สัปดาห์พระเครื่อง / ราม วัชรประดิษฐ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก่อสร้างพร้อมกับสร้างกรุงรัตน โกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ในปี พ.ศ. 2325 โดยก่อสร้างวัดในเขตพระราชฐาน เมื่อแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2327 ได้ทรงอัญเชิญ “พระแก้วมรกต” จาก วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับทรงสร้างบุษบกทองคำเพื่อทรงพระแก้วมรกต การจัดสร้าง เหรียญพระแก้วมรกต ปี พ.ศ.2475 จัดสร้างในคราวฉลองกรุงเทพมหานคร ครบ 150 ปี ในปี พ.ศ.2470 โดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามให้ทันกับการสมโภชกรุงเทพ มหานคร ซึ่งจะครบ 150 ปี ในปี พ.ศ.2475 ไม่ใช่เป็นการสร้างครั้งแรก (จัดสร้างครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 เนื่องในพิธีฉัตรมงคล ปี พ.ศ. 2461 โดยสั่งจากบริษัท ธอมัสเดอราลู เบ็น (บล็อกนอก) มีเนื้อทองคำ เงิน ทองแดง และ นิกเกิล) โดยล้นเกล้าฯ ร.7 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นประธานกรรมการ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ที่จะให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสที่จะบำเพ็ญกุศลร่วมกันในครั้งนี้ด้วย เหรียญพระแก้วมรกตเนื้อเงิน หน้า เหรียญพระแก้วมรกตเนื้อเงิน หลัง เหรียญพระแก้วมรกต ปี พ.ศ.2475 มีการจัดพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ รวมพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังผู้ทรงพุทธาคมในยุคนั้นมากมายเข้าร่วมอธิษฐานจิต อาทิ พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ, สมเด็จพระวันรัต (แพ ติสสเทโว) วัดสุทัศน์, พระโพธิวงศาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม, สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดโพธิ์, หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่, หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง, หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์, หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อสด วัดปากนํ้า, หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่อสนธิ์ วัดสุทัศน์ ฯลฯ เนื้อหามวลสาร-พุทธลักษณะพิมพ์ทรง มีการจัดสร้างเป็น เนื้อทองคำ เงิน นิกเกิล และทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มพิมพ์กลมแบน ขอบเรียบ ด้านหน้าจำลองรูปพระแก้วมรกต ประทับนั่งบนฐานบัวควํ่าบัวหงาย ภายในซุ้มเรือนแก้ว มีผ้าทิพย์ห้อย และดอกไม้อยู่โดยรอบ ด้านหลังเป็นรูปยันต์ “กงจักร” มีอักษรจารึก มรรค 8 อักขระขอมที่ปรากฏ คือ “ทิ” คือ สัมมาทิฐิ “สํ” คือ สัมมาสังกัปโป “วา” คือ สัมมาวาจา “กํ” คือ สัมมากัมมันโต “อา” คือ สัม อาชิโว “วา” คือ สัมมา วายาโม “ส” คือ สัมมา สติ และ “สํ” คือ สัมมาสมาธิ เหรียญพระแก้วมรกตเนื้อทองแดง หน้า เหรียญพระแก้วมรกตเนื้อทองแดง หลัง ที่ริมขอบเหรียญด้านหลัง มีอักษรว่า “Georges Hantz Geneve U.G.D.” อันเป็นบล็อกที่สั่งทำจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หรือที่นักสะสมพระเครื่องเรียกกันว่า “บล็อกนอก” ซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุด และสืบเนื่องจากมีผู้บริจาคเงินเป็นจำนวนมาก จนต้องมีการระดมกำลังกันจัดสร้างหลายโรงงาน จึงมีอักษรบ่งบอกที่ด้านหลังเหรียญอีก อาทิ เพาะช่าง สุวรรณประดิษฐ์ นาถาจารุประกร และ ฮั่งเตียนเซ้ง โดยเรียกกันว่า “บล็อกใน” ซึ่งสนนราคาค่านิยมก็จะลดหลั่นกันไป ข้อสังเกตประการสำคัญ คือ บล็อกนอกจะไม่ปรากฏเนื้อทองแดง นอกจากนี้ยังมี “เหรียญพระแก้วมรกต ปี 2475” อีกพิมพ์หนึ่ง ลักษณะเป็นเหรียญกลม มีหูเชื่อม ด้านหน้าจะมีรูปแบบเหมือนกัน แต่ด้านหลังจะเป็นข้อความอักษรเรียงกัน 5 บรรทัด ว่า “ที่ระฤก ในงานฉลอง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครบรอบ 150 ปี พ.ศ.2475” ตัวอักษรมีทั้งแบบตัวนูน และแบบตัวลึกลงไปในเนื้อเหรียญ พบเห็นมี 2 เนื้อด้วยกัน คือ เนื้อเงิน และ ทองแดงกะไหล่ทอง ซึ่งพบเห็นน้อยมาก เหรียญพระแก้วมรกตเนื้อทองคำ หน้า เหรียญพระแก้วมรกตเนื้อทองคำ หลัง พุทธคุณ ด้วยบารมีแห่งองค์พระแก้วมรกต ความเข้มขลังในพิธีจากสุดยอดพระเกจิคณาจารย์แห่งยุค รวมทั้งวัตถุประสงค์การจัดสร้าง จึงไม่ต้องบอกกล่าวถึงความลํ้าเลิศในด้านพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ ครับผม