"ขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก" นั้นมีข้อจำกัด หากถูกละเมิดจะเป็นอันตรายต่อสภาวะความเหมาะสมของโลกสำหรับการอยู่อาศัยและพัฒนาการของมนุษย์ - นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมและระบบโลกจาก Stockholm Resilience Centre และมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย - ด้วยตระหนักถึงการร่วมแก้ไขปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อเร็วๆนี้ ลอรีอัล กรุ๊ป นำโดย นางอินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ได้เผยวิสัยทัศน์ใหม่เพื่อความยั่งยืน 2030 “L’Oréal for the future” ด้วยการพลิกโฉมการดำเนินงานมุ่งเป้าลดผลกระทบภายใต้ขอบข่ายขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก พร้อมเชิญ รศ.ดร. สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ร่วมพูดคุยในหัวข้อ “ขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่เสี่ยงเกินขีดจำกัดและผลกระทบต่อมนุษยชาติและระบบนิเวศน์โลก” ณ โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ อินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด • เป้าหมายปี 2030 L’Oréal for the future นางอินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “L’Oréal for the future” ได้ตั้งเป้าหมายกับพันธสัญญาล่าสุดสำหรับปี 2030 ด้วยการมุ่งยกระดับเร่งการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงขีดจำกัดความปลอดภัยของโลกเป็นที่ตั้ง เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น ตอกย้ำพันธสัญญาของบริษัทด้านความยั่งยืนและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม พร้อมริเริ่มการแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการตรวจสอบ เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน “ลอรีอัล กรุ๊ป ได้กำหนดเป้าหมายใหม่สำหรับปี 2030 บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets initiative) เพื่อยกระดับแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน โดย ลอรีอัลไม่เพียงมุ่งลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรงเท่านั้น แต่ยังต้องการลดผลกระทบของกิจกรรมทั้งหมดทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเออร์และผู้บริโภคของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจนั้นคำนึงถึงโลกที่มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด และเป็นธรรมต่อชุมชนที่บริษัทฯ ทำงานด้วย” นางอินเนสกล่าว • ความยั่งยืนในประเทศไทย นางอินเนส กล่าวอีกว่า ลอรีอัล ประเทศไทย ได้มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานตามแนวทางบริษัทแม่ เพื่อช่วยบรรลุเป้าหมายภาพรวมที่กำหนดไว้ทั้งในแง่ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปี 2017 โดย ลอรีอัล ประเทศไทย ได้เปิดศูนย์กระจายสินค้าสีเขียวของลอรีอัลแห่งแรกในเอเชีย ซึ่งได้การรับรองมาตรฐาน LEED ระดับ Silver โดยศูนย์กระจายสินค้าได้ลดการใช้พลังงานและน้ำ พัฒนาระบบขนส่ง ริเริ่มโครงการรีไซเคิล และดำเนินการพัฒนาศูนย์ฯ ให้เป็นมิตรและลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ด้านการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม ลอรีอัล ประเทศไทย ได้ดำเนินการโครงการที่แข็งแกร่งในการช่วยเหลือผู้คนในชุมชนที่ด้อยโอกาสให้มีโอกาสได้รับการจ้างงาน ผ่านโครงการจัดหาจัดจ้างเพื่อผู้ขาดโอกาสทางสังคม (Solidarity Sourcing) และ โครงการสอนทักษะอาชีพเสริมสวยแก่ผู้ด้วยโอกาส (Beauty For a Better Life) นอกจากนั้น ลอรีอัล กรุ๊ป ยังได้จัดซื้อน้ำมันรำข้าวหอมมะลิที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและผิวหนังจากเกษตรกรในประเทศไทย โดยทำงานร่วมกับ 4 สหกรณ์ในภาคอีสานที่เกษตรกรรายย่อยที่กำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมการค้าอย่างเป็นธรรม สนับสนุนขีดความสามารถของคนในชุมชน และพัฒนาระบบวนเกษตร ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบที่ช่วยสร้างสมดุลคาร์บอนอีกด้วย โดยจากทุกโครงการที่กล่าวมา มีผู้ได้รับผลการช่วยเหลือในประเทศไทยราว 1,200 คน ในส่วนผู้บริโภคในไทย จะได้มีโอกาสในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ความงามที่มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ของลอรีอัลที่นำมาจัดจำหน่ายในประเทศไทย ล้วนได้รับการพัฒนาให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและช่วยสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านส่วนผสมทางชีวภาพ บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลหรือวัสดุชีวภาพ ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ของผู้บริโภคได้ รศ.ดร. สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก • สร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน นอกจากการสนับสนุนให้ลูกค้าเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนยิ่งขึ้นแล้ว ลอรีอัล ยังช่วยแก้ไขปัญหาเร่งด่วนระดับโลกด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการสนับสนุนเงินทุน โดยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้ประกาศแผนการช่วยเหลือปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมเร่งด่วนด้วยการจัดสรรงบประมาณ 150 ล้านยูโร (ประมาณ 5.2 พันล้านบาท) โดยงบประมาณดังกล่าวจะถูกนำไปใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ ดังนี้ - 100 ล้านยูโร (ประมาณ 3.5 พันล้านบาท) สำหรับการให้ทุนเพื่อจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดย 50 ล้านยูโร (ประมาณ 1.7 พันล้านบาท) จะเป็นเงินทุนสำหรับโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและป่าไม้ที่เสียหาย ผ่านกองทุน L’Oréal Fund for Nature Regeneration ซึ่งดำเนินการโดย Mirova บริษัทในเครือของ Natixis Investment Managers ส่วนอีก 50 ล้านยูโร (ประมาณ 1.7 พันล้านบาท) จะใช้ในการให้ทุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน
- ช่วยเหลือสตรีผู้ด้อยโอกาส โดย ลอรีอัล ได้ตั้งกองทุนบริจาคเพื่อการกุศลอีก 50 ล้านยูโร (ประมาณ 1.7 พันล้านบาท) เพื่อช่วยสนับสนุนองค์กรภาคสนามและองค์กรการกุศลท้องถิ่นในการต่อสู้กับความยากจน ช่วยเหลือสตรีให้สามารถประสบความสำเร็จในสังคมและวิชาชีพ ให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ผู้ลี้ภัยและผู้พิการสตรี และป้องกันความรุนแรงต่อสตรีและช่วยเหลือเหยื่อที่ได้รับผลกระทบ
• ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่เสี่ยงเกิน ‘ขีดจำกัด’ มุมมองหนึ่งที่น่าสนใจจากการพูดคุยในหัวข้อ “ขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่เสี่ยงเกินขีดจำกัดและผลกระทบต่อมนุษยชาติและระบบนิเวศน์โลก” โดย รศ.ดร. สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ตอนนี้มีอยู่สองผลกระทบที่ถือว่าเร่งด่วนที่เราต้องทำอะไรสักอย่างคือ ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และผลกระทบจากขยะที่ทิ้งไม่ถูกต้อง ลงในแม่น้ำทะเล จนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการไปขั้วโลกเหนือขั้วโลกใต้ เป็นการเปิดโลกทัศน์ของนักวิทยาศาสตร์ ทำให้เห็นว่าดินแดนที่บริสุทธิ์ที่สุดปราศจากมนุษย์อยู่อาศัยเป็นอย่างไร และสิ่งสำคัญคือเป็นพื้นที่ปราการด่านแรกของโลกที่จะบอกว่า ณ ขณะนี้โลกของเราอยู่ในสถานการณ์อย่างไรและ ‘ป่วย’แค่ไหน ซึ่งเราพบว่าขั้วโลกเหนือขั้วโลกใต้กำลังได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ สิ่งที่เรากลัวคือเมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลายจากภาวะโลกร้อน จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ถ้าน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายจะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น 5 เมตร แต่ถ้าน้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลายหมดแล้ว จะทำให้ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 50 เมตร (เท่ากับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ซึ่งจริงๆแล้วแต่ละปีระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ประมาณ 1-2 มิลลิลิตร ก็สามารถทำให้โลกเกิดน้ำท่วม แผ่นดินทรุด แผ่นดินหายได้ เรื่องของภาวะโลกร้อนและขยะ เป็นแค่ส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นที่มีผลกระทบต่อส่งแวดล้อมต่อธรรมชาติ โลกเราตอนนี้กำลังป่วย เราสามารถทำให้โลกเราหายป่วยได้ โดยเริ่มจากตัวเราเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเราเอง แทนที่จะขับรถก็เดิน หรือขี่จักรยาน หันมาปลูกต้นไม้ เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก หรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง “ทุก 1 นาทีทั่วโลกมีการใช้ขวดพลากสติก 1 ล้านขวด, ทุก 1 นาทีทั่วโลกมีการใช้ถุงพลากสติก 2 ล้านถุง และทุกๆวันทั่วโลกมีการใช้หลอดพลาสติก 7 พันล้านหลอด แล้วขยะพลาสติกเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็ตกไปในแม่น้ำลำคลอง และทะเล และก็สามารถคร่าชีวิตสัตว์ทะเลได้ปีหนึ่งมากกว่า 1 ล้านตัว ถ้าเราทราบอย่างนี้แล้วทำไมไม่ลดการใช้พลาสติก ลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก กระบอกน้ำส่วนตัว หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากรีไซด์เคิล ... เราเลือกได้ว่าเราอยากที่จะอยู่บนโลกแบบไหน ไม่ได้แค่เพื่อตัวเราเองแต่เพื่อโลกเพื่อลูกหลานของเรา” รศ.ดร. สุชนา กล่าวทิ้งท้าย