ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขที่สามารถแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ 1.ผลงานการออกแบบอนุภาคนาโนเพื่อการประยุกต์ในด้านการแพทย์ระดับนาโน 2.ตำรากระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ และ 3.การพัฒนาหน่วยศึกษาวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพในสัตว์ทดลองตามหลักการ OECD GLP 27 ส.ค.2563 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 28 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้คัดเลือกผลงานวิชาการเพื่อมอบรางวัล DMSc Award ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และนักวิจัยมีเวทีส่งผลงานเข้าประกวด โดยมีผลงานชนะเลิศทั้งหมด 3 รางวัล ได้แก่ 1.ประเภทงานวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2.ประเภทหนังสือและตำราทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ 3.ประเภทการพัฒนาบริการหรือพัฒนาคุณภาพบริการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยในปีนี้โดยปีนี้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดให้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิจัยและวิชาการเป็นผู้แทนพระองค์ มอบรางวัลดังกล่าว 1.รางวัลประเภทงานวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ รองศาสตรจารย์ ดร.ธีระพงษ์ พวงมะลิ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากผลงานการออกแบบอนุภาคนาโนเพื่อการประยุกต์ในด้านการแพทย์ระดับนาโน (Designing Nanoparticles for Applications in Nanamedicine) โดยงานวิจัยได้ศึกษากลไกต่างๆ ที่เกิดขึ้นระดับโมเลกุลด้วยการจำลองเชิงคอมพิวเตอร์ทำให้เข้าใจกลไกการตรวจับโมเลกุล 8-oxo-dG ได้อย่างลึกซึ้ง โดยสามารถตรวจวัดโมเลกุลเป้าหมาย ที่มีความเข้มข้นต่ำๆ ได้ (ในระดับ nM) และสามารถตรวจวัดได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ (น้อยกว่า 30 นาที) รวมทั้งมีราคาถูก สามารถต่อยอดไปสู่การประดิษฐ์ชุดตรวจแบบพกพาที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ 2.รางวัลประเภทหนังสือและตำราทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ นพ.อาศิส อุนนะนันทน์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ตำรากระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ เป็นหนังสือเล่มแรกของประเทศไทยที่ได้รวบรวมเนื้อหาจำเพาะเกี่ยวกับเรื่องกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ โดยมุ่งเน้นการดูแลอย่างเป็นองค์รวมและให้การรักษาสาเหตุของการเกิดกระดูกข้อสะโพกหัก ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ 3.รางวัลประเภทการพัฒนาบริการหรือพัฒนาคุณภาพบริการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ดร.ภัสสราภรณ์ ศรีมังกรแก้ว ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการพัฒนาหน่วยศึกษาวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพในสัตว์ทดลองตามหลักการ OECD GLP (The Development of Laboratory Animal Testing Facility for Health Product in Compliance with OECD GLP Principles) โดยได้มีการพัฒนาหน่วยศึกษาวิจัย/พัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพในสัตว์ทดลองตามหลักการสำหรับการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารและความปลอดภัยต่อมนุษย์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม(OECD GLP) ซึ่งจากการพัฒนาทำให้ศูนย์ฯ ได้รับการรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยศึกษาวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข ในขอบข่ายการทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองเป็นแห่งแรกในประเทศไทย