หลังจากการเกิดปัญหาสถานการณ์ Covid 19 ที่ผ่านหลายสถานประกอบการได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาของพนักงาน และที่สำคัญที่สุด คือปัญหาความั่นใจของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เราได้ยินชื่อของ "แพทย์อาชีวศาสตร์" (Occupational Physician) มากขึ้น หลายสถานประกอบได้ใช้ "แพทย์อาชีวศาสตร์" เข้าไปตรวจสอบความปลอดภัย เพื่อเพิ่มความไว้วางใจแก่ผู้บริโภค ถึงมาตรฐานการรับรองทางด้านสุขภาพ และรับรองการปลอดเชื้อโรค โดยทางโรงพยาบาลพญาไท 2 ความหมายของ "อาชีวศาสตร์" จริง ๆ แล้ว "แพทย์อาชีวศาสตร์" (Occupational Physician) คือการแพทย์อีกแขนงหนึ่ง ที่ศึกษาต่อ จากคณะแพทยศาสตร์ 6 ปี โดยใช้เวลา 3 ปี ในหลักสูตร ของปริญญาโท เกี่ยวกับอาชีวเวชศาสตร์ อาชีวอนามัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Hygiene) ในหลักสูตรก็เรียนเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในการวัดสิ่งแวดล้อม เช่น แสง เสียง ความร้อน ฝุ่น การระบายอากาศ รวมถึงการไหลเวียนของอากาศทั้งหมด ต่อมาได้เรียนเกี่ยวกับด้านความปลอดภัย (Safety) เช่น ระบบการหนีไฟ ระบบการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน และรวมไปถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในสถานประกอบแห่งนั้น "แพทย์อาชีวศาสตร์" (Occupational Physician) จะมุ่งเน้นในเรื่องของการดูแล “คน” เป็นหลัก อย่างเช่น กลุ่มคนทำงาน พนักงาน แรงงาน รวมไปถึงการดูแลสถานประกอบการโรงงาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้น นิยามของคำว่า “หมอ+วิศวกร” อีกหนึ่งเหตุผลที่ผมเลือกเรียนสาขานี้ จริง ๆ แล้ว ผมเองมีความสนใจในด้านวิศวกรรม มีการใช้เครื่องมือ มีการไปโรงงาน ซึ่งสาขานี้ค่อนข้างที่จะตอบโจทย์ เพราะเมื่อจบสามารถไปทำงานได้หลายภาคส่วน แน่นอนอันดับแรก คือ ทำงานในโรงพยาบาล ได้ทั้งภาครัฐ และเอกชน และที่พิเศษกว่าแพทย์ด้านอื่น คือ เราสามารถเลือกที่จะลงในสถานประกอบการอื่น ๆ ได้ หรือที่เรียกกันว่า “หมอประจำโรงงาน” หน้าที่หลัก “หมอประจำโรงงาน” อย่างแรกเลย คือ การเดินสำรวจโรงงาน (Walkthrough survey) อันนี้คือสำคัญมาก เหมือนเป็นเครื่องของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ โดยหมอจะดูว่าโรงงานนั้น มีสิ่งคุกคาม หรือความเสี่ยง (hazard) อะไรที่เกิดขึ้นได้บ้าง อย่างเช่น โรงงานผลิตสารเคมี สารเคมีนั้นมีอะไรบ้าง และจะเกิดผลกระทบอะไรต่อพนักงานอย่างไรบ้าง หมอประจำโรงงาน นี่แหละจะเป็นผู้ออกแบบแผนการตรวจสุขภาพให้แก่พนักงาน รวมถึงดูแลระบบเกี่ยวกับความความปลอดภัยทั้งหมดในสถานประกอบการนั้น รวมถึงการประเมิน Fit for work คือการตรวจความพร้อมของพนักงานก่อนเข้าทำงาน โดยมีการประเมินความเสี่ยง และกำหนดการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงที่มี ถ้ามีแพทย์อาชีวศาสตร์ประจำสถานประกอบการแล้ว จำเป็นไหม ที่ต้องมีแพทย์อาชีวศาสตร์ในโรงพยาบาล ถ้าถามว่าจำเป็นไหม ผมคิดว่าจำเป็น เพราะว่าหมอประจำสถานประกอบการมีหน้าที่เปรียบเสมือนการป้องกันอันตราย อุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับพนักงาน แต่ถ้าเป็นในส่วนของตรวจวินิฉัย การดูแลรักษาโรคของพนักงาน เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี อาจจะต้องใช้แพทย์อาชีวศาสตร์ของทางโรงพยาบาลร่วมด้วย เนื่องจากอุปกรณ์ในการตรวจ เครื่องมือ ผลแลป รวมไปถึงทีมพยาบาลในการช่วยเหลือ ซึ่งถ้าทางสถานประกอบการเลือกใช้โรงพยาบาลที่มีแพทย์อาชีวศาสตร์ด้วย ก็จะสามารถดำเนินการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ในสถานการณ์ New normal แบบนี้ แพทย์อาชีวศาสตร์ ถึงเป็นที่รู้จักมากขึ้น อย่างที่กล่าวไปข้างต้น คือหลังจากสถานการณ์ Covid 19 สู่สถานการณ์ New normal ทุกคนค่อนข้างต้องการความมั่นใจในส่วนของความปลอดภัยมากขึ้น ผมยกตัวอย่าง เคสนึงที่ร่วมกับทางโรงพยาบาลพญาไท เช่น โรงแรม โรงเรียน หมู่บ้าน ที่ต้องการใบรับรองผ่านมาตรฐาน การรับรองทางด้านสุขภาพ รับปลอดเชื้อโรค สามารถมาติดต่อกับทางโรงพยาบาลพญาไท 2 เพราะตอนนี้มีที่เดียวในประเทศไทย โดยทางโรงพยาบาลพญาไท 2 มีการประเมินอยู่ 3 อย่าง คือ 1.IC (Infection control) การควบคุมการติดเชื้อ โดยจะมีทีมของทางโรงพยาบาลพญาไท 2 ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เข้าไปตรวจสอบใช่มาตรฐานการประเมินเดียวกับโรงพยาบาลแก่สถานประกอบนั้น 2.Safety ทางด้านความปลอดภัย เช่น ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน 3.Health ทางด้านสุขภาพ ทางโรงพยาบาลพญาไท 2 จะมีทีมเข้าไป เพื่อประเมินสุขภาพของพนักงานในสถานประกอบการ การกลับเข้ามาสู่ยุค New normal แน่นอนว่าหลาย สถานประกอบอาจเกิดกระทบที่ค่อนข้างหนัก โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจ ที่มีการอยู่รวมกันของคนหมู่มาก แต่เมื่อสถานประกอบการมีใบรับรองผ่านมาตรฐานก็ว่าได้รับมาตรฐานการปลอดเชื้อเดียวกับที่ทางโรงพยาบาลใช้ จะสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้ามากขึ้น