นายฟรานซีน แอบกัลล์ หัวหน้าการท่องเที่ยว ยุโรป แอสซิสแทนซ์ กรุ๊ป กล่าวว่า ได้สำรวจการท่องเที่ยวประจำปี 2563 จากข้อมูลการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ซึ่งได้ร่วมมือกับบริษัทวิจัยระดับโลกอย่างของ Ipsos Holiday Barometer หรือ IPSOS ในการสำรวจรูปแบบการท่องเที่ยวในอนาคตเพื่อเข้าใจรูปแบบการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมปัจจุบันในปัจจุบันที่มีการรักษาระยะห่าง ที่พักขนาดเล็ก และหลีกเลี่ยงสถานที่คนแออัด เดินทางสาธารณะลดลง ซึ่งผลสำรวจพบว่า นักท่องเที่ยวมากกว่า 50% อยากจะเดินทางท่องเที่ยวในปี 2563 จึงถือเป็นสัญญาณที่ดีในการฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในระยะกลางและระยะยาว โดยมีวิธีการสำรวจออนไลน์จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดของ ยุโรป แอสซิสแทนซ์ สำรวจนักท่องเที่ยว 11,000 คน มีผู้ทำแบบสำรวจ 1,000 คน ต่อ ประเทศ ทั้งในยุโรป ฝรั่งเศส เยอรมัน ออสเตรีย เบลเยียม สเปน อิตาลี โปแลนด์ และสหราชอาณาจักร เอเชีย มีประเทศจีนและไทย รวมทั้งอเมริกา การสำรวจดังกล่าวเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดจากการสำรวจครั้งที่ 20 ของ Ipsos Holiday Barometer ซึ่งเตรียมพร้อมทำการสำรวจขณะเริ่มมาตรการล็อคดาวน์ เพื่อศึกษาผลกระทบโควิด-19 ต่อการวางแผนเดินทางท่องเที่ยวและนักเดินทาง เพื่อช่วยให้ทุกภาคส่วนในธุรกิจการท่องเที่ยวเตรียมตัวรับมือกับโลกหลังวิกฤติในครั้งนี้ สำหรับผลสำรวจการท่องเที่ยวประจำปี 2563 จากข้อมูลการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่จัดทำโดย IPSOS ระหว่างวันที่ 5 – 26 มิถุนายน 2563 เพื่อสำรวจทัศนคติของนักท่องเที่ยว 11,000 ราย จาก 11 ประเทศทั่วโลก รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 1,000 ราย พบว่า นักท่องเที่ยวไทยส่วนใหญ่ยังคงต้องการเที่ยวในประเทศไทยก่อนประมาณ 75% และมีนักท่องเที่ยวไทยประมาณ 36% วางแผนจองทริปท่องเที่ยวเพื่อเดินทางไปต่างประเทศ แต่ยังคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก 86% โดยหลีกเลี่ยงไปยังสถานที่ผู้คนหนาแน่นและ 84% หลีกเลี่ยงที่จะเดินทางไปยังบางประเทศ และอีกเทรนด์ที่น่าสนใจคือนักเดินทางชาวไทย 70% วางแผนจะซื้อประกันภัยการเดินทางในอนาคต ขณะที่ 44% ได้ทำประกันการเดินทางแล้ว อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทั่วโลก ถึงกระนั้นนักท่องเที่ยวที่ตอบแบบสอบถามทั่วโลกกว่า 81% อยากเดินทางท่องเที่ยวสักครั้งในปี 2563 มีเพียง 35% จาก 11 ประเทศ เผยว่าได้จองการท่องเที่ยวในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมไว้แล้ว หรือกำลังวางแผนอยู่ ซึ่งการวางแผนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเทรนด์ระยะสั้น ว่า นักเดินทางมีความมั่นใจมากขึ้นในการจองทริปท่องเที่ยวช่วงปลายปี 2563 หรือต้นปี 2564 นอกจากนี้ นักเดินทางจำนวนมาก โดยเฉพาะในยุโรป จะเริ่มกลับมาท่องเที่ยวในแบบเดิมก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น การโดยสารเครื่องบินและเข้าพักในโรงแรมขนาดใหญ่ในช่วงต้นปี 2564 ทั้งนี้รายละเอียดสำคัญจากสำรวจการวางแผนท่องเที่ยวในปี 2563 พบว่า ผลสำรวจทัศนตินักท่องเที่ยวทั่วโลกต่อการท่องเที่ยวในช่วงเวลาต่างๆ ทั้งฤดูร้อน ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูหนาว แสดงให้เห็นว่าโควิด-19 ไม่สามารถหยุดนักท่องเที่ยวเหล่านี้ได้ เพียงแต่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการท่องเที่ยวมาเป็นระยะสั้น โดยท่องเที่ยวในสถานที่ใกล้บ้านแทนการเดินทางระยะไกล โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 81% วางแผนเดินทางไปอิตาลี 89% ฝรั่งเศส 87% และไทย 85% ขณะที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกวางแผนใช้จ่ายท่องเที่ยวโดยเฉลี่ย 1,506 ยูโร ส่วนนักท่องเที่ยวไทยจะใช้จ่ายประมาณ 733 ยูโรต่อคน สำหรับทริปท่องเที่ยวหลังมาตรการล็อคดาวน์ และมี 36% ระบุว่าจะใช้เวลาพักผ่อนประมาณ 1 สัปดาห์ ที่ชายทะเล ประมาณ 30% ของนักท่องเที่ยวไทย รวมทั้งมีประมาณ 74% ของนักเดินทางทั่วโลกเลือกเดินทางด้วยรถยนต์ ที่เป็นรถเช่าหรือรถส่วนตัว ส่วนคนไทย 74% จะเดินทางด้วยรถยนต์เช่นกัน ด้านที่พักมีประมาณ 61% ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกเลือกที่พักแบบส่วนตัวหรือโรงแรมขนาดเล็ก พร้อมรักษาระยะห่างและหลีกเลี่ยงสถานที่ผู้คนหนาแน่น สำหรับชาวไทยมีเพียง 27% เท่านั้นเลือกที่พักแบบส่วนตัว และ 71% จะเข้าพักในโรงแรม อย่างไรก็ตามความกังวลและลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19 ยังเป็นความกังวลหลักของกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยผลสำรวจที่ได้หลังจากสอบถามถึงมาตรการลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดและวิธีแก้ไขก่อนเดินทางอีกครั้งถึงความกังวลหลักของนักท่องเที่ยวที่มีต่อโรคระระบาด 1.กลัวเกิดการแพร่ระบาดขณะเดินทาง 36% 2.ไม่สามารถทำกิจกรรมท่องเที่ยวได้ตามที่ได้วางแผนไว้ 28% 3. ต้องถูกกักกันโรคในต่างประเทศ 27% และปัจจัยที่ช่วยสร้างความเชื่อมัน คือ 1.อัตราการติดเชื้อลดลง 54% 2.คำแนะนำอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล 25% 3.การกลับมาเปิดให้บริการของโรงแรม บาร์ และร้านอาหาร 25% รวมทั้งพฤติกรรมที่จะหลีกเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาด คือ หลีกเลี่ยงการท่องเที่ยวในบางประเทศ 79% สถานที่ผู้คนแออัด 77% และวางแผนท่องเที่ยวภายในประเทศ 76% พร้อมกันนี้ยังมีวิธีการเดินทางที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกเลือกใช้มีประมาณ 75% ส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกระบุว่าจะขับรถยนต์ ที่เป็นรถเช่าหรือรถส่วนตัว ไปเที่ยวหลังการล็อคดาวน์ในฤดูร้อน ส่วน 58% ระบุว่าจะขับรถยนต์ไปเที่ยวในฤดูใบไม้ร่วง เป็นสัดส่วนที่ลดลง และลดลงมากขึ้นผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 56% ยังคงใช้รถยนต์เดินทางในฤดูหนาว ปี 2564 ประมาณ 51% รวมทั้งมีประมาณ 20% ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกเลือกเดินทางโดยเครื่องบินในฤดูร้อน และเพิ่มขึ้น 13% ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง 33% และเพิ่มขึ้นอีกเป็น 37% ในฤดูหนาว และเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าประมาณ 44% ในปี 2564 ขณะที่มีประมาณ 14% ของนักเดินทางทั่วโลกจะเดินทางโดยรถไฟในฤดูร้อน และมีความเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในฤดูใบไม้ร่วง 16% ฤดูหนาว 17% และมีความต้องการเพิ่มขึ้นเพียง 3% ที่จะเดินทางโดยรถไฟในปี 2564 ประมาณ 17% สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวนั้น นักเดินทางทั่วโลกส่วนใหญ่ระบุว่าจะเดินทางในประเทศก่อนในฤดูร้อน แต่มีความต้องการเดินทางไปต่างประเทศในปีหน้า 2564 โดยมีประมาณ 60% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าพวกเขาวางแผนเดินทางภายในประเทศในช่วงฤดูร้อน ขณะที่ฤดูใบไม้ร่วงมีความต้องการเที่ยวในประเทศ 52% และฤดูหนาว 54% อีกทั้งเมื่อสอบถามถึงแผนการเดินทางในปี 2564 ความต้องการท่องเที่ยวในประเทศลดลงเกือบครึ่งอยู่ที่ 39% และประมาณ 6% ระบุว่าพวกเขาจะเดินทางเที่ยวต่างประเทศ อย่างไรก็ตามมีนักเดินทางเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวตอบว่าพวกเขาวางแผนเที่ยวต่างประเทศในฤดูใบไม้ร่วง 14% และฤดูหนาว 14% ส่วน 19% ของผู้ตอบแบบสอบถามวางแผนว่าจะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศสักครั้งภายในปี 2564 ซึ่งก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 นักเดินทางทั่วโลกประมาณ 48% ระบุว่าพวกเขาทำประกันการเดินทาง ส่วน 54% จะซื้อประกันเดินทางในทริปถัดไป ด้านประเทศไทย เทรนด์ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น โดย 70% ของนักท่องเที่ยวไทยวางแผนซื้อประกันเดินทางในอนาคต ขณะที่ 44% นั้นทำประกันเดินทางมาก่อนแล้ว ส่วน 66% ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการความคุ้มครองในการส่งตัวกลับเมื่อมีการปิดพรมแดนหรือการล็อคดาวน์ในประเทศสถานที่ปลายทาง มีประมาณ63% ต้องการได้รับความคุ้มครองเมื่อการเดินทางต้องยืดเยื้อกว่าเดิม และประมาณ 62% ต้องการได้รับความช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วยหลังกลับจากทริปท่องเที่ยว 14 วัน ด้าน นาย ฟิลลิป เดแมนกีท ประธานกรรมการบริหาร ยุโรป แอสซิสแทนซ์ ไทยแลนด์ กล่าวว่า การสำรวจการท่องเที่ยวประจำปี 2563 ครั้งนี้ เป็นปีแรกที่ได้สำรวจทัศนติของนักท่องเที่ยวชาวไทย ได้รับรู้ความคิดเห็นของชาวไทยต่อประกันภัยการเดินทางและบริการให้ความช่วยเหลือ ของนักเดินทางชาวไทยที่มี 77% จะซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยการเดินทาง ขณะที่ 44% ได้ซื้อประกันเดินทางในปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ค่ารักษาในโรงพยาบาล และความล่าช้าหรือการยกเลิกการเดินทาง มีความจำเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังให้ความสนใจบริการพิเศษ อาทิ บริการทางการแพทย์ก่อนเดินทาง คำแนะนำด้านความปลอดภัยในสถานที่ท่องเที่ยว การรับข้อมูลในเชิงพิกัดภูมิศาสตร์เกี่ยวกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ขณะเดินทาง บริการแพทย์ทางไกล และความสามารถในการเข้าตรวจโควิด -19 ได้ทุกที่ทุกเวลา