นายพูนศักดิ์ สาระคง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์พันธ์ข้าวหอมไชยา พื้นที่หมู่ 2 ตำบลโมถ่าย อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแปลงนาการอนุรักษ์พันธุ์ข้าว ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อสืบสานพันธุ์ข้าวหอมไชยา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการดำเนินโครงการนี้ได้ทำต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ทำให้สมาชิกเกษตรกรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อนุรักษ์ข้าวหอมไชยา ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น มีการปลูกในพื้นที่เพิ่มขึ้น จากเดิม 70 ไร่ เป็น 100 ไร่ ในตำบลโมถ่าย ตำบลทุ่ง ตำบลเวียง ตำบลป่าเว และตำบลเลม็ด โดยได้รับรองมาตรฐานข้าว GAP ที่เป็นการประกันสินค้าที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยจุดเด่นของข้าวหอมไชยา คือ มีโรคน้อย เนื่องจากเป็นข้าวที่ต้นสูงและแข็งแรง ไม่ต้องใช้สารเคมี เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค จึงต้องระดมความคิดเห็นในการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวหอมไชยายกระดับข้าวหอมไชยาขึ้นเกรดพรีเมี่ยม ผศ.พงศกร ศยามล อาจารย์ประจำสาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก คณะวิทยาการจัดการ กล่าวว่า เวทีระดมแนวคิดร่วมกันออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวหอมไชยาให้เป็นสินค้าคุณภาพยกระดับมาตรฐานสินค้าให้เป็นข้าวประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีมูลค่าการตลาดเพิ่มขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคสายรักสุขภาพด้วย ขณะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจะได้มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยมีข้อมูลของข้าวหอมไชยาไว้ที่ข้างกล่อง ให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงคุณภาพและประวัติของข้าวพื้นเมือง และร่วมกับหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการรับรองให้ข้าวหอมไชยา เป็นของดีเมืองไชยา เช่นเดียวกับไข่เค็มไชยา นายธิติ พานวัน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสาขานวัตกรรมสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรส.งานบริการวิชาการ มรส. กล่าวว่าข้าวหอมไชยา เป็นพันธุ์ข้าวเฉพาะถิ่นที่ปลูกกันมาช้านาน ประมาณ 100 ปี ที่แล้วบุตรีของท่านขุน ศรียาภัย อยู่ที่บ้านพุมเรียงได้คัดเลือกพันธุ์ข้าวไว้ทำพันธุ์พบว่า มีอยู่พันธุ์ หนึ่งมีกลิ่นหอมและข้าวนิ่มรสชาติดีมาก จึงนำมาทำพันธุ์กันต่อๆ มาและเรียกว่าข้าวหอมไชยา บ้างก็เรียก ว่าข้าวหอมห้วง ข้าวหอมไชยาเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงมาก่อนในท้องทุ่งไชยา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าว ได้งอกงามเนื่องจากมีน้ำท่าจากคลองไชยาไหลผ่านตลอดปี “ ข้าวหอมไชยา” ซึ่งเล่าขานกันว่าเวลาข้าวออก รวงจะหอมไปทั่วทุ่ง เวลาหุงจะหอมไปทั่วบ้าน” ปัจจุบันพันธุ์ข้าวหอมไชยา มีพื้นที่ปลูกน้อยลง เพื่อมิให้พันธุ์สูญหายไป เนื่องจากเป็นข้าวพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ ประเพณีและวัฒนธรรม ตลอดทั้งเอกลักษณ์เป็นของตนเอง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยา จึงได้อนุรักษ์และสืบทอดข้าวหอมไชยาเพื่อเป็นมรดกของชาติสืบไปโครงการส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากข้าวหอมไชยาตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี