นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่สำรวจระบบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตเบียร์ว่า ต้องการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับปรุงใช้เพิ่มเติม จากเดิมใช้เครื่องตรวจวัดแบบมิเตอร์ Flow Meter ซึ่งใช้มานานกว่า 30 ปีและมีความเสี่ยงจากอัตราการสูญเสียระหว่างการผลิต กรมสรรพสามิตจึงได้นำระบบใหม่มาใช้ในการจัดเก็บภาษี เพื่อใช้หมึกพิเศษพิมพ์ลงบนผลิตภัณฑ์ขวดเบียร์ กระป๋องเบียร์ จากนั้นใช้แสงเลเซอร์ในการตรวจนับแต่ละกระป๋อง เรียกว่าระบบ แสดงครื่องหมายแสดงการเสียภาษีบนบรรจุภัณฑ์ (Direct Coding) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเบียร์กระป๋องและเบียร์ขวดในโรงงานผลิตเบียร์ทั้งหมด 8 แห่งทั่วประเทศ ทั้งนี้หลังจากลงนามกับบริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น และบริษัท SIPA สวิส ซึ่งผลิตหมึกพิมพ์ธนบัตร คาดว่าจะเริ่มติดตั้งต้นปี 2564 เมื่อนำมาทดแทนระบบการเก็บภาษีเดิม คำนวนสินค้าออกจากหน้าโรงงาน และการเก็บสตอกก่อนนำส่งขาย ด้วยการใช้ระบบสายการผลิตช่วยสอบทาน เมื่อติดตั้งใหม่คาดว่าจะมีรายได้ภาษีเบียร์สูงขึ้นประมาณ 8,000 ล้านบาทต่อปีจากปีก่อนจัดเก็บได้ 79,090 ล้านบาท โดยยอมรับว่าอุตสาหกรรมเบียร์และการดื่มเบียร์เติบโตขึ้นมาตลอด แม้จะมีการลดดีกรี จากโครงสร้างภาษีใหม่จาก 36,000 ล้านบาทในปี 2546 ภาษีสรรพสามิตเบียร์ เพิ่มเป็น 87,000 ล้านบาทในปี 2560 ภาษีสุรา จาก 15,000 ล้านบาทในปี 2538 ปัจจุบันเพิ่มเป็น 31,000 ล้านบาท หลังจากนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยเก็บภาษีผ่านระบบ QR Code มาใช้กับภาษีบุหรี่และสุรา จึงปรับปรุงใช้กับเบียร์เพิ่มเติม สำหรับการเก็บภาษีด้วยระบบ Direct Coding ในสินค้าเบียร์ เปิดให้บริษัทเอกชนผู้ชนะการประมูลรับเข้ามาบริหารจัดการพิมพ์รหัสการเสียภาษีบนกระป๋องและขวดเบียร์ โดยภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนต้นทุนค่าพิมพ์สแตมป์อิเล็กทรอนิกส์ 25 สตางค์ต่อกระป๋อง ตลอดระยะเวลาตามสัญญา 7 ปี คาดว่ามีรายได้ 8,000 ล้านบาท อีกทั้งกรมฯ พร้อมพิจารณาขยายเวลายกเว้นภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่ม จากเดิมครบกำหนด 15 ก.ค.63 เพื่อลดต้นทุนผู้ประกอบการและให้มีการจ้างงานตามปกติในช่วงปัญหาโควิด-19 นายพิษณุ วิเชียรสรรค์ กรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีโรงงานผลิตเบียร์ 3 แห่ง กำลังการผลิต 1,540 ล้านลิตรต่อปี โรงงานทุกแห่งพร้อมรองรับ แนวทางการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต เพราะได้ศึกษาร่วมกันมาโดยตลอด เพื่อให้การเก็บภาษีมีประสิทธิภาพโดย กรมสรรพสามิตมอบหมายให้เอกชนเข้าเป็นผู้ดำเนินการ นายสุรสิทธิ์ ทองจันทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักภาษีแลรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีความพร้อมดำเนินการตามกรมสรรพสามิต เพื่อให้โรงงานผลิตเบียร์ทั้ง 3 แห่ง ปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวงการคลังรองรับการปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บภาษีใหม่ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งเปลี่ยนไปมาในยยุคปัจจุบัน สำหรับปัญหาผลกระทบในช่วงโควิดที่ผ่านมา เบียร์สิงห์ได้ดูแลพนักงานอย่างเต็มที่ ไมมีการปลดคนงาน และเมื่อทุกอย่างคลี่คลาย การท่องเที่ยวดีขึ้นจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นตามไปด้วย