นก็ให้นำมาพูดกัน ด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ให้สัมภาษณ์ ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า 2 ป. เตรียมตั้งพรรคสำรอง ว่า ก็ไปถาม 2 ป. เอาเองว่า 2 ป.คือใคร และเขาก็ชี้แจงไปหมดแล้ว มันจะมีอะไร เมื่อถามว่า แต่มีชื่อพล.อ.ประวิตรอยู่ด้วย พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เรามีพรรคอยู่แล้วจะไปตั้งพรรคใหม่ทำไม คุณคิดไปเอง ไม่มีอะไร เมื่อถามต่อถึงความพร้อมของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในการเตรียมเลือกตั้งท้องถิ่น และสนามเลือกตั้งกทม. พล.อ.ประวิตร ตอบว่า พร้อม ที่พรรคเพื่อไทย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ พรรคเพื่อไทย เพื่อเลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ชุดใหม่ โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 340 คนประกอบด้วยอดีตกรรมการบริหารพรรค อดีตรัฐมนตรี ส.ส.ตัวแทนสาขาพรรค สมาชิกพรรค และอดีตผู้สมัคร อาทิ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีตหัวหน้าพรรค, คุณหญิงสุดารัตร์ เกยุราพันธุ์ อดีตประธานยุทธศาสตร์พรรค, ร.ต. อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานคณะกรรมการกิจการพิเศษพรรค ,น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ,นายภูมิธรรม เวชยชัย ,นายชัยเกษม นิติศิริ ,นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ,นายเสนาะ เทียนทอง และนายประเสริฐ จันทรรวงทอง โดยวาระการประชุมคือ การเลือกกก.บห.ชุดใหม่ และการรับรองการเปลี่ยนโลโก้ใหม่ ที่เพิ่มหัว พ.พาน และท.ทหาร ให้มีลักษณะกลมเพื่อสื่อถึงความกลมเกลียว ทั้งนี้ ผลการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ มีทั้งหมด 24 คน ปรากฏว่า นายสมพงษ์ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคอีกสมัย มีรองหัวหน้าพรรค 10 คนประกอบด้วย นายชูศักดิ์ ศิรินิล ,น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ, นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ,นายเกรียง กัลป์ตินันท์ ,นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ,นายพิชัย นริพทะพันธุ์, นายสุทิน คลังแสง ,นายไชยา พรหมา, พล.ต.อ.สมศักดิ์ จันทะพิงค์ และนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด และมี นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นเลขาธิการพรรค มีรองเลขาธิการพรรค 5 คน ประกอบด้วย นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม น,ายจิรวัฒน์ ศิริพาณิชย์ ,นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล ,นายคุณากร ปรีชาชนะชัย และนายนพ ชีวานันท์ ส่วนน.ส.ธีรรัตน์ สำเรีจวณิชย์ เป็นเหรัญญิกพรรค โดย นายจักรพงษ์ แสงมณี เป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรค น.ส.อรุณี กาสยานนท์ เป็นโฆษกพรรค และมีกรรมการบริหารพรรค 4 คน ประ กอบด้วย นายชวลิต วิชยสุทธิ์, นายสรวงศ์ เทียนทอง, นายองอาจ วงษ์ประยูร และนายพรเทพ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ ต่อมา นายสมพงษ์ แถลงว่า ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิก ที่ได้ร่วมลงคะแนน ให้ความไว้วางใจ สถานการณ์ของบ้านเมืองวันนี้ ตกอยู่ภายใต้ภาวะวิกฤติ ทั้งทางการเมือง และเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคการเมือง มีความจำเป็นต้องปรับตัว ปรับโครงสร้างการบริหารของพรรค นายสมพงษ์ กล่าวว่า ภารกิจสำคัญอย่างแรกคือ ความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย พรรคเพื่อไทยยึดมั่นในจุดยืนเช่นนี้มาตลอด ไม่เคยเปลี่ยนแปลง เรายืนยัน จะจับมือร่วมกับทุกเครือข่าย เดินหน้าเร่งรัดแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดกติกาที่ยุติธรรม และเป็นประชาธิปไตย ให้มากที่สุด ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในทุกด้าน อันจะเกิดประโยชน์สูงสุด แก่พี่น้องประชาชน ภารกิจที่ 2 คือ แบ่งเบาความทุกข์ยาก เดือดร้อนของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะวิกฤติเศรษฐกิจ ที่ทุกคนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ "สิ่งที่พรรคเพื่อไทยจะทำต่อจากนี้คือ การระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกพรรค เพื่อร่วมกันสร้างและผลักดันนโยบาย เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้เป็นรูปธรรม ดังเช่นที่พรรคเพื่อไทยได้เคยทำสำเร็จมาแล้ว อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็นพรรคไทยรักไทย ที่เราได้สร้างความหวัง สร้างอนาคตให้แก่พี่น้องประชาชน ได้อย่างชัดเจนที่สุด" นายสมพงษ์ กล่าวอีกส่า ภารกิจที่ 3 คือ กระชับความสัมพันธ์ในหมู่สมาชิก และพี่น้องประชาชน รวมทั้งกลุ่มประชาสังคมทุกเครือข่าย ให้เกิดการเรียนรู้ ร่วมมือกันให้แน่นแฟ้น สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของพรรคเพื่อไทยร่วมกัน อย่างเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืน และภารกิจท้ายสุด คือ การรวบรวมและนำเทคโนโลยี มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการถ่ายทอดหรือสื่อสารไปยังประชาชนและ ส.ส. เพื่อรับรู้ปัญหา และสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในการแก้ไขปัญหาของพวกเขา ให้ดียิ่งๆ ขึ้น "เป็นการผนึกกำลังจากรุ่น สู่รุ่นระหว่างความรู้ และประสบการณ์ของรุ่นพี่กับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆ และความมุ่งมั่นที่เปี่ยมด้วยพลังของรุ่นน้องๆ เพื่อให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และนั่นคือ อุดมการณ์สูงสุดของพวกเรา" ขณะที่ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม แกนนำกลุ่มไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า " #สิ่งที่คนไทยต้องรู้การเคลื่อน ไหวของม็อบ ที่นำไปสู่ความล้มเหลว มีหลายสาเหตุ ตั้งแต่เป้าหมายที่สังคมไทยรับไม่ได้ คือต้องการล้มล้างสถาบันเบื้องสูง เพื่อสถาปนาระบอบสาธารณรัฐ โดยกดดันผ่านการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับมีพฤติกรรมข่มขู่ หยาบคาย รวมทั้งมีการผลักดันใช้ชื่อน้องๆ นักศึกษาในชื่อต่างๆมาบังหน้า แต่เบื้องหลังม็อบกลับมีกลุ่มอาจารย์ นักการเมือง พรรคการเมือง รวมทั้งสามอำมหิตที่เกาะชายกระโปรงนักศึกษาร่วมด้วย สิ่งที่เลวร้ายที่สุด ยังพบว่า มีคนไทยและชาวต่างชาติที่อยู่ต่างประเทศ จัดตั้งเป็นขบวนการเพื่อล้มล้างประเทศไทย ผ่านทวิตเตอร์ และอินสตราแกรม ปั่นกระแสชี้นำความคิดเยาวชนไทย ซึ่งคนกลุ่มนี้กระจายอยู่ที่ฮ่องกง ญี่ปุ่น อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ สิงคโปร์ ล่าสุดในช่วงที่ม็อบระดมใหญ่ เพื่อ # ให้มันจบที่รุ่นเรา คนกลุ่มดังกล่าว ได้ย้ายฐานการโจมตี จากประเทศต่างๆ มาตั้งฐานถล่ม เพื่อชี้นำความคิดแก่เยาวน ที่สิงคโปร์และตุรกี นี่คือ #สิ่งที่คนไทยต้องรู้ และตามให้ทัน" วันเดียวกัน ที่กระทรวงมหาดไทย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พร้อมด้วย พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ร่วมประชุมถึงการจัดเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพล.อ.อนุพงษ์ กล่าวในที่ประชุมตอนหนึ่งว่า ทางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้สำรวจและประกาศรวมหมู่บ้านที่มีราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรไม่ถึง 25 คน กับหมู่บ้านอื่นที่มีพื้นที่ติดต่อกันเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 41 จังหวัด 109 อำเภอ 128 ตำบล 203 หมู่บ้านรวม 150 เขตเลือกตั้ง ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนความพร้อมด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาด ไทยได้แจ้งจังหวัด กำชับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเตรียมการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปี พ.ศ.2564 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นไว้เป็นการล่วงหน้า "โดยเฉพาะการจัดเตรียมงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อรองรับการจัดการเลือกตั้งภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ตั้งงบประมาณสำหรับการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ไว้พร้อมแล้ว ส่วนการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยจะนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป" จากนั้นเวลา 15.00 น. พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ขณะนี้มีความพร้อมหลายๆ ด้านในการจัดเลือกตั้งท้องถิ่น โดยกระทรวงมหาดไทยจะนำวาระเสนอเพื่อรอต่อ ครม.พิจารณา จากนั้นจะแจ้งให้ กกต.ทราบเพื่อประกาศวันจัดเลือกตั้งท้องถิ่น ขณะเดียวกันขอให้ผู้สมัครเลือกตั้งตรวจสอบคุณสมบัติการรับสมัครให้พร้อม พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ตามขั้นตอน