เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 28 กันยายน ที่ห้องประชุมสารนิเทศ อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ( มทส.) นครราชสีมา รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดี มทส. พร้อมนางรสยา เธียรวรรณ กรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการวิจัยและ พัฒนาระบบพลังงานทางเลือก โดยมี นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จํากัด (มหาชน) พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย อาจหาญ รองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สินและวิสาหกิจ รวมทั้งแถลงโครงการวิจัยและพัฒนาระบบพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Energy 5nvเป็นความร่วมมือในการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาระบบพลังงานทางเลือก ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) ติดตั้งแผง โซลาร์เซลล์ลอยน้ำและบนหลังคาอาคารต่าง ๆ ผนวกกับระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง วางโครงข่าย ไฟฟ้าอัจฉริยะ และใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อบริหารจัดการด้านพลังงานภายในมหาวิทยาลัยอย่างมี ประสิทธิภาพ คาดว่าจะช่วยประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าได้กว่า 120 ล้านบาท ตลอดอายุสัญญา 15 ปี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เผยว่า “มทส. ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาพลังงานทางเลือกทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้า และการบริหารจัด การพลังงานภายในมหาวิทยาลัย โดยส่งเสริมการวิจัยพัฒนาด้านพลังงานทดแทนและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ นวัตกรรมพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ของคณาจารย์ โครงการวิจัยและพัฒนาระบบพลังงานทางเลือก Solar Energy มีเป้าหมายเพื่อลด ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ตอบรับนโยบาย SUT Re -Profile 2020 ของมหาวิทยาลัย ตามยุทธศาสตร์ที่ 5 “การบริหารงานที่นำสมัย เป็นธรรมและสร้างระบบนิเวศแห่งคุณภาพ” ดำเนินการที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบนิเวศที่ส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต เพื่อมุ่งสู่ Sustainability Green and Clean University นอกจากนี้ ยังเชื่อมโยงและตอบสนองตามยุทธศาสตร์ที่ 3 “การสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคม ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” โดยการมุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนในกลุ่มเทคโนโลยีและ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต พร้อมสนับสนุนงานวิจัย ถือเป็นก้าวย่างสำคัญและเป็นโครงการวิจัยที่ตอบโจทย์การ บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัยเอง รวมถึงตอบโจทย์ปัญหาด้านพลังงานสะอาดของประเทศ โดย การประสานความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคอุตสาหกรรม ด้วยการนำหลักความรู้ทางวิชาการ ด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้จริง เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของสังคม ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านบริหารจัดการด้านพลังงานทดแทน และ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง แก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป อย่างยั่งยืน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย รองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สินและวิสาหกิจ มทส. กล่าวว่า “ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองทางด้านพลังงานทางเลือก โดย บมจ. โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. ได้นำ บริษัท ผลิต ไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด หรือ CHPP ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการวิจัยและพัฒนาระบบ พลังงานทางเลือกกับมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Solar Energy) ในการผลิตกระแสไฟฟ้า และส่งเสริมการพัฒนาพลังงานสะอาด เพื่อลดและแก้ปัญหาภาวะโลก ร้อน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนในกรอบข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนิน โครงการวิจัยและพัฒนาระบบพลังงานทางเลือก เพื่อทดแทนการใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามนโยบาย ของสำนักงานคณะกรรมการการกำกับกิจการพลังงาน กระทรวงพลังงาน ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคและลดรายจ่ายค่าไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย โดยการปรับโครงสร้างราคาพลังงานทดแทนและพลังงาน ทางเลือก ที่มุ่งสู่การกระท้อนราคาต้นทุนพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบัน มทส. มีค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคกว่า 100 ล้าน บาทต่อปี ภายใต้ความร่วมมือนี้เราสามารถใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจากการ นำระบบพลังงานทดแทนที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ โดยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ 4.3 เมกะวัตต์ ใน อ่างเก็บน้ำสุระ 1 และแผงโซลาร์เซลล์ 1.7 เมกะวัตต์ บนหลังคาอาคารต่าง ๆ กำลังผลิตรวมประมาณ 6 เมกะวัตต์ เพื่อเป็น “Low carbon university” และลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคให้กับมหาวิทยาลัยผ่านสัญญาซื้อขาย ไฟฟ้ารูปแบบเอกชนกับเอกชน (Private PPA) คาดว่าจะทำให้มหาวิทยาลัยสามารถประหยัดงบประมาณได้กว่า 120 ล้านบาท ตลอดอายุสัญญา 15 ปี และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง 70,000 ตัน นอกจากนี้ ยังมีแผนจัดตั้งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้นวัตกรรมด้านพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ที่สำคัญใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย รวมถึงนำรูปแบบและระบบการผลิตมาช่วยพัฒนาการเรียนการสอนด้าน วิศวกรรมศาสตร์ ส่งเสริมงานวิจัยของนักศึกษา ตลอดจนเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาโครงข่ายพลังงาน ทางเลือกภายในมหาวิทยาลัย ให้ตอบโจทย์การใช้งานและมีความยั่งยืน มุ่งสู่ Sustainability Green and Clean University ” นายชวลิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ความร่วมมือระหว่าง มทส. และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด หรือ CHPP ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม GPSC เพื่อผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังผลิตรวมประมาณ 6 เมกะวัตต์ ผ่านสัญญาซื้อขายไฟฟ้ารูปแบบเอกชนกับเอกชน (Private PPA) โดยใช้งบประมาณดำเนินการราว 150 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าได้ในปี 2565 เป็นต้นไป เพื่อพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะด้วยระบบพลังงาน ไมโครกริด โดยแบ่งการติดตั้งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ (1) ติดตั้งแผงโซลาร์เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บน หลังคา (Solar Rooftop) จำนวน 8 อาคาร ขนาดกำลังผลิตรวมประมาณ 1.680 เมกะวัตต์ ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ แบบชนิด Mono PERC Half-Cell Module (2) ติดตั้ง Solar Rooftop บริเวณหลังคาทางเดินอาคารบริหาร ขนาด กำลังผลิต 60 กิโลวัตต์ ด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบชนิด Bifacial Cels และ (3) ติดตั้งโซลาร์ชนิดลอยน้ำ (Solar Floating) ในอ่างเก็บน้ำสุระ 1 ขนาดกำลังผลิต รวมประมาณ 4.312 เมกะวัตต์ มีจุดเด่นอยู่ที่ทุ่นลอยน้ำ เป็น เทคโนโลยีของกลุ่ม ปตท. ที่ใช้วัตถุดิบเป็นเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนเกรดพิเศษที่ผสมของสารกันแสง UV มี คุณสมบัติคงทน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถรีไซเคิลได้ นอกจากนี้ ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม มีแนวคิดจะร่วมออกแบบใช้ทุ่นลอยน้ำกับการติดตั้งแผงรูปแบบใหม่จากการศึกษาของทีมวิจัย มทส. ด้วยการใช้ Data engineering มาต่อยอดให้เกิดโรงไฟฟ้านำร่องพลังงานแสงอาทิตย์รูปแบบใหม่ มีเป้าหมายเชิงรุกจัดการ ความต้องการพลังงานอย่างสอดคล้อง เพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจด้านเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์และบริการ พร้อมกันนี้ ยังมีการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง (Battery Energy Storage System: BESS) ชนิด Lithium ion Battery ขนาด 100 กิโลวัตต์ / 200 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ณ อาคารหอพักสุรนิเวศ และวางระบบโครงข่าย ไฟฟ้าอัจฉริยะในลักษณะ Block Chain รวมถึงการติดตั้งระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ควบคุมและติดตามผลการ ทำงานแบบ Real Time สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้บริหารจัดการในการเพิ่มความแม่นยำของประสิทธิภาพการ ผลิตไฟฟ้า ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ นับเป็นการร่วมมือที่จะวิจัยและพัฒนานวัตกรรมพลังงานทดแทนของไทยให้ ก้าวหน้ามากขึ้น โดยเป็นการดึงนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ทันสมัยมาบริหารทั้งระบบ ทั้ง AI, BESS ระบบซื้อขายไฟฟ้า อัจฉริยะ (Smart Energy Platform: SEP) นำไปสู่การสนับสนุนการวิจัยพลังงานทดแทนให้แก่นักศึกษาและ บุคลากรของมหาวิทยาลัย เป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจอื่น ๆ และจะก้าวไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีการวิจัย เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้าในอนาคต ”