NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุ “มี Sundogs มาฝาก ถ่ายจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sundog) เป็นปรากฏการณ์ในชั้นบรรยากาศโลก คล้ายดวงอาทิตย์ทรงกลด (Halo) เกิดจากแสงอาทิตย์หักเหและกระเจิงแสง ทำมุม 22 องศา กับผลึกน้ำแข็งรูปหกเหลี่ยมของเมฆชั้นสูง “เซอร์รัส” (Cirrus) ที่อยู่สูงจากพื้นดินขึ้นไป เกิดเป็นแถบแสงรอบดวงอาทิตย์ แถบสีรุ้งที่อยู่ฝั่งซ้ายและขวาของดวงอาทิตย์ หากเห็นแสงเพียงฝั่งใดฝั่งหนึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “Sundog" แต่หากเกิดพร้อมกันสองฝั่ง จะเรียกรวม ๆ ว่า “Sundogs” การทรงกลดลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยเป็นอันดับสองรองจากการทรงกลดแบบ 22 องศา #เกร็ดความรู้ - Sundog จะหันสีแดงเข้าหาดวงอาทิตย์เสมอ - Sundog สามารถมีเส้นสีขาวยื่นออกไป มองคล้ายกับ”หาง” ของหมาได้ - Sundog เกิดได้ทั้งช่วงเช้าและเย็น มีลักษณะแต่ต่างกันไป ขึ้นอยู่กับมุมเงยของดวงอาทิตย์ หากดวงอาทิตย์อยู่บริเวณขอบฟ้าพอดี sundog จะปรากฏอยู่บนเส้นวงกลม 22 องศาพอดี แต่หากดวงอาทิตย์อยู่สูงขึ้นไปมากเท่าไร sundog ก็จะอยู่ห่างออกจากวงกลม 22 องศาไปมากเท่านั้น”