จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่สวยงาม จนได้รับสมญานามว่า “สวิสเซอร์แลนด์เมืองไทย”และยังมีความโดเด่นทางวัฒนธรรม อันเป็นอัตลักษณ์ที่เกิดจากความหลายหลายของชาติพันธ์ มีชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่จำนวนมาก ประชาชนมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว และยังมีโครงการในพระราชดำริและโครงการอันเนื่องจากพระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โครงการเหล่านี้เกิดจากการที่ทั้ง 2 พระองค์รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จไปเยี่ยมพสกนิกรที่เป็นชาวไทยภูเอยู่หลายครั้งและพบว่าชาวไทยภูเขา ประสบปัญหาในการประกอบอาชีพทำการเกษตรโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการตามพระราชดำริที่มีอยู่มากมายหลายแหล่งนี้นอกจากช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องการประกอบอาชีพของประชาชนแล้วยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความน่าสนใจอีกด้วย นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์  ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า “จังหวัดแม่ฮ่องสอนและประชาชน เป็นคนที่โชคดีและมีบุญที่พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ได้เสด็จมาเริ่มจาก สมเด็จย่าทรงพระเสด็จมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2511และเมื่อปี พ.ศ.2522-2526 ทั้งสองพระองค์รวมถึงในหลวงรัชกาลที่ 10 ได้เสด็จมาแม่ฮ่องสอนและทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ที่ต้องจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อที่จะให้ประชาชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีอาชีพเสริมและมีอาชีพที่มั่นคง ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ในปี พ.ศ.2523ได้ตั้ง ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย(ท่าโป่งแดง) ตามแนวพระราชดำริ เป็นศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรกรรมแบบครบวงจร และที่ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตองตามพระราชดำริ หรือเรียกสั้นๆว่าศูนย์ปางตองเป็นศูนย์ในพื้นที่สูงที่บ้านรวมไทย ซึ่งห่างจากชายแดน 16 กิโลเมตร ศูนย์ปางตองเราเรียกว่า “บ้านของพ่อ”ในศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ที่หายากใกล้สูญพันธ์เช่นกบภูเขา พระบรมราชชนนีพันปีหลวงท่านให้เพาะพันธุ์กบภูเขาซึ่งเป็นที่นิยมรับประทาน และเพาะพันธุ์ลูกกบปล่อยพื้นที่ป่าเขาซึ่งเป็นพื้นที่ที่กบสามารถเติบโตได้เองตามธรรมชาติ และมีการเลี้ยงแกะเพื่อส่งเสริมอาชีพ นำขนแกะมาทอ มีการปลูกกล้วยไม้มีการศึกษาการเลี้ยงปลาสเตอร์เจียน ปลูกไผ่ และในจังหวัดแม่ฮ่องสอนยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรัสอีกมากมายเช่นศูนย์หม่อนไหม ธนาคารข้าว Food Bank และยังมี ศูนย์ศิลปาชีพ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในพระบรมราชินูปถัมภ์เป็นการส่งเสริมอาชีพ อนุรักษ์และพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ และได้นำสินค้าที่ได้รับการพัฒนาแล้วไปจำหน่ายที่ศูนย์ศิลปาชีพในพระราชวังสวนจิตรลดา” "สำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้น ตามที่สมเด็จพระบรมราชชนนีพระพันปีหลวงได้ทอดพระเนตรเห็นถึงความสมบรูณ์ของป่าไม้ในเขตอำเภอเมือง อำเภอปายและอำเภอปางมะผ้าแล้ว พระองค์ได้พระราชทานนามป่าไม้ผืนนี้ว่า “ป่าสักนวมินทร์พระราชินี” เป็นป่าไม้ที่ประชาชนชาวแม่ฮ่องสอนภาคภูมิใจ ในส่วนของจังหวัดก็ส่งเสริมอาชีพตามพระราชดำริของทุกพระองค์ และได้จัดตั้งโครงการงบประมาณสนับสนุน เรื่องคนอยู่กับป่า และการทำ ป่า 3อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ส่งเสริมการปลูกป่าไม้ การปลูกกาแฟที่สามารถปลุกในร่มไม้ใหญ่และกำลังสนับสนุนพืชใต้ดินอย่างเช่นบุกหรือมัน ในส่วนพื้นที่ที่เรียกว่าสวิสเซอร์แลนด์เมืองไทย นั้นอยู่เลยศูนย์ปางตองในพระราชดำริ ขึ้นไปไม่ไกล เป็นพื้นที่ที่มีภูมิประเทศที่สวยงาม มีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก พระองค์ท่านได้ให้พัฒนาอ่างเก็บน้ำให้มีขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรและเป็นที่พักผ่อน สถานที่นี้ที่เราเรียกว่า ปางอุ๋ง ในอดีตปางอุ๋งเป็นสถานที่ที่เดินทางเข้าไปลำบากมาก พระองค์ท่านต้องเดินทางด้วยม้า แต่ในปัจจุบันได้พัฒนาถนนให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น ปางอุ๋งเป็นสถานที่ ที่มีภูมิประเทศที่สวยงาม มีอ่างน้ำขนาดใหญ่และมีต้นสนเมืองหนาวขนาดใหญ่ มีความสวยงามจนได้รับสมญานามว่า สวิสเซอร์แลนด์เมืองไทยขอเชิญชวนทุกท่านได้เข้ามาเที่ยว และพักแรมที่ปางอุ๋ง ท่านจะได้พบบรรยากาศที่เหมือนสวิสเซอร์แลนด์ แต่อยู่ในเมืองไทยครับ ในด้านการพัฒนาชาวไทยภูเขาที่อยู่ในพื้นที่สูงตามแนวชายแดนนั้นก็พัฒนาตามแนวทางพระราชดำริ ก่อตั้งหมู่บ้านยามและส่งเสริมอาชีพ จัดให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อให้ประชาชนมีความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ" “ประชาชนชาวแม่ฮ่องสอนทุกคน สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของทุกพระองค์ และพร้อมกันน้อมนำแนวพระราชดำริและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และพระบรมราชนนีพันปีหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ได้ทรงสืบสาน รักษาและต่อยอด ประชาชนชาวแม่ฮ่องสอนพร้อมกันน้อมแนวทางพระราชดำริและพระราชดำรัสนำมาใช้ปฏิบัติและยึดถือเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตโดยเฉพาะแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยากให้ความสุขและความพอเพียงของการใช้ชีวิตของชาวแม่ฮ่องสอนเป็นตัวอย่างของการใช้ชีวิตที่มีความสุขของคนในประเทศ” โครงการตามพระราชดำริและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรัส เป็นโครงการที่มีประโยชน์สร้างสุข สร้างความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชน ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้ดำเนินการขยายผลของโครงการตามพระราชดำริและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยสร้างการรับรู้และถ่ายทอดความรู้และการปฏิบัติผ่านปราชญ์ชาวบ้าน นายจรูญ จันทรตะกอง ปราชญ์เพื่อความมั่นคงบ้านต่อแพ นายจรูญ จันทรตะกอง ปราชญ์เพื่อความมั่นคงบ้านต่อแพ ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า “ หลังจาการที่ได้ไปอบรมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็ได้นำมาปรับใช้ในพื้นที่ของตัวเองปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ที่ใช้สารเคมีจนเกือบตาบอด ปรับมาทำการเกษตรตามทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง จัดแบ่งพื้นที่ให้เป็นที่อยู่อาศัย มีบ่อปลา ปลูกอะโวคาโด เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผักไว้กินและเมื่อเหลือก็นำไปขาย อะโวคาโด ซึ่งเป็นพืชเมืองหนาว เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ การปลูกอะโวคาโดที่จะทำให้ได้ผลดี ต้องเกิดการรวมกลุ่มของเกษตรที่รวมกันจำหน่ายผลผลิต จำหน่ายในราคาเดียวกันเพื่อป้องกันการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง" “ จากการได้เข้ารับการอบรมที่ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ทำให้มีความรู้เรื่องเตาชีวมวลและการทำน้ำส้มควันไม้ และได้มีการติดตั้งเตาชีวมวลภายในบริเวณบ้าน เตาชีวมวลเป็นเตาที่ประหยัดพลังงานและไม่ทำลายป่าไม้เพราะเราใช้เพียงกิ่งไม้เล็กๆในการเผาให้ได้ถ่านคุณภาพดีไว้ใช้และจำหน่าย และยังได้น้ำส้มควันไม้มาใช้ช่วยลดต้นทุนในการทำการเกษตร ลดการใช้สารเคมี สำหรับในกลุ่มถ้ามีผู้ใดมาใช้เตาชีวมวลจะไม่มีการเก็บสตางค์แต่อาจจะได้ส่วนแบ่งถ่านเพื่อนำมาเก็บไว้ในคลังของกลุ่ม เก็บไว้ให้กลุ่มจำหน่ายสร้างรายได้ สำหรับในกลุ่มสมาชิกก็จะมีการถ่ายทอด ความรู้และเคล็ดลับในการทำการเกษตร เทคนิคการใช้เตาชีวภาพและเทคนิคการกลั่นน้ำส้มควันไม้และการเก็บรักษา” “เคล็ดลับ ความสำเร็จของการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ คือการยึดมั่นในหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำเท่าที่ทำได้ไม่ก่อหนี้ ทำตามกำลังของตนเอง และยังต้องวางแผนทั้งในเรื่องการผลิตและการจำหน่าย สำหรับไม้ผลที่ปลูกเป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้ให้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน ไม้ผลเปรียบเสมือนบำนาญของเรา” ศาสตร์ทุกแขนงมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิต ศาสตร์พระราชาเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงถือเป็นความรู้ที่สำคัญ เป็นหลักในการดำรงชีวิตที่ทำให้ความสุข มีความอยู่ดีกินดี เกิด ความสงบให้กับสังคมส่วนร่วมและประเทศที่โรงเรียนบ้านคลองเรือ ตำบลเทพนคร อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร เป็นโรงเรียนต้นแบบความพอเพียง ภายในโรงเรียนจะจัดให้มีพื้นที่การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนและผู้ปกครองได้เข้ามาเรียนรู้ไปด้วยกัน เน้นทำง่าย ดูแลง่าย ใช้ประโยชน์ด้วยกัน เน้นความพอเพียง พออยู่พอกินพอใช้ในครัวเรือน  นายประจักสิน บึงมุม นายประจักสิน บึงมุม ผู้อำนวยการบ้านคลองเรือ ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชรกล่าวว่า “โรงเรียนบ้านคลองเรือเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้น้อมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้ในโรงเรียน นำมาเป็นแนวทางในการทำการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ทักษะในการประกอบอาชีพ ตลอดจนผู้ปกครองจะได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับจาฐานเรียนรู้ที่โรงเรียน นำกลับไปใช้ในครอบครัว สามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือนและชุมชน ในระยะแรกมีการปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับฐานกิจกรรมเพื่อให้ครูและนักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน และนำมาสู่การปฏิบัติโดยการลงฐานเรียนรู้ ปลูกผักอินทรีย์ เลี้ยงสัตว์ ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชน ผลผลิตที่ได้จะนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันและถ้าเหลือก็จำหน่ายในชุมชน” “ผลที่ได้รับจากการปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกิดการเรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงทำให้เกิดเด็กนักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และทำให้เด็กๆได้ซึมซับความรู้และแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปอย่างไม่รู้ตัว การรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมกันทำกิจกรรมทำให้เกิดความรักความสามัคคี สร้างสังคมที่มีแต่ความสุขและความสงบ” หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถปรับใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่เช่นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือศูนย์การเรียนรู้ของปราชญ์ชาวบ้านหรือแม้แต่พื้นที่เล็กๆในโรงเรียน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือหลักที่ทำให้ชีวิตมีความสุข ประชาชนอยู่ดีกินดี เสริมสร้างความสามัคคีในชุมชน สร้างความสงบสุขให้สังคมและประเทศ ขอขอบคุณข้อมูลจากรายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง5 ทุกวันพุธและวันพฤหัสบดี เวลา 21.00-22.00 น.