เมื่อช่วงเย็นวันที่ 10 ก.ย.63 “ที่ลานริมเขื่อนศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร ต.มหาชัย” สมาชิกชาวเรือประมงในจังหวัด ประมาณ 200 คน นำโดย นายมงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงจังหวัดสมุทรสาคร และนายกำจร มงคลตรีลักษณ์ ประธานสมาคมประมงแห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีแถลงข่าวเพื่อแสดงจุดยืนในข้อเรียกร้องถึงให้รัฐบาล ทั้งนี้ตามที่เคยมีประกาศ ว่า จะช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่ชาวเรือประมง โดยมีการอ่านแถลงการณ์ข้อยื่นเรียกร้อง 7 ข้อ ดังนี้ 1. แก้ไขประกาศการแจ้งเรือเข้า-ออก และค่าธรรมเนียมระบบติดตามเรือ (VMS)
2. ขอให้รัฐบาลรับซื้อเรือประมง (ตามสัญญา) เพื่อเคยบอกไว้ว่า สามารถขายเรือให้กับรัฐที่ได้แจ้งความประสงค์ไว้ จำนวน 2,505 ลำเพื่อนำเรืออกนอกระบบ
3. ให้รัฐบาลเร่รัดการช่วยเหลือชาวเรือ ตามโครงการให้สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับชาวประมง โดยเร่งด่วน ผ่านมติ ครม.เมื่อวันที่ 26 พ.ค.2563
4. ขอให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการประมงทั้งหมด หยุดออกกฎหมายโหด กฎ ระเบียบ ที่ทีประกาศคำสั่งต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกรประกอบอาชีพ โดยมีออกมาเพิ่มเติมขึ้นอีก (ยกเว้นการออก กฎและระเบียบ ซึ่งเคยประกาศจะมีคำสั่งที่ผ่อนคลายปัญหาให้แก่ชาวประมง)
5. ขอเสนอแก้ไขกฎหมาย พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และและแก้ไขเพิ่มเติม โดยเร่งด่วน ในช่วงขณะที่กำลังมีการประชุมสภานิติบัญญัติอยู่นี้
6. ให้ยกเลิก แก้ไข กฎ ระเบียบตางๆ ที่เป็นปัญหาในทางปฏิบัติของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพราะมีผลกระทบกับชาวประมงที่เป็นอยู่โดยเร่งด่วน
และข้อที่ 7. ขอให้รัฐบาลสั่งยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียม กรณีที่อนุญาตเลี้ยงหอยแมลงภู่ในทะเล
นายมงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยว่า สำหรับชาวเรือประมงในพื้นที่ขณะนี้จำนวนมากต่างตัดสินกันประกาศขายเรือเพื่อทิ้งเพื่อเลิกอาชีพดังกล่าวกันแล้ว อย่างไรก็ตามขอเน้นย้ำว่า ในการนี้หากผลเรียกร้องไม่มีเสียงตอบรับกลับมาอีก “ซึ่งภายในวันที่ 18 กันยายน 63 นี้”จะมีการเคลื่อนไหวใหญ่ของชาวประมงทั่วประเทศ บุกเข้ากรุงเพื่อไปร้องเรียนทวงถามปัญหาดังกล่าวนี้ต่อไปแน่นอน
ด้านนายกำจร มงคลตรีลักษณ์ ประธานสมาคมการประมงแห่งแห่งประเทศไทย (อดีตนายกการประมงจังหวัดฯ) ระบุด้วยว่า หลังมีสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ยิ่งส่งผลกระทบหนักต่อภาคประมงทะเลด้านการประกอบอาชีพ และด้านการตลาด ต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก รวมทั้งผู้ประกอบการประมงทะเลหลายครัวเรือน ต้องประสบกับปัญหาที่หนักขึ้นกว่าเดิมอีก ดังนั้น เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบการเกี่ยวกับด้านประมง ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยทางคณะกรรมการบริหารสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ก็เคยมีมติเป็นเอกฉันท์ ได้นำเสนอ ผ่านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ แล้วเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการประมง ซึ่งมี 8 ข้อเรียกร้อง ดังนี้
1. ขอให้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือชาวประมงโดยการให้สินเชื่อชาวประมงโดยการให้สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับชาวประมง (Soft Loan) เป็นการเร่งด่วนโดยการผ่อนปรนเงื่อนไขและแนวทางการพิจารณาวงเงินสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการประมง โดยยกเว้นเงื่อนไข (เครดิตบูโร) ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม และขอให้เพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันของ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
2. ขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการซื้อเรือประมงออกนอกระบบคืนโดยเร็ว
3. ขอให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการประมงทั้งหมดพิจารณาผ่อนคลายกฎ ระเบียบ คำสั่งที่มีโทษรุนแรง เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชาวประมง
4. ขอให้ภาครัฐมีการประชาสัมพันธ์ให้กับแรงงานไทย ที่ว่างจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้มาทำงานในกิจการประมงทะเล จำนวน 5 หมื่นคน โดยค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
5. ขอให้ภาครัฐมีการเข้มงวดการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำจากต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันสินค้าประมงภายในประเทศมีราคาตกต่ำ
6.ขอให้รัฐบาลพิจารณายกเว้นภาษีเงินได้ของผู้ประกอบการประมงออกไป 1-2 ปี และหลังจากนั้นขอให้สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 85 ตามเดิม
7. ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการจัดตั้งกองทุนประมงโดยเร่งด่วน เพื่อใช้ในการบริหารจัดการประมงทะเล อีกทั้งดูแลเยียวยาเพื่อการปรับตัวและฟื้นฟูเศรษฐกิจของผู้ที่ได้รับผลกระทบ
และ 8.ขอให้รัฐพิจารณาทบทวนเพิ่มวันทำการประมงของเรือประมง ที่ได้รับจัดสรรใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาโควิดด้วย

