โครงการอุตสาหกรรมจะนะเมืองต้นแบบที่4 นับเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายล้วนจับตามองอยู่เวลานี้ เมื่อโครงการพัฒนาอภิมหาโปรเจ็คกลับมา ลงเอยในพื้นที่จะนะ ท่าเรือน้ำลึกแห่งที่2 จ.สงขลา โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โรงไฟฟ้าและอื่นๆ ล้วนเป็นโครงการที่มีการลงทุนตามมาที่มหาศาลทีเดียว
ทันทีทันใดที่มติครม.เห็นชอบแล้ว ทางศอ.บต.ก็รับลูกทันที โดยได้มีการระดมความคิดเห็น ทำการสำรวจในช่วงไม่ถึงเดือนที่ผ่านมา อีกทั้งเหมือนกับว่าจับเอาแหล่งโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการมาอัดกันไว้เพื่อเป็นสะพานเชื่อมต่อไปยัง ปีนัง มาเลเซีย หรือ ชลบุรีโดยอาศัยความใน “มาตรา 10” ของ พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 หรือที่มักเรียกขานกันว่า พ.ร.บ.ศอ.บต. ประกาศให้ อ.จะนะเป็น “เขตพัฒนาเฉพาะกิจ” และเสนอให้ตั้ง “คณะกรรมการบริหารเขตพื้นที่พัฒนาเฉพาะกิจเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อ.จะนะ จ.สงขลา” มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีคณะกรรมการตามที่นายกรัฐมนตรีเห็นชอบไม่เกิน 8 คน โดยให้ ศอ.บต.ร่วมกับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นกรรมการและเลขานุการ
โดยเนื้อหาระบุไว้ว่า ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศอ.บต.โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) อาจกำหนดให้เขตพื้นที่ใดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีทั้งสิ้น 5 จังหวัดนั้นเป็น เขตพัฒนาเฉพาะกิจ และกำหนดกรอบแนวทางการบริหารและการพัฒนาในเขตพื้นที่นั้นได้คือไฟเขียวสามารถทำเบิกงบประมาณรายจ่ายได้ทันที
ขณะที่กลุ่มฝ่ายค้าน คนรักษ์จะนะและNGO. กลุ่มเดิมๆก็ได้ เดินหน้าเปิดโปงโครงการอุตสาหกรรมจะนะเมืองต้นแบบ ด้วยการยื่นหนังสือคัดค้านให้ยุติรื้อโครงการทบทวนใหม่ โดยพยายามชี้ว่าเป็นการพัฒนาและการเริ่มโครงการใหม่ที่ไม่มีเหตุผล อีกทั้งยังเป็นโครงการเร่งด่วน ส่อไม่ชอบมาพากล เกิดข้อกังขามากมาย โดยเฉพาะศอ.บต.ไม่ควรเป็นตัวหลักเข้าแบกรับผลักดันโครงการนี้
โดยฝ่ายคัดค้านสรุปว่า โครงการอุตสาหกรรมจะนะ สร้างผลกระทบต่อประชาชนวงกว้าง ไม่เพียงคนในพื้นที่เอง คนรอบๆบริเวณใกล้เคียงก็ต้องเดือดร้อนไปด้วย ในแง่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตวัฒนธรรมและศาสนา เปลี่ยนผังเมืองจากสีเขียวให้เป็นสีม่วง มีการให้ข้อมูลที่ไม่รอบด้าน โครงการนี้เห็นได้ชัดว่ารับใช้ เอื้อต่อนายทุนใหญ่ ที่มีทั้ง นักการเมืองทั้งระดับบิ้ก ระดับใหญ่ กลาง ไปจนถึงตัวเล็กท้องถิ่นที่เตรียมอ้าแขนรับผลประโยชน์ที่จะตามมา นายทุนรัฐบาล ชัดเจนว่าอย่างน้อง2 บ.ยักษใหญ่ pti.และ บ.ทีพีไอโพลีพาวเวอร์TPIPPไม่ให้ประโยชน์กับประชาชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง โดยได้หยิบยกวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมาที่มีการจัดเวทีที่ไม่ชอบธรรม อาจส่งผลให้มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับโครงการใหญ่ขนาดนี้ ต้องการให้มีการศึกษาให้รอบคอบทุกด้าน ก่อนที่จะดำเนินการผลักดันต่อไป ต้องเปิดให้ชัดเจนนโยบายการพัฒนาอย่างนี้ ทำไมต้องลงเอยที่จะนะซึ่งอาจจะนำไปสู่หายนะ เป็นความขัดแย้งรอบใหม่
ซึ่งโครงการนี้ ต้องการใช้พื้นที่ชายฝั่งทะเลของ ต.นาทับ ต.ตลิ่งชัน และ ต.สะกอม อ.จะนะ จำนวน 16,753 ไร่ ให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดของภาคใต้ โดยอ้างว่าจะจัดสรรพื้นที่รองรับอุตสาหกรรม 6 ประเภท คือ
1.พื้นที่เขตอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมเบา 4,253 ไร่ 2.พื้นที่อุตสาหกรรมหนัก 4,000 ไร่ 3.พื้นที่เขตอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า 4,000 ไร่ จำนวน 4 โรง กำลังผลิตรวม 3,700 เมกะวัตต์
4.พื้นที่เขตอุตสาหกรรมต่อเนื่องกับกิจกรรมหลังท่าเรือ 2,000 ไร่5.พื้นที่เขตอุตสาหกรรมศูนย์รวมและกระจายสินค้า 2,000 ไร่ 6.พื้นที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จและแหล่งที่พักอาศัย 500 ไร่
อ.เกื้อ ฤทธิบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี กล่าวว่า เพราะด้านความสมบูรณ์ของอ.จะนะ เป็นการอ้างของรัฐอยู่ตลอดเวลา ว่าจะมีการพัฒนา มีการจ้างแรงงานคนในพื้นที่กว่าแสนตำแหน่ง ให้ลืมตาอ้าปากได้
"บริบทของคนจะนะยังต้องพึ่งพิงธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศฯเป็นการให้บริการ คุณภาพชีวิตที่ดีและมากกว่า นี้่คือชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอยู่แล้ว มันมีมูลค่ามากกว่าทางเศรษฐกิจ ตามที่มนุษย์จะคิดได้ หากเราจะเปลี่ยนพื้นที่ให้กลับไปเป็นป่าชายเลนสักแห่ง ต้องใช้ทรัพยาการมากถึง 3 เท่าในการเรียกคืนกลับมา เราจะพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ โดยทำลายและเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ไปเพื่ออะไรหากระบบเสียหายไปแล้ว เราจะเอาคืนไม่ได้
ท่าเรือน้ำลึกที่เกิดขึ้น จะทำลายชีวิตวิถีชาวประมงดั้งเดิม และ ปัญหาคลื่นกัดเชาะชายฝั่งเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก มีโครงการท่าเรือน้ำลึกที่ผ่านมาก็พับแผนไปแล้วที่สตูล รัฐควรศึกษาให้ข้อมูลที่ให้ความเชื่อมั่นทั้งสองฝ่าย ทั้งสองข้างได้ ฝ่ายเท่าเทียมกัน ต้องมีการตั้งโจทย์ร่วมกัน มีคำตอบที่ชัดเจน ให้นำไปสู่พลังแห่งการตัดสินใจร่วมกันเช่นผลตอบแทนการจ้างงาน เท่าไหร่ ใครได้ ใครเสีย ต้องให้ข้อมูลที่จริง ให้ผลประโยชน์รัฐต้องคุยให้ชัดเจน มีการให้ความยั่งยืนอย่างไร การตอบแทนด้านทรัพยากร ด้านวัฒนธรรมวิถีชีวิต หาทางปรึกษาหารือเพื่อได้ทางเลือกที่เป็นของพลังทางเลือกทั้งหมดร่วมกัน"
ด้านที่เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องบางมาตรา อ.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ 3 ประเด็นคือ
ประเด็นที่1การวางกฎหมายวางผังเมือง จากเอกสารที่ศอ.บต.ให้ไว้ แท้จริงแล้วคือการกำหนดผังเมืองใหม่ ที่ถูกกำหนดไว้แล้ว และอยากทราบว่ามันเป็นแบบร่างหรือถูกกำหนดประกาศมาใช้แล้วหรือยัง ถ้าเป็นไปตามผังเมืองเดิมแล้ว ไม่สามารถเป็นเขตอุตสาหกรรมได้ โดยผิดเต็มๆ แต่มีกำหนดข้อยกเว้นว่า เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจ ถึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ การดำเนินการเรื่องนี้ มีการแสดงข้อมูลวิชาการไม่สอดคล้องกับวิชาการผังเมืองพื้นที่ถูกกันไว้ 50% ที่ถูกปรับเป็นสีม่วง พื้นที่ที่เหลือ ถูกมองข้ามไป
ประเด็นที่ 2 ภายใต้ขอบข่ายสิ่งแวดล้อม ทำไมไม่ใช้คำกำหนดนิคมอุตสาหกรรม เพราะการพัฒนาจะอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายการพัฒนาของการสร้างนิคม อยู่ภายใต้พรบ.นิคมฯ การสร้างประชาคม EIA และ EHIA หรือการทำเฉพาะ ไม่มีการมองผลกระทบในภาพรวมว่าเป็นอย่างไร
3.ใครมีส่วนร่วม ใครได้ใครเสีย ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดแบบไหน การมองที่ผลประโยชน์การมองเรื่องสิทธิชุมชน ทุกคนควรมีสิทธิ์ในการร่วมกันตั้งข้อสังเกตุและหาทางออกให้ครบถ้วนรอบด้าน
ถ้ามีแล้วดีอย่างไร เสียอย่างไร การแก้ไขปัญหา การมีมาตรการแก้ปัญหาที่ตั้งไว้แล้ว เวทีวันที่11 นี้ ทำไมไม่เปิดให้คนจะนะในพื้นที่อื่นเข้าด้วย ให้เพียงคนในชุมชน 3 ตำบลเท่านั้น ถ้าเป็นเช่นนั้นหากมีการตั้งเวทีคู่ขนานได้หรือไม่ ภายใต้พรก.ฉุกเฉิน และนอกจากนี้ยังมีมิติทางกฎหมายอีกหลายจุดที่ยังดูทะแม่งๆ อยู่
ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต คณบดี คณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมกล่าวว่าโจทย์ใหญ่คือคนส่วนใหญ่ในพื้นที่จะเกิดโรงงานอุตสาหกรรมจะนะ คือต.สะกอม นาทับ แบะตลิ่งชันนั้น คนส่วนใหญ่มีปัญหาความยากจนเกือบทุกคนจะทำอาชีพวิถีประมงพื้นบ้านซึ่งเป็นวิถีดั้งเดิม ซึ่งต่อไปในอนาคตอาจเลี้ยงตัวเองได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ รวมทั้งกับมีแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในมาเลเซียต้องกลับบ้านเข้ามารวมกันอีกในขณะนี้จึงเกิดปัญหาความว่างงานมากขึ้น
ทุกรัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมอาชีพ และตัวของสถาบันเราเองก็ควร เข้าไปให้ความรู้ให้การศึกษาและสร้างงาน เราทำแบบก่อนหน้านี้คือทำอาชีพประมงเล็กพอในช่วงมรสุม 4 เดือนก็จะว่างงานคิดว่าความเหมาะสมคือ ช่วยเรื่องอุตสาหกรรมการเกษตและการแปรรูปเกษตรที่มีอยู่ในพื้นที่ ให้ชาวบ้านสามารถลืมตาอ้าปากด้วยน่าจะตอบโจทย์ได้ดี่สุด
ทั้งนี้ควรพิจารณาถึงองค์ความรู้ ให้การศึกษาต่อกลุ่มคน และเพิ่มศักยภาพให้บุคคลที่สนับสนุน
สำหรับคนที่ได้รับผลกระทบนั้น รัฐบาลต้องเข้าไปช่วยเหลือ ในเรื่องชดเชยต่างๆ เรื่องการทำให้มีงานทำ การหาทางออกใหม่ให้สร้างงานใหม่ หน่วยงานของรัฐทั้งหมดและรวมทั้งบริษัทผู้สนับสนุนต้องช่วยสร้างความรู้เพิ่มความรู้หาทางรอดให้กับทุกคน ไม่รวมแต่พื้นที่นี้เป็นสิ่งที่ต้องแก้ปัญหากับสังคมไทยทั้งหมดด้วย
ส่วนผลประโยชน์ที่ไม่เกิดขึ้นหรือเป็นผลเสียนั้นก็ต้องหาทางแก้ไขปัญหากันต่อไปในอย่างเช่นโครงการไฟฟ้าจะนะที่ผ่านมาเกือบ 20 ปีก่อนนั้นก่อนที่จะเกิดขึ้นพวกเราก็ทะเลาะกันแต่เมื่อมีการไฟฟ้าเกิดขึ้นแล้วเราก็จะเห็นประโยชน์ตามมาเอง
สังคมโดยรวมทั้งหมดต้องช่วยกันหาทางออกให้ได้ ส่วนตัวมองเห็นประโยชน์มากกว่าว่าโรงงานอยู่ในเขตอุตสาหกรรมดีกว่า ถ้ามีโรงงานแบบไม่กำหนดเขตอุตสาหกรรมแล้วจะเสียหายมากไปกว่านี้
แต่ถ้ากำหนดไว้ว่าเขตอุตสาหกรรมเราไว้จะได้ตัดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเพราะต้องทำตามข้อกำหนด ข้อบังคับ มีระบบระเบียบไม่มีการปล่อยน้ำเสีย มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ไม่สร้างความเดือดร้อนผมเชื่อว่า รัฐบาลต้องการแก้ไขให้โครงการนี้เกิดผลประโยชน์โดยรวมอยู่ในท้องที่ ชาวบ้านต้องมีอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งต้องเปลี่ยนวิธีคิดการประมงแบบใหม่ให้กับเขาด้วย ในส่วนที่ได้รับผลกระทบ ต้องชดเชยเขาให้มีรายได้ที่แน่นอน และในแง่ของความยั่งยืน
นายพจนาถ มากรักษ์ ผอ.โรงเรียนบ้านตลิ่งชันอำเภอจะนะ จ.สงขลา กล่าวว่าผมมองว่าเป็นโครงการที่ดีของรัฐ แต่ยังขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีพอ ณประชาสัมพันธ์ทางด้านการศึกษา หน่วยงานที่รับผิดชอบควรให้บุคลากรได้รับองค์ความรู้อย่างถูกต้องและถ่ายทอดให้กับนักเรียนและเยาวชนให้เข้าใจต่อไปส่วนในของโรงเรียนนี้ ต้องวางแผนและเตรียมิเพิ่มขึ้นคาดว่าถ้ามีเหตุโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นคนก็จะเข้ามาในชุมชนมากขึ้นเพราะคนเข้ามาทำงานมีคนนอกย้ายเข้ามา
เพราะฉะนั้นโรงเรียนต้องเพิ่มและขยายโรงเรียนด้วยสำหรับโรงเรียนบ้านตลิ่งชันปัจจุบันสอนอยู่ในระดับชั้นมัธยมปีที่ 3 เราคาดว่าจะให้โรงเรียนต่อสายหรือส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนสายอาชีพเพื่อเตรียมให้เขาเข้าไปเรียนด้านอาชีพเพื่อตอบสนองกับแรงงานให้สอดคล้องกันได้ ผลลัพธ์ของโครงการนี้คือ ทุกโครงการน่าจะมีประโยชน์ เพราะเราเชื่อว่าทุกคนการจะมีการวิจัยการประเมินมีการศึกษาต่างๆเพราะเขาต้องลงทุนอย่างมากส่วนผลกระทบที่เสียหายที่มีนั้น ต้องควรมีชดเชย เราต้องชดเชยอย่างไรและจะทำอย่างไรให้กับปัญหา ผลที่ได้รับจากผลการทดรอบด้าน สำหรับคนที่ไม่เห็นด้วยแต่เป็นสายคัดค้านนั้นอยากให้หันเข้ามาพูดคุยกันสร้างความเข้าใจกันด้วยดี อย่า อย่ารังเกียจกันและยืนกันคนละฝั่งขอให้ทุกฝ่ายเข้ามาพูดคุยกันและหาทางออกเข้าใจปัญหาร่วมกันแก้ปัญหาและแสวงหาทางออกให้มันดีขึ้น
ลำดับภาพ 1 อ.เกื้อ 2 อ.ธีรวัฒน 3. อ.ทวีศักดิ์ 4 .อ.พจนาถ