“สตาร์ทอัพ”เรียกร้องนายกฯผลักดัน 3 เรื่อง แก้ภาษี-ปรับกฎหมาย-เพิ่มการลงทุน หากต้องการฟื้นเศรษฐกิจผ่านกลไกสตาร์ทอัพ และเทคโนโลยี หากรู้แล้วไม่ทำ ระบุเมืองไทยจะย่ำอยู่กับที่ และอาจไม่มีโอกาสที่สอง รัฐบาลใช้เวลาหลายปีในการสร้างสตาร์ทอัพหน้าใหม่ ผ่านโครงการ Startup Thailand และกิจกรรมมากมาย ทำให้ประเทศไทยตื่นตัวเรื่องสตาร์ทอัพ มีผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี เพิ่มขึ้นมากมาย ซึ่งมีคนเก่ง และเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะทำให้ประเทศไทย มีแสงสว่างปลายอุโมงค์ มีศักยภาพการแข่งขันในระยะยาว แต่เมื่อเกิดภาวะโควิด-19 ต่อเนื่องมาถึงวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐกลับเมินเฉย ปล่อยให้สตาร์ทอัพต้องล้มหายตายจากไปต่อหน้าต่อตา ทั้งนี้ได้ยื่นเรื่องการแก้ไข 3 เรื่องสำคัญคือ 1.ภาษี 2.กฎหมาย3.การลงทุน ที่จะทำให้ประเทศไทยไปต่อได้ และ มีจุดแข็งในอนาคต แต่กลับไม่มีใครสนใจ ปล่อยให้ข้อเสนอขึ้นรา และสตาร์ทอัพหมดลมหายใจไปรายวัน เพราะไม่มีนักลงทุนอยากมาลงทุน ในขณะที่สิงค์โปร์ยังคงเปิดกว้างรับสตาร์ทอัพมีอนาคต ย้ายฐานไปสิงค์โปร์กันหมด ปัจจุบันมีสตาร์ทอัพไทยจำนวนไม่น้อย ต้องย้ายไปจดทะเบียนบริษัทที่ต่างประเทศเช่น สิงคโปร์ เพราะจะทำธุรกิจให้อยู่รอดก็ต้องเลือกทางที่ดีที่สุด ถ้ามีนักลงทุนสนใจจะชักชวนให้ไปจดทะเบียนที่สิงคโปร์ ซึ่งมีโอกาสการลงทุน การสนับสนุนจากรัฐ และได้ราคาที่ดีกว่า โดยหากรัฐบาลไทยสามารถแก้ไข ปรับเปลี่ยนกฎระเบียบและการสนับสนุนให้ดีขึ้น สตาร์ทอัพไทยจะได้ไม่ต้องย้ายไปต่างประเทศ จึงได้เวลาลงมือทำ วอนนายกฯขับเคลื่อนก่อนสายเกินไป รัฐต้องเลิกบอกว่า มีแล้ว ทำแล้ว ให้ไปถามบีโอไอ แต่รัฐต้องขับเคลื่อนจริงจังเทียบสิงคโปร์ และต้องทำดีกว่าถึงจะสำเร็จ ซึ่งความหวังต้องฝากไว้ที่นายกรัฐมนตรี และนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจว่าจะดำเนินการได้รวดเร็วเพียงใด 1.มาตรการภาษีข้อเสนอต่างๆมีดังต่อไปนี้ 1.1 กฎหมายภาษีที่เรียกเก็บภาษีจาก Service ต่างประเทศ และลดภาษีของ Startup Service ในประเทศเพื่อป้องกันตลาด ตัวอย่าง: เก็บภาษี กับ Platform ต่างประเทศเช่น Alibaba และลดภาษีให้กับ Startup ไทยในเรื่องของ VAT (อาจดำเนินการผ่าน BOI) ถ้าไม่สามารถเก็บจาก platform ต่างประเทศได้ ก็ต้องงดเว้น Platform ของไทยเพื่อให้อัตราการแข่งขันเท่ากัน หลักการคือ บริษัทที่จะบันทึกค่าใช้จ่ายทางบัญชีจากสตาร์ทอัพต่างประเทศได้นั้นต้องบังคับให้จดทะเบียนในประเทศไทย และจ่ายภาษีให้กับประเทศไทย เหตุผลคือ สตาร์ทอัพไทย และบริษัทไทยจะแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างไรในเมื่อบริการจากสตาร์ทอัพ และบริษัทด้านเทคโนโลยีจากต่างประเทศไม่จ่ายภาษีในประเทศไทย ในขณะที่ประเทศไทยต้องจ่ายภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย นอกจากนี้ข้อมูลการใช้งานในประเทศ ยังรั่วไหลไปต่างประเทศอีกด้วย 1.2 การใช้บริการสตาร์ทอัพไทย รัฐต้องออกมาตรการเอาไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า หลักการคือ รัฐต้องส่งเสริมด้านตลาดให้กับสตาร์ทอัพ เพราะจะนำมาซึ่งการจ้างงาน และเศรษฐกิจหมุนเวียน คำถามที่สำคัญ ปัจจุบันทำไมภาครัฐเองไม่ใช้บริการสตาร์อัพไทย ทำไมไม่ส่งเสริมให้เอกชนใช้บริการสตาร์ทอัพ หากในประเทศมีมาตรการส่งเสริมให้ใช้บริการสตาร์ทอัพไทย จึงจะมีกำลังในการขยายไปยังตลาดที่ใหญ่ขึ้น นี่คือคำถามถึงนายกฯ การใช้บริการสตาร์ทอัพไทย(Startup Made in Thailand)เหตุผลเพื่อใช้เป็นสิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ กระตุ้นให้เกิดบริการของธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยจะทำให้สตาร์อัพจะอยู่รอดได้กว่า 10,000 บริษัท นำมาซึ่งการจ้างงานกว่า 200,000 อัตรา และเป็นการต่อยอดเทคโนโลยี และธุรกิจแห่งอนาคต 1.3 ออกกฎหมาย ให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้จากส่วนต่างการขายหุ้น หรือ Capital Gain เป็นเวลานาน 5-10 ปี เพื่อจูงใจให้นักลงทุนไทยและต่างประเทศเข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพมากขึ้น หลักการคือ ที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้สิทธิพิเศษทางภาษีกับสตาร์ทอัพ โดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี และยกเว้นภาษีเงินได้ของกองทุนร่วมทุน (VC) เป็นเวลา 10 ปี เหตุผลคือ โดยธรรมชาติของธุรกิจเกิดใหม่ การดำเนินการในช่วง 1-2 ปีแรกจะมีผลขาดทุน ทำให้เจ้าของกิจการไม่ได้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์จากภาษีนี้เต็มที่มากนัก ซึ่งการเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษี Capital Gain Tax Free จะทำให้เจ้าของกิจการรวมถึงผู้ร่วมลงทุนได้รับประโยชน์จากภาษีมากขึ้น เป็นการดึงดูดนักลงทุน VC ให้มาลงทุนกับสตาร์ทอัพในประเทศไทย 1.4 เพิ่มสิทธิการลดหย่อนภาษีนักลงทุน หลักการคือ เพิ่มสิทธิการลดหย่อนภาษีสำหรับนักลงทุนAngel Investorเหตุผลสำหรับนักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา (Angel Investor) หากมีการเพิ่มสิทธิในการลดหย่อนภาษีจากเงินที่ลงทุนกับบริษัทสตาร์ทอัพได้สิ่งที่ค่าดว่าจะได้รับเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อจำนวนบริษัทสตาร์ทอัพในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน 2.กฎหมายข้อเสนอต่างๆมีดังต่อไปนี้ 2.1 กฎหมายธุรกิจไทยไม่เอื้ออำนวยในการเติบโตของ สตาร์ทอัพ หลักการคือ Convertible Debtหรือหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นเครื่องมือที่นักลงทุนในต่างประเทศใช้อย่างแพร่หลายในการลงทุนกับธุรกิจสตาร์ทอัพที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น (Earlystage) เหตุผลเพราะเป็นรูปแบบของการลงทุนที่ลดทอนความเสี่ยงของนักลงทุนในขณะที่ธุรกิจยังอยู่ในช่วงค้นหารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมประเทศไทยควรอนุญาตให้มี convertible debt กับบริษัททั่วๆไปที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ผลทีค่าดว่าจะได้รับหากมีการกำหนดกฎหมายและการจัดการที่เหมาะสมจะทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านดิจิทัลเกิดในประเทศไทยได้ง่ายและมีจำนวนมากขึ้นนักลงทุนเพิ่มขึ้นสตาร์ทอัพไทยก็เกิดมากขึ้น 2.2 Liquidity Preference หลักการคือ ถ้าบริษัทล้มละลาย นักลงทุนจะได้เงินคืน ซึ่งเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์เท่านั้นที่นักลงทุนจึงจะสามารถทำได้ เหตุผลคือ ลดความเสี่ยงของนักลงทุนผลที่คาดว่าจะได้รับพิ่มการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในไทยมากขึ้น 2.3 Employee Stock Option Plan หลักการคือ สำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพแล้ว สิ่งหนึ่งที่ถูกใช้เป็นอุปกรณ์ดึงดูดพนักงานให้เข้ามาทำงานด้วย แทนที่จะไปทำงานกับบริษัทใหญ่ก็คือหุ้นของบริษัท และรูปแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศคือ Employee Stock Option Plan หรือการให้สิทธิในการซื้อหุ้นในราคาคงที่กับพนักงาน ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดในเรื่องนี้อย่างชัดเจน หากมีส่วนนี้จะทำให้สตาร์ทอัพเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากขึ้นสำหรับตลาดแรงงาน เหตุผลคือ สร้างแรงจูงใจให้พนักงานมาทำงานกับบริษัทสตาร์ทอัพ เพราะสตาร์ทอัพเป็นธุรกิจที่เติบโตได้ด้วยทีมงานที่มีคุณภาพ การดึงดูดคนที่มีความสามารถมาทำงานด้วย จึงเป็นสิ่งสำคัญผลที่คาดว่าจะได้รับคือ ทรัพยากรหลักของสตาร์ทอัพคือ บุคลากร ทำให้สตาร์ทอัพไทยเติบโตยั่งยืนมากขึ้น 2.4 ปรับปรุงกฎหมายด้านElectronic Paymentให้เปิดกว้างมากขึ้น หลักการคือ E-Payment เป็นระบบที่เป็นตัวเร่งในการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลในประเทศไทยให้เติบโตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เหตุผลคือ ปัจจุบันเงื่อนไขในการนำระบบ Electronic Paymentมาใช้กับธุรกิจยังคงมีข้อจำกัดบางอย่างอยู่เช่น ค่า License จากธนาคารแห่งชาติมีอัตราสูงมาก หรือการจำกัดสิทธิการใช้ระบบ E-Payment เอาไว้เฉพาะนิติบุคคลเท่านั้น ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ หากมีการปรับเปลี่ยนจะเป็นการเพิ่มจำนวนธุรกิจออนไลน์ให้เพิ่มขึ้น 3.การลงทุนข้อเสนอต่างๆมีดังต่อไปนี้ 3.1แหล่งทุนหรือเงินกู้สำหรับสตาร์ทอัพ หลักการคือ รูปแบบการปล่อยสินเชื่อในปัจจุบันผ่านกลไกธนาคารยังไม่เหมาะสมกับธรรมชาติของบริษัทสตาร์ทอัพทางเทคโนโลยีนักเช่น การปล่อยผ่านธนาคารของรัฐที่ปัจจุบันแทบจะไม่มีเม็ดเงินไปสู่สตาร์ทอัพ รัฐควรทำ Matching Fund หากสตาร์ทอัพได้เงินสนับสนุนจากเอกชน รัฐควรร่วมลงทุนทันที ซึ่งปัจจุบัน เจ้าหน้าที่รัฐไม่กล้าปล่อยสินเชื่อให้สตาร์ทอัพ เพราะไม่ต้องการรับผิดชอบ ดังนั้นจึงมักเป็นการให้เปล่า และไม่กล้าสนับสนุนธุรกิจใหม่ที่มีความเสี่ยง เหตุผลคือ การสร้างแหล่งเงินทุนหรือเงินกู้ด้วยเงื่อนไขที่เหมาะสมกับสตาร์ทอัพจึงเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อช่องทางการเงินสามารถเข้าถึงได้สะดวกขึ้น ซึ่งประมาณการแหล่งเงินทุนธุรกิจสตาร์ทอัพในช่วงเริ่มตั้งบริษัท ประมาณ3ล้านบาท ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ อัตราการเกิดของธุรกิจสตาร์ทอัพจะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน 3.2 หลักเกณฑ์การส่งเสริม ของBOIในแง่รายได้และการลงทุน ยังไม่เหมาะสมกับธุรกิจสตาร์ทอัพ หลักการคือ ปัจจุบันเกณฑ์บางอย่างจากBOI ยังไม่เอื้ออำนวยนัก เช่น หลักเกณฑ์BOIมองว่าค่าจ้างพนักงานไม่นับเป็นส่วนของการลงทุน เป็นต้น และรัฐต้องออกไปเชิญบริษัทที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี เข้ามาอยู่ที่เมืองไทย เชิญสตาร์ทอัพที่มีอนาคตทั่วโลก มาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย สร้างงาน สร้างอนาคตให้กับแรงงานไทยรุ่นให!หม่ ไม่เพียงรอให้คนมาขอ แต่ไม่ยึดหยุ่นให้กับบริษัทต่างๆ ในขณะที่ต่างประเทศออกจากบ้านไปเชื้อเชิญบริษัทต่างๆมาลงทุนในประเทศ เหตุผลคือ ธุรกิจสตาร์ทอัพมีการลงทุนหลักเป็นการจ้างพนักงาน อีกทั้งในส่วนของรายได้เช่น รายได้จากการติดโฆษณา ไม่ได้รับการงดเว้นภาษี จึงทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านดิจิทัลไม่ถูกประเมินตรงตามความจริง ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ เกิดจำนวนบริษัทสตาร์ทอัพมากขึ้น มีความได้เปรียบในการแข่งขัน 3.3 กฎข้อบังคับการสนับสนุนการลงทุนยังไม่เหมาะกับธุรกิจสตาร์ทอัพ หลักการคือ การสนับสนุนการลงทุนไม่ปรับตามสภาพธุรกิจสตาร์ทอัพ เหตุผลคือ บริษัทสตาร์ทอัพ เริ่มจากการพัฒนาสินค้า แล้วทดลองออกสู่ตลาดเพื่อปรับปรุงให้สินค้าและบริการดีขึ้นเรื่อยๆ แล้วลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งต่างจากกฎข้อบังคับของBOIที่จำเป็นต้อง สนับสนุนเฉพาะ สินค้าและบริการที่ยังไม่เคยออกไปสู่ตลาด ทำให้โดยปกติบริษัทสตาร์ทอัพจะขอรับการสนับสนุนการลงทุนได้ยาก ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ สตาร์ทอัพได้รับการสนับสนุนในการลดภาษีนิติบุคคล8ปีมากขึ้น 3.4 มาตรการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลกรณีศึกษา หลักการคือ สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีการสร้างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอย่างจริงจังจนเป็นวาระแห่งชาติอย่างหนึ่ง เหตุเพราะสิงคโปร์มองเห็นความสำคัญอย่างชัดเจนแล้วว่าบริษัทสตาร์ทอัพมีโอกาสในการเติบโตและกลายเป็นบริษัทที่มีศักยภาพระดับโลกภายในเวลาอันสั้นเช่น เฟซบุ๊ก กูเกิล หรือไลน์ ซึ่งจะสร้างงานและเม็ดเงินมหาศาลให้กับประเทศ เหตุผลคือ จุดเด่นอย่างหนึ่งของการสนับสนุนของรัฐบาลสิงคโปร์คือโครงการ i.JAM ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีที่เปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลยื่นขอรับทุนให้เปล่ามูลค่า 50,000 เหรียญสิงคโปร์และการสนับสนุนบ่มเพาะจากผู้เชี่ยวชาญ (ซึ่งรัฐบาลให้ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจภาคเอกชนที่เชี่ยวชาญด้านสตาร์ทอัพเข้ามามีส่วนร่วม) และหากธุรกิจเติบโตได้ตาม KPI ที่กำหนดก็สามารถสมัครรับทุนจาก i.JAM เพิ่มได้อีก 100,000 เหรียญสิงคโปร์ด้วยสิ่งที่คาดว่าจะได้รับ ดังนั้นหากประเทศไทยมีโครงการสร้างเสริมผู้ประกอบการสตาร์ทอัพอย่างจริงจังในลักษณะเดียวกับ i.JAM ได้ ธุรกิจสตาร์ทอัพทางเทคโนโลยีของไทยจะเพิ่มจำนวนและคุณภาพมากขึ้นอย่างรวดเร็ว 3.5 การสร้างความร่วมมือกับ Incubator ต่างชาติมาสนับสนุนสตาร์ทอัพในไทย หลักการคือ สตาร์ทอัพยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย ดังนั้นการสนับสนุนส่งเสริมหรือให้ความรู้เพื่อก่อให้เกิดสตาร์ทอัพที่มีคุณภาพอาจทำได้ไม่เต็มที่นัก เหตุผลคือ ดังนั้นการเชื้อเชิญให้นักลงทุนและศูนย์เพาะบ่มธุรกิจระดับโลกจากต่างประเทศโดยเฉพาะซิลิคอนวัลเลย์ เมืองหลวงเทคโนโลยีของโลกเข้ามามีบทบาทร่วมสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยจึงเป็นสิ่งสำคัญ กรณีศึกษาที่น่าสนใจ เช่น สิงคโปร์ร่วมลงทุนกับ 500 Startups บริษัทบ่มเพาะสตาร์ทอัพอันดับต้นๆของโลก มาเลเซียลงเงินสนับสนุนให้กับ Startup Weekends โครงการสร้างสตาร์ทอัพที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก เป็นต้น ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ การสนับสนุนด้านนี้จะทำให้สตาร์ทอัพของไทยมีคุณภาพทัดเทียมต่างประเทศ มีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างมาก 3.6 อาจจะสร้างเขตพื้นที่พิเศษสำหรับสตาร์ทอัพ หลักการคือ ในกรณีที่การปรับเปลี่ยนในวงกว้างเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลามาก ภาครัฐอาจใช้วิธีการจัดอาณาเขตหรืออาคารพิเศษเพื่อให้ผู้ประกอบการได้แลกเปลี่ยน บรรยากาศในระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ และปัจจัยสนับสนุนต่างๆในระบบควรเอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบการทั้งที่มีอยู่แล้ว และผู้ประกอบการหน้าใหม่ ตลอดจนผู้ที่สนใจในการเริ่มต้นกิจการสตาร์ทอัพใหม่ๆ ในอนาคต(potential founders) สามารถเกิดขึ้นและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในแง่ของการพิจารณาแนวทางการสนับสนุนต่างๆ และเป็นแนวทางในการส่งเสริมจุดแข็ง และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดต่อไป