นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมสู่การปฏิบัติ" เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างบูรณาการ เกิดการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงคมนาคมไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ ความสุขของประชาชนคนไทยทุกคน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการด้านคมนาคมขนส่ง โดยยึดหลักการบริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และนโยบายรัฐบาล รวมทั้งยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคม เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการที่สะดวก ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยให้ความสำคัญกับทุกนโยบาย ทุกโครงการต้องมีเป้าหมายเดียวกัน คือ มุ่งเน้นสนองตอบความต้องการของประชาชนคนไทยและเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ต้องเป็นโครงการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้สรุปผลการประชุมสัมมนา ดังนี้ 1. กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานทางถนน ได้แก้ไขปัญหาโครงการก่อสร้างล่าช้าที่ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด เช่น โครงการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 การแก้ไขปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากรถบรรทุก รถโดยสารสาธารณะ โดยการตรวจสอบสภาพรถ และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด การกำหนดอัตราความเร็วถนน 4 ช่องทางจราจรขึ้นไป ให้ใช้อัตราความเร็วได้ไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อระบายการจราจรให้คล่องตัวยิ่งขึ้น โดยจะต้องมีการบูรณาการร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป รวมทั้งศึกษาและจัดทำแผนแก้ปัญหาด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) ให้รถสามารถผ่านด่านเก็บค่าผ่านทางฯ ได้อย่างรวดเร็ว ลดความแออัดของรถบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางฯ การศึกษาแนวทางการปรับลดค่าผ่านทางพิเศษทุกประเภท (ทางพิเศษ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โทลล์เวย์) ตั้งแต่ 5 - 10 บาท โดยต้องไม่มีผลกระทบต่อสัญญากับเอกชน และส่งเสริมการใช้วัสดุทดแทนที่ผลิตจากยางพาราในโครงการต่างๆ เช่น วัสดุกั้นถนน หลักเขตบอกทาง หมอนรางรถไฟ เพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และยกระดับราคายางพารา แก้ปัญหารายได้ของเกษตรกรชาวสวนยาง 2. กลุ่มการขนส่งทางบก ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ด้านการขนส่งสินค้า มุ่งเน้นการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาระบบการขนส่งทางถนนของประเทศตามแผนย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์เพื่อการลดต้นทุนการขนส่งสินค้า การพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ซึ่งแผนงานที่จะดำเนินการในปี 2564 – 2565 ที่สำคัญ คือ โครงการศึกษาบูรณาการแบบการพัฒนาสถานีเปลี่ยนถ่ายและกระจายสินค้าของประเทศเชื่อมต่อการขนส่งหลายรูปแบบ เพื่อขยายสถานีขนส่งสินค้าชานเมือง ด้านการขนส่งผู้โดยสาร การเปลี่ยนรถตู้เป็นรถมินิบัส โดย ขบ. ได้มีการศึกษาทั้งด้านความปลอดภัยและความคุ้มค่า และรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เห็นควรให้รถตู้โดยสารมีอายุไม่เกิน 10 ปี สำหรับรถโดยสารประจำทางสายยาวและระหว่างจังหวัด (หมวด 2 หมวด 3) ส่วนการเปลี่ยนรถตู้เป็นรถมินิบัสในเมือง (หมวด 1 หมวด 4) เป็นภาคสมัครใจ ยกระดับการใช้บริการรถแท็กซี่เพื่อไปสู่การเป็น Smart Taxi โครงการยกระดับ Smart Bus Terminal เพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ การบริการรถโดยสารเชื่อมต่อระบบ Feeder Services และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ด้านการความปลอดภัย ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยมีเป้าหมายในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน โดยจัดให้มีผู้จัดการความปลอดภัยด้านการขนส่งทางถนน (Transport Safety Manager) มาตรการ Check คน Check รถ Checking Point ต่อยอดระบบ GPS ในรถสาธารณะและรถบรรทุกขนาดใหญ่ และการพัฒนาศูนย์ขับรถจำลอง (Bus Simulator) ส่วนบขส.ผลงานด้านการเสริมสร้างความยั่งยืนของประเทศ เป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การเป็นสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ การลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ยกระดับสถานตรวจสภาพรถของรัฐและเอกชน การปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานเครื่องยนต์ การส่งเสริมการเดินทางด้วยรถสาธารณะมาตรการด้านภาษีประจำปีสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และมาตรการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ผลงานการเป็นรัฐบาลดิจิทัล หน่วยงานได้พัฒนาระบบการกำกับดูแล และพัฒนาการให้บริการประชาชนโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลตามนโยบายรัฐบาล และเป็นการดำเนินการรูปแบบใหม่ (New Normal) โดยมีการอบรมผ่านระบบ e-learning สำหรับผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถ และการจองคิวการดำเนินการผ่าน DLT Smart Queue การแสดงใบอนุญาตขับรถได้เสมือนจริง (DLT QR Licence) รวมทั้งได้มีการพัฒนาการชำระภาษีรถประจำปีผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยแอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax การพัฒนาระบบ e-Service การพัฒนาระบบสำรองที่นั่งและจำหน่ายตั๋วโดยสารด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของ บขส. 3. กลุ่มการขนส่งทางราง ได้ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านการขนส่งทางราง ซึ่งมีแผนงานโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการรถไฟระหว่างเมือง เพื่อขับเคลื่อนทางคู่และทางสายใหม่ การลงนามในสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน สำหรับผลงานในปี 2563 ด้านการบริหารจัดการรถไฟระหว่างเมือง การก่อสร้างที่หยุดรถไฟวุฒากาศ สายวงเวียนใหญ่ – มหาชัย การรักษาระดับการให้บริการในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการใช้บริการ รวมถึงการลดอัตราค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีม่วง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ และการตรึงราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จนถึงสิ้นปี 2563 การพัฒนาการเชื่อมต่อการเข้าถึงของคนทุกกลุ่ม/ทุกระบบ ล้อ ราง จํานวน 13 สถานี การพัฒาระบบตั๋วร่วมแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะสั้น แมงมุม/ MRT Plus/Rabbit รองรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน – สีม่วง - สีเขียว ภายในปลายปี 2563 และบัตรแมงมุม/MRT Plus รองรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ ภายในปลายปี 2563 บัตร EMV (บัตรเครดิต) และเชื่อมโยงกับการเดินทางทุกระบบ ภายในปลายปี 2565 การเพิ่มประสิทธิภาพการเดินรถ ในปี 2564 คาดว่าจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูได้บางส่วน และลงนามสัญญาและก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางขุนนนท์ การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ และการ คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต การศึกษาแผนแม่บทรถไฟฟ้า ฉบับที่ 2 (M-MAP2) การศึกษาแผนแม่บทการเชื่อมรถไฟกับนิคมอุตสาหกรรม 4. กลุ่มการขนส่งทางน้ำ สัมมนาการพัฒนาศักยภาพการขนส่งสินค้าทางน้ำมีการดำเนินงาน ได้แก่ การพัฒนายกระดับมาตรฐานท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาให้มีความสะดวก ปลอดภัย เตรียมความพร้อมเพื่อเชื่อมโยงระบบขนส่ง พัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เพื่อเป็นประตูการขนส่งสินค้าสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับสินค้า การพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (Single Rail Transfer Operation) และท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) สนับสนุนท่าเรือแหลมฉบัง และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมทางน้ำ ร่องน้ำและการเดินเรือภายในประเทศ เช่น การพัฒนาร่องน้ำป่าสักให้การเดินเรือในลำน้ำภายในประเทศ การขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำเศรษฐกิจ และในปี 2564 กระทรวงคมนาคมจะผลักดันโครงการสำคัญตามนโยบายรัฐบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และในปี 2564 - 2565 พัฒนาท่าเรือเกียกกาย ท่าบางโพ รวมทั้งศึกษาแนวทางการพัฒนาท่าเรือเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) และการขุดลอกร่องน้ำเพื่อการขุดลอกฟื้นคืนสภาพร่องน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง สำหรับการพัฒนาสถานี/เรือไฟฟ้าในแม่น้ำเจ้าพระยา คลองแสนแสบ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้นําร่องพัฒนาท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น ท่าเรือพระราม 5 ท่าเรือพระราม 7 ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ให้มีความทันสมัย ปลอดภัย หรือที่เรียกว่า ท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของกรมเจ้าท่า (MD digital Service) และการเชื่อมโยง Data Logistic Chain และโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยในชุมชนคลองเตย (Smart Community) 5. กลุ่มการขนส่งทางอากาศ ได้แก่ การพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศเพิ่มศักยภาพท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานภูมิภาคให้สามารถรองรับผู้โดยสารไม่น้อยกว่า 150 ล้านคนต่อปี โครงการพัฒนาสนามบินหลัก โครงการพัฒนาสนามบินภูมิภาค โครงการพัฒนาท่าอากาศยานแห่งใหม่ ทอท. มีแผนการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่เพื่อขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบิน จำนวน 2 เชียงใหม่แห่งที่ 2 สนับสนุนสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airlines) ให้สามารถบริการประชาชนในภูมิภาคได้เพิ่มขึ้นโดยจะมีการตรวจสอบ ควบคุม เพื่อให้คุณภาพการให้บริการตามมาตรฐานสากล ได้แก่ สายการบินต้นทุนต่ำเปิดบริการในเส้นทางบินใหม่ ดังนี้ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) - นครศรีธรรมราช / นครศรีธรรมราช - ขอนแก่น / อุดรธานี - สุราษฎร์ธานี / หัวหิน - อุดรธานี / หัวหิน - เชียงใหม่ และการขับเคลื่อนสู่อนาคต การเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับเที่ยวบิน 1.2 ล้านเที่ยวบิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสนามบิน การบริการการเดินอากาศ และการจัดสรรเวลาการบิน และการรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย เพื่อเป็นที่ยอมรับของสากล