เมื่อพูดถึงการแพ้อาหาร โดยส่วนใหญ่มักนึกถึงอาการคันมีผื่นขึ้นตามตัว หายใจไม่ออก บวมที่ใบหน้า คลื่นไส้ อาเจียน อาการแพ้ดังกล่าวนี้เรียกว่า การแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน ร่างกายจะสร้างภูมิ หรือ แอนติบอดี (antibody) ชนิด Immunoglobulin E (IgE) ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับอาหารที่แพ้อย่างรุนแรง แต่หากพูดถึงการแพ้อาหารชนิด “แฝง” จะมีความแตกต่างออกไปจากการแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จาก Addlife Check-Up Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้ให้ข้อมูลเรื่องภูมิแพ้อาหารว่า ภูมิแพ้อาหารแบบแฝงหรือเรียกอีกชนิดว่าแพ้อาหารแบบเรื้อรังนั้น จะเกิดจากการที่ร่างกายสร้างแอนติบอดี ชนิด Immunoglobulin G (IgG) โดยจะทำปฏิกิริยากับอาหารที่แพ้ ซึ่งจะยังไม่แสดงอาการผิดปกติในทันที มักแสดงตัวอย่างช้าๆ จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป กลไกของการแพ้อาหารแบบแฝงนั้น เริ่มจากเมื่อเราบริโภคอาหารที่แพ้เข้าไป เม็ดเลือดขาว (White blood cell) จะสร้าง Antibody ที่จำเพาะต่ออาหารชนิดที่เราแพ้นั้นๆ ในทางเดินอาหารของเรา สำหรับอาหารที่ไม่ได้แพ้ก็จะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเพื่อที่จะไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายผ่านตามกระแสเลือดตามปกติ แต่อาหารที่แพ้ จะมี Antibody จับกับอาหารที่แพ้ และเกิดเป็นอนุภาคที่ก่อให้เกิดการอักเสบ และอนุภาคเหล่านี้เองจะเดินทางไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วก่อให้เกิดการอักเสบที่ร่างกายตามจุดต่างๆ ซึ่งลักษณะอาการต่างๆที่เกิดขึ้น และชนิดของอาหารที่แพ้ จะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล อาการของการแพ้อาหารแบบแฝงโดยคร่าวๆ ได้แก่ ท้องอืด มีลมในระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ผิดปกติ ผื่นคันและผิวหนังอักเสบ รวมไปถึงอาจเกิดอาการวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ปวดศีรษะ ไมเกรน เหนื่อยเพลีย ความดันโลหิตสูง ปวดข้อ ข้ออักเสบ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและน้ำหนักขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตตัวเองให้ดีว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ เพื่อที่จะเริ่มตรวจและรักษาได้เร็ว นับว่าเป็นโชคดีที่อาการแพ้อาหารแฝงนี้สามารถตรวจหาด้วยการตรวจ “สารก่อภูมิแพ้อาหาร IgG ทั้งนี้การตรวจเลือดสามารถช่วยให้เรารู้ว่า การแพ้อาหารที่แอบแฝงอยู่นั้นเป็นอาหารชนิดใด หรือ IgG Food Allergy Test ซึ่งจะรายงานผลการตรวจออกมาเป็นระดับการแพ้อาหารแต่ละรายการ และสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยเซลล์บำบัด รักษาด้วยโอโซน รักษาด้วยออกซิเจนแรงกดอากาศสูง การรักษาด้วยการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต การักษาด้วยเลเซอร์พลังงานต่ำ การปรับสมดุลลำไส้ ถ้าเข้าข่ายหรือมีอาการเหล่านี้ อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจและรักษาก่อนที่จะกลายเป็นโรคที่ร้ายแรง