NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุ 21 ก.ค. นี้ #ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี 21 กรกฎาคม 2563 ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยจะมีดวงอาทิตย์ โลก ดาวเสาร์ เรียงกันในแนวเส้นตรง ส่งผลให้ดาวเสาร์มีระยะใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี (Saturn Opposition) ห่างประมาณ 1,346 ล้านกิโลเมตร ในวันดังกล่าวเมื่อดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า จะมองเห็นดาวเสาร์ปรากฏอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะสังเกตได้ยาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า ดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 4 นิ้ว หรือมีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะเห็นวงแหวน A และวงแหวน B แยกกันอย่างชัดเจนโดยมีช่องแบ่งแคสสินีอยู่ตรงกลางระหว่างวงแหวนทั้งสอง คืนดังกล่าวยังคงมีดาวพฤหัสบดีสว่างปรากฏใกล้กับดาวเสาร์อีกด้วย NARIT เตรียมจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ #ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี#ส่องวงแหวนดาวเสาร์แบบเต็มตาผ่านกล่องโทรทรรศน์ ในวันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2563 ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง ที่อุทยานดาราศาสตต์สิรินธร จ.เชียงใหม่ หอดูดาวภูมิภาคโคราช ฉะเชิงเทรา และสงขลา ในรูปแบบ New Normal ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่เวลา 18:00 - 22:00 น. ลงทะเบียนออนไลน์ลุ้นรับ หนังสือคู่มือปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ สุดพรีเมียม✨ https://bit.ly/NARITSaturn2020 ---------------------------------- พิเศษสุด‼️ กับ #NightAtTheMuseum เปิดให้เข้าชมนิทรรศการดาราศาสตร์และท้องฟ้าจำลองรอบพิเศษ #ท้องฟ้าจำลอง 3 รอบ ? 18:00 - 19:00 น. ? 19:30 - 20:30 น. ? 21:00 - 22:00 น. **ค่าเข้าชม : เด็ก นักเรียน นักศึกษา 30 บาท ผู้ใหญ่ 50 บาท** สำรองที่นั่งท้องฟ้าจำลองล่วงหน้าได้ที่ - อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โทร. 084-0882261 หรือ ไลน์แอด @narit.astropark - หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา โทร. 086-4291489 / 044-216254 - หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ฉะเชิงเทรา โทร. 084-0882264 / 038-589395 - หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา โทร. 074-300868 / 095-1450411 นอกจากนี้ ช่วงนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ ประมาณวันที่ 18-22 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากดาวหางเคลื่อนที่ห่างจากดวงอาทิตย์พอสมควรแล้ว และคาดว่าจะมีค่าอันดับความสว่างปรากฏประมาณ 5 แม้เป็นช่วงแสงสนธยาก็มีโอกาสที่จะมองเห็นดาวหางดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า หากท้องฟ้าบริเวณขอบฟ้าใสเคลียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 21 กรกฎาคม เป็นคืนเดือนมืดไร้แสงจันทร์รบกวน เป็นโอกาสเหมาะที่จะเฝ้าสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ด้วยตาเปล่า