เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 28 มิ.ย.63 ที่ห้องประชุมข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดยโสธร นายศักดา คงเพชร ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มน้ำโขง เลย ชี มูล สงคราม เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มน้ำโขง เลย ชี มูล สงคราม ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร ในการบริหารจัดการน้ำและแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำโขง เลย ชี มูล สงคราม โดยมีนางสาวสิริมา วัฒโน รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายสุวัฒน์ เข็มเพชร ปลัดจังหวัดยโสธร ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นายอำเภอ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ทุกอำเภอ เข้าร่วมประชุม โดยนายศ้กดา คงเพชร ประธานคณะกรรมาธิการฯได้แจ้งที่ประชุมทราบถึงการดำเนินโครงการฯ ที่จะผันน้ำจากแม่น้ำโขง โดยแรงโน้มถ่วง ผ่านแม่น้ำเลย จากจุดเริ่มต้นที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดยการก่อสร้างอุโมงค์ผ้นน้ำ มายังอำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อระบายน้ำลงสู่ลำน้ำต่างๆ ให้คลอบคลุม 20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งดำเนินการใน 5 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 โขง- เลย - เขื่อนอุบลรัตน์ - ฝายชนบท ชัยภูมิ ระยะที่ 2 ฝายชนบท -นครราชสีมา - บุรีรัมย์ ระยะที่ 3 ลุมน้ำชีตอนกลาง-ลุ่มน้ำชีตอนล่าง ระยะที่ 4 ลุ่มน้ำมูลฝั่งขวา และ ระยะที่ 5 ลุ่มน้ำโขงอีสาน-ลำปาวตอนบน-ชีตอนล่าง-มูลตอนล่าง ซึ่งจังหวัดยโสธรจะได้รับประโยชน์ในระยะที่ 5 นี้ และ การดำเนินการทั้ง 5 ระยะดังกล่าว จะใช้เวลา 17 ปี โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ ค่าลงทุน จำนวน 1,930,674.ล้านบาท พื้นที่การเกษตรจะได้รับประโยชน์ จำนวน 33.57 ล้านไร่. ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่รับน้ำจะสามารถทำนาไดัตั้งแต่เดือนพฤษภาคม โดยไม่รอน้ำฝน ซึ่งจะช่วยลดการอพยพแรงงานออกนอกพื้นที่แต่จะเพิ่มแรงงานจากภูมิภาคอื่น ช่วยบรรเทาอุทกภัยและแก้ไขปัญหาแล้งซ้ำซากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อีกด้วย