“สมศักดิ์” ยอมรับมี “อาฟเตอร์ช็อก” หลังปรับครม. คาดสภาฯ ได้รับผลกระทบ 1-2 ครั้ง เปรียบเหมือนคนอกหัก แต่ทำใจได้เร็ว เหตุไม่ใช่รักแรกพบ ชี้เปิดเก้าอี้ “รมช.แรงงาน” ไม่ผิดปกติ “อนุสรณ์” มั่นใจ “บิ๊กตู่” เจอศึกหนักประชิดรอบด้าน แนะต้องแสดงความจริงใจแก้ รธน. ด้าน“ปชป.” หนุนแก้รธน.ไม่ต้องรอม็อบนศ.ไล่ ย้ำต้องแก้ ม. 256 ส่วน“นิด้าโพล” เผย 34.72% หนุนม็อบปลดแอกหากไม่ผิดกม. “กกต.”พร้อมจัดเลือกตั้งซ่อมสมุทรปราการ เขต 5 เผยโค้งสุดท้ายเร่งประชาสัมพันธ์ กระตุ้นปชช.ใช้สิทธิ เมื่อวันที่ 2 ส.ค.63นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)กล่าวถึงการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า รายชื่อทั้งหมดที่ปรากฏยังคงต้องรอความชัดเจนภายหลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ซึ่งพรรคไม่มีปัญหาในการปรับครม.ครั้งนี้ ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร เพราะทุกคนให้เกียรตินายกฯ ส่วนกรณีที่การแกนนำพรรคบางส่วนพลาดหวังในตำแหน่งนั้น ยอมรับว่าอาจจะมี 1-2 ครั้ง ที่อาจจะกระทบต่อการทำงานในสภาผู้แทนราษฎร แต่หลังจากพูดคุยทำความเข้าใจกันแล้ว ก็ไม่น่าจะมีปัญหา “ผู้ที่พลาดหวังจากการปรับครม.ครั้งนี้ ก็เหมือนกับคนอกหัก ที่อาจจะช็อก แต่ 1-2 อาทิตย์ ก็หาย และคงไม่ใช้เวลานาน เพราะไม่ใช่รักแรกพบก็น่าจะทำใจได้เร็ว เพราะการปรับครม.มีมาหลายครั้ง นายสมศักดิ์ ยังกล่าวถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์การเปิดตำแหน่งรมช.แรงงานเพื่อแก้ปัญหาภายในพรรคที่ไม่ลงตัว ว่า ส่วนตัวยังไม่ทราบว่ามีการเปิดตำแหน่งรมช.แรงงาน แต่หากมีการเปิดตำแหน่งดังกล่าวจริงก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่น่าจะเป็นการปรับเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 เนื่องจากมีคนตกงานจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรมาช่วยงานเพิ่มขึ้น แม้ว่าบุคคลดังกล่าวจะไม่มีประสบการณ์มาก่อน แต่ก็สามารถทำได้ในฐานะผู้บริหารร่วมกับข้าราชการประจำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลให้ความสนใจเรื่องของแรงงาน นายสมศักดิ์ ยังกล่าวถึงการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯกทม. ว่า ยังอยู่ในกระบวนการคัดสรรของพรรค ซึ่งจะต้องมีการหารือร่วมกับส.ส.กทม. เพราะเป็นบุคลากรที่ทำงานในพื้นที่ แต่ส่วนตัวเชื่อว่ายังมีเวลา เพราะคาดว่าการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จะเกิดขึ้นก่อน พร้อมยอมรับว่าจังหวัดสุโขทัยยังไม่มีนายก อบจ. เนื่องจากคนเดิมได้รับการเลือกตั้งให้เป็นส.ส. ด้าน นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(กมธ.ศึกษาการแก้ไขรัฐธรรม นูญ) มีมติเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อเปิดทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ปัญหาหลักที่กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน ออกมาแสดงพลังจุดแฟลชม็อบทั่วประเทศ เพราะกติกาการเลือกตั้งและการได้มาซึ่งนายกฯในรัฐธรรมนูญปี 2560 บิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชน สร้างปัญหา ก่อให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยกอย่างหนัก ถ้านายกฯมีความจริงใจจะถอดสลักความขัดแย้ง ก็เพียงเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องเร่งด่วน 2 เรื่อง คือ 1.เปลี่ยนกลับไปใช้ระบบเลือกตั้งแบบบัตร 2 ใบ คือ ส.ส.เขตและส.ส.บัญชีรายชื่อให้ตรงตามเจตนารมณ์ในการเลือกตั้งส.ส.ของประชาชน 2.ยกเลิกบทเฉพาะกาล ตัดสิทธิ์ส.ว.ไม่ให้โหวตเลือกนายกฯ หากแก้ 2 เรื่องนี้ ยังต้องใช้เวลานาน อาจพิจารณาใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 มาจัดการเลือกตั้งเพื่อหยุดความขัดแย้ง แล้วกลับมาแก้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ เชื่อมโยงองค์กรอิสระ โดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยแท้ “ทุกปัญหารอไม่ได้ ซึ่งโมเดลซื้อเวลาจัดม็อบชนม็อบประเทศชาติและประชาชนเสียโอกาส สารพัดศึกประชิดรอบด้าน จะท่องคาถาเฝ้าระวังโควิดระลอก 2 อยู่อย่างเดียวไม่ได้ การฟื้นตัวจากโควิดยังลูกผีลูกคน มีคนตกงานจากโควิดแล้วเกือบ 5 ล้านคน คาดว่าสิ้นปีจะมีคนตกงานเฉียด 10 ล้านคน ทีมเศรษฐกิจชุดเก่าอยู่มา 6 ปี ยังโบกมือบอกศาลา แล้วจะไปคาดหวังอะไรกับทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ ตราบที่หัวหน้าทีมเศรษฐกิจยังเป็นนายกฯ รัฐธรรมนูญ ฉบับเอื้อการสืบทอดอำนาจของนายกฯ ต้องจบ เลิกกีดกันประชาชนออกจากการมีส่วนร่วมทางการเมือง สร้างกติ กาที่เป็นประชาธิปไตย แก้ไขการเมืองที่ไม่เท่าเทียม” นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะกรรมาธิการศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของพท. ว่า นายโภคิน พลกุล คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค และกมธ. ได้นำเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่ออนุกรรมการศึกษาบทบัญญัติตามที่พรรคได้ยกร่างขึ้นมานานแล้ว และพร้อมที่จะนำร่างดังกล่าวให้ส.ส.ได้ร่วมเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภาได้ทันที ร่างดังกล่าวมีสาระ คือ แก้ไขมาตรา 256 เพื่อให้แก้รัฐธรรมนูญได้ง่ายกว่าเดิมโดยใช้เสียงข้างมากของรัฐสภาเหมือนกับรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ที่มีมาในอดีต ทั้งนี้ ได้เพิ่มหมวดว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้มีสมาชิกร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน สภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ได้แม้จะมีการยุบสภา เมื่อมีการจัดทำรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จแล้ว ให้นำร่างดังกล่าวให้ประชาชนลงประชามติว่าจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวหรือไม่ ส่วน นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคมีความชัดเจนเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ต้น เป็นพรรคเดียวที่ชูธงนำเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 256และควรนับหนึ่ง และเริ่มต้นได้ตั้งนานแล้ว แต่ระยะเวลาก็ทอดยาวออกมาถึงทุกวันนี้ เพราะไม่ว่าจะมีการเรียกร้องจากนักศึกษาหรือไม่ เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ควรเดินหน้า เพราะขณะนี้ทุกคนเห็นตรงกันว่ามีปัญหาอยู่หลายมาตรา อย่างไรก็ตาม เรื่องแก้รัฐธรรมนูญจะมีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในที่ประชุม ส.ส ในวันจันทร์นี้ ขณะที่ นิด้าโพล จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ม็อบ เยาวชน ปลดแอก”พบส่วนใหญ่ ร้อยละ 26.56 ระบุว่า เป็นสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม หากปราศจากอาวุธและความรุนแรง รองลงมา ร้อยละ 26.16 ระบุ ว่า เป็นสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม หากไม่กระทำผิดกฎหมาย ขณะที่ ร้องยละ 34.72 ระบุว่า เห็นด้วยมากต่อการชุมนุม ของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ส่วนความกังวลว่า ประเทศไทยจะเผชิญกับปัญ หา ความขัดแย้งทางการเมืองเหมือนในอดีต จากการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก พบว่า ร้อยละ 11.20 ระบุว่า กังวลว่าจะมีความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรง มากกว่า ในอดีต ร้อยละ 29.76 ระบุว่า กังวลว่าจะมีความขัดแย้งทาง การเมือง แต่คงไม่เท่า ในอดีต ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงสิ่งที่นายกฯ ควรดำเนินการกับการชุมนุมพบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.72 ระบุว่า ควรรับฟังปัญหาจากกลุ่มนักศึกษาด้วยตนเอง รองลงมา ร้อยละ 20.40 ระบุว่า ควรยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ทันที ร้อยละ 13.68 ระบุว่า ควรรีบแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ วันเดียวกัน นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคไทยรักษาชาติ กล่าวถึงกรณีเจ้าหน้าที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่มาประชุมกับอนุกรรมาธิการแผนบูรการ 1 ได้ชี้แจงว่าเมื่อวันที่ 6 เม.ย.2560 ซึ่งเป็นวันใช้บังคับรัฐธรรมนูญนั้น ปรากฏว่า คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 1 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น ไม่ได้ยื่นบัญชีทรัพย์สินแต่อย่างใด โดยตนได้ยกคำวินิจ ฉัยศาลรัฐธรรมนูญมาถามเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. กรณีศาลวินิจฉัยไว้แล้วว่าเมื่อใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองที่ยังคงอยู่ต่อไปก็ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินใหม่ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ป.ป.ช.มิอาจโต้แย้งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่วินิจฉัยไว้เป็นเด็ดขาดแล้ว นายเรืองไกร ยังตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมปัจจุบันป.ป.ช.ยังมีการฟ้องร้องนักการเมืองที่ไม่ได้ยื่นบัญชีทรัพย์สินตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช.2542 เพื่อให้ศาลฎีกานักการเมืองพิพากษาอยู่แสดงว่า ป.ป.ช.ยังใช้กฎหมายดังกล่าวอยู่ อย่างไรก็ตาม ป.ป.ช.กลับไม่ใช้ดำเนินการกับ ครม.ประยุทธ์ 1 และสนช. ทั้งที่มีคำวินิจฉัยผูกพันไว้ และมีคำพิพากษาศาลฎีกานักการเมืองเป็นบรรทัดฐานแล้วหลายคดี จึงเห็นว่าสมควรแก่เวลาที่ต้องขอให้ ป.ป.ช.อย่านิ่งเฉย ต้องรีบส่งศาลฎีกานักการเมืองพิพากษาว่าจะตัดสิทธิทางการเมืองของครม.ประยุทธ์ 1 และ สนช. หรือไม่ เพราะถึงเวลาที่ต้องดำเนินการเรื่องนี้ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยเร็ว เพื่อไม่ปล่อยให้คดีขาดอายุความ ดังนั้นตนจะส่งหนังสือทางไปรษณีย์ เพื่อให้ป.ป.ช.รีบมีมติส่งเรื่องกรณีดังกล่าว ให้ศาลฎีกาแผนก คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้พิจารณาพิพากษาว่า จะตัดสิทธิทางเมืองพล.อ.ประยุทธ์ กับพวก ฐานจงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.หรือไม่ นายปฐมพงศ์ โพธิโต ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวถึงความพร้อมการจัด การเลือกตั้ง ส.ส.เขต 5 จ.สมุทรปราการ แทนตำแหน่งที่ว่าง ว่า ขณะนี้ กกต.มีความพร้อมอย่างเต็มที่ สำหรับช่วงโค้งสุดท้ายก่อนที่จะมีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 9 ส.ค.นั้น เรื่องการประชาสัมพันธ์ เราได้มีการทำจัดทำไปก่อนหน้านี้ ทั้งสื่อแนะนำตัวผู้สมัครรวม ข้อมูลการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งส่งไปยังทุกครัวเรือน โดยเชื่อว่าจะเป็นอีกแรงดึงดูดหนึ่งที่ทำให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง น่าจะอยู่ที่ประมาณ 80%