เมื่อเวลา 16:00 น วันที่28 ก.ค.63 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ศาลเจ้าพ่อหาญคา บริเวณบึงละหานได้มีผู้นำชุมชนทั้งถิ่นทั้ง นางสาวบานเย็น พรหมภักดี นายกเทศบาลตำบลละหานนายธเนศ​ สุมณฒา​ กำนันตำบลหนองบัวใหญ่รวมทั้งกำนันตำบลละหาน ผู้ใหญ่ พร้อมด้วยชาวประมงพื้นบ้านกว่า200คน ได้รวมตัวปรึกษาหารือ เพื่อที่จะผลักดันตัวแทน เข้าพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความเห็นใจในการวางมาตรการ "เขตห้ามล่า" ในบริเวณบึงละหาน ซึ่งมีอาณาเขตกว่า20,000ไร่ ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 190 เมตร มีพันธุ์ปลา 31 ชนิด อยู่อาศัยตามธรรมชาติได้แก่ปลาบึกชนิดที่อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ได้แก่ปลาดุกดานและชนิดที่อยู่ในสถานภาพใกล้ถูกคุกคามและถูกคุกคามในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติได้แก่ปลาสวายปลาเศรษฐกิจได้แก่ปลาสร้อยนกเขาปลาตะเพียนขาวปลาไส้ตันปลาช่อนปลาสร้อยขาวปลาไส้ตัน นอกจากปลาที่ชาวบ้านใช้เลี้ยงชีพและเป็นรายได้หลักอีกด้วย ด้านนายธเนศ​ สุมณฒา​ กำนันตำบลหนองบัวใหญ่ กล่าวว่าการรวมตัวกันของชาวบ้านในครั้งนี้เนื่องมาจากปัญหาในการวางโครงการมาตรการเขตห้ามล่าเนื่องจากข้อมูลอ้างอิงเมื่อปี 2542 ได้กล่าวถึงประเภทของนกที่พบว่าในบึงละหานมีนกจำนวน 53 ชนิดจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง 51 ชนิดไม่มีสัตว์ป่าคุ้มครอง 2 ชนิดและใน 53 ชนิดนกที่อพยพ 13 ชนิดและนกประจำถิ่น จึงต้องปิดบึงละหานทั้งหมดเพื่อที่ไม่ให้ไปรบกวนนก ซึ่งเรื่องดังกล่าวทำให้ชาวบ้านและผู้ที่ใช้วิถีชีวิตในบึงละหานมาตลอดมากกว่า100ปี หรือ3ชั่วอายุแล้วที่ดำรงหาเลี้ยงชีพด้วยการเก็บหาพืชพรรณเล็กน้อย เป็นแหล่งจับหาปลา สัตว์น้ำเพื่อแหล่งรายได้หลักนำไปขายในตลาดสดของชุมชนโดยเฉพาะปลาที่ชาวบ้านได้เก็บหามาเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นรายได้แก่ครัวเรือนตลอดทั้งปีอีกด้วย ซึ่งขณะที่หน้าแล้งหรือวันสำคัญๆทางชุมชนก็จะจัดกิจกรรมจิตอาสาช่วยกันออกไปเก็บกวาดทำความสะอาดรอบบึงกำจัดวัชพืชเช่นต้นก้านธูปซึ่งจะเป็นปัญหามากในหน้าแล้งหากมีไฟไหม้จะอันตรายต่อหมู่บ้านระแวกนั้น จึงต้องกำจัดในทุกปี ซึ่งหากทางจนท.สัตว์ป่าและพันธุ์พืชจะมาปักป้ายตั้งเป็นเขตห้ามล่าและตั้งหน้าตั้งตาจับชาวบ้าน แล้วชาวบ้านไม่ต่ำกว่า 1,000 ครัวเรือนจะต้องประสบปัญหา เสียที่ทำมาหากิน รายได้หลักของคนทั้งตำบล และจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน จึงอยากขอวิงวอนผู้ใหญ่ในบ้านเมือง หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง แทนชาวบ้านในตำบลละหานว่า ขอให้ท่านทบทวนคำสั่งใหม่เพื่อให้ชาวบ้านมีพื้นที่ทำกินเลี้ยงชีพได้ หรือขอยกเลิกกฎหมายข้อนี้อีกด้วย ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่กล่าวว่าวิถีชีวิตของชาว บึงละหาน ได้ถูกเปลี่ยนไปหลังเมื่อปี 2552 หลังจากมีการประกาศ เขตห้ามล่า บึงละหาน จากบึงละหานที่ก่อนเคยเป็นปากท้องของชาวบ้าน เป็นความหวังของชาวบ้านเป็นแหล่งหารายได้จากการท่องเที่ยว รวมถึงเป็นชีวิตการเป็นอยู่มามากกว่า100ปี ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปในทันที จากวิถีชีวิตในอดีต ที่มีการสืบทอด กันมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในการใช้ชีวิตชาวประมงคู่กับบึงละหานไม่ต่ำกว่า 1,000 ครัวเรือน ได้สิ้นสุดลงวันนี้ ชาวบ้านบางรายวันนี้ต้องเก็บทั้งเครื่องยนต์เรือและเรือกลับเข้าบ้าน บางคนพูดถึงชีวิตที่ผูกพันกับ บึงละหาน ถึงกับมีน้ำตา ยกมืออ้อนวอนขอร้อง โดยจากการสอบถามถึงบทลงโทษที่ผ่านมา ต่างก็ระบายออกมาเสมือนว่าวันนี้จะมีคนที่ยอมรับฟังเสียงของพวกเขา ที่อาจจะไม่ได้มีการรับฟังมานาน ชาวบ้านบางรายต้องถูกเจ้าหน้าที่ยึดอุปกรณ์หาปลา ที่ซื้อมาด้วยน้ำพักน้ำแรง แม้แต่ผักที่ขึ้นอยู่ในน้ำริมบึง ก็ได้เพียงแค่มอง กลายเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้อีกต่อไป โดยปัญหาที่ชาวบ้านได้รับคำชี้แจ้งจาก จนท.มันชั่งจี้จิตใจของความเป็นคนสะเหลือเกิน ในข้อห้าม ห้ามออกเรือ เพราะจะทำให้นกตื่นกลัว ห้ามทำทางรอบบึง จะทำให้นก ตื่นตกใจเสียงเครื่องจักรในการก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งต่อไปจะส่งตัวแทนชาวบ้าน ที่ได้รับความเดือดร้อน เดินทาง มุ่งหน้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อยื่นหนังสือต่อ อธิบดีกรมทรัพยากรสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และนายเชิงชาย ชาลีรินทร์ กรรมาธิการรัฐสภา สส.ความหวังของชาวบ้าน ที่รัฐสภาเพื่อนำปัญหา ที่เกิดขึ้น ส่งตรงให้ถึงมือผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงถึงข้อเรียกร้องและขอวิงวอนช่วยทบทวนคำสั่งใหม่ โดยหวังว่าบึงละหานจะกลับมาเป็นปากท้องเป็นแหล่งทำมาหากินคู่กับวิถีชีวิตของชาวบ้านต่อไป