“รวดเร็ว เรียบง่าย ใช้เหตุผล ทำงานเป็นทีมอย่างมืออาชีพ”...แขวงทางหลวงชนบทหนองคาย รับการตรวจติดตามจากคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดหนองคาย
วันที่ 17 สิงหาคม 2563 นายบุญธรรม ดีหมั่น รองประธานคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดหนองคาย นำคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดหนองคาย ร่วมลงพื้นที่สอดส่องโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของจังหวัดหนองคาย ประจำปีงบประมาณ 2563 (โครงการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งและการท่องเที่ยว) กิจกรรมปรับปรุงบูรณะถนนลาดยางผิวทางพาราแอสฟัลท์คอนกรีต (โดยวิธี Pavement In-Place Recyling) สายโนนศิลา-บ้านโพธิ์ตาก โดย นายบุญเลิศ สาฝ่าย วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ (ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทหนองคาย) มอบหมายให้เจ้าหน้าที่แขวงทางหลวงชนบทหนองคาย นำคณะตรวจสอบโครงการฯ พร้อมให้รายละเอียดอย่างครบถ้วน
สำหรับ โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของจังหวัดหนองคาย ประจำปีงบประมาณ 2563 (โครงการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งและการท่องเที่ยว) กิจกรรมปรับปรุงบูรณะถนนลาดยางผิวทางพาราแอสฟัลท์คอนกรีต (โดยวิธี Pavement In-Place Recyling) สายโนนศิลา-บ้านโพธิ์ตาก
ลักษณะโครงการ เป็นการปรับปรุงบูรณะถนนลาดยางผิวทางพาราแอสฟัลท์คอนกรีต (โดยวิธี Pavement In-Place Recyling) ขุดกัดชั้นโครงสร้างทางที่มีความลึกไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร
ช่วงที่ 1 กม.ที่ 10+700 ถึง กม.ที่ 11+400 ระยะทาง 0.700 กม. ผิวจราจรกว้าง 6.00 ม.ไหล่ทางกว้างข้างละ 1.00 ม.
ช่วงที่ 2 กม.ที่ 13+250 ถึง กม.ที่ 13+850 ระยะทาง 0.600 กม. ผิวจราจรกว้าง 6.00 ม. ไหล่ทางกว้างข้างละ 1.00 ม.
ช่วงที่ 3 กม.ที่ 15+385 ถึง กม.ที่ 16+000 ระยะทาง 0.615 กม. ผิวจราจรกว้าง 6.00 ม. ไหล่ทางกว้างข้างละ 1.00 ม. มีระยะเวลาดำเนินการ 100 วัน
ด้านประชาชนในพื้นที่ได้บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่แขวงทางหลวงชนบทหนองคาย ที่เข้ามาดำเนินการปรับปรุงถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบในทันทีเมื่อเกิดชำรุดหรือเกิดความไม่ปลอดภัยของผู้ใช้ทาง ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่ทำงานอย่างรวดเร็วเมื่อประชาชนแจ้งความเดือดร้อน
สำหรับแขวงทางหลวงชนบทหนองคายมีวิสัยทัศน์ คือเชื่อมโยงโครงข่ายถนน ระหว่างทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงท้องถิ่น ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ สถานีรถโดยสารเขตเศรษฐกิจพิเศษ และโครงการพระราชดำริเข้าด้วยกัน ได้ครบถ้วน ภายในปี พ.ศ. 2579และมีพันธกิจ คือ 1.พัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่ง การสัญจร การท่องเที่ยว การพัฒนาชายแดน การพัฒนาเมือง การแก้ไขปัญหาจราจรด้วยการสร้างทางต่อเชื่อม (Missing Link) ทางเลี่ยง (By Pass) และทางลัด (Shortcut)
2.พัฒนาเส้นทางให้สนองตอบระบบโลจิสติกส์
3.บำรุงรักษาและอำนวยความปลอดภัยให้โครงข่ายทางหลวงชนบทอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและได้มาตรฐาน
4.ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีระบบจัดการทางหลวงท้องถิ่นที่ถูกต้อง ได้มาตรฐาน และบุคลากรมีความรู้ด้านงานทาง สามารถจัดการวางแผน สำรวจออกแบบและซ่อมบำรุงได้
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์กรมทางหลวงชนบท ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาโครงข่ายชนบทเข้าสู่พื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง มีมาตรฐานและใช้งานอย่างปลอดภัย พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนทางหลวงท้องถิ่น เพื่อความมั่นคงของประเทศ (Stability)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : เชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงชนบท เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของประเทศ (Prosperity)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : บำรุงรักษาและเพิ่มคุณค่าโครงข่ายทางหลวงชนบท เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน (Sustainability)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : พัฒนาองค์กร เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงที่ยึดมั่นในหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี(High Performance Organization).





