สัปดาห์พระเครื่อง / อ.ราม วัชรประดิษฐ์ วันนี้เป็นสิริมหามงคลได้มีโอกาสอัญเชิญพระกริ่งปวเรศฯ หนึ่งในองค์ ที่สืบทอดจากเสด็จฯ พระองค์ชายใหญ่ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ภานุพันธุ์ยุคลฯ มาให้ทุกท่านได้สักการะชื่นชม "พระกริ่งปวเรศฯ" สุดยอดของพระกริ่งในประเทศไทย สร้างโดยสมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์วัดบวรนิเวศวิหาร ตามตำราการสร้างพระกริ่ง ที่ได้รับตกทอดมาจากสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว "พระกริ่งปวเรศฯ" เป็นพระเนื้อ สัมฤทธิ์ เนื้อขององค์พระจะออกสีจำปา คือ ค่อนข้าง อมทองแดง สนิมที่ปรากฎตาม ผิวจะออกสีน้ำตาล อมดำ ใช้โลหะเป็นมวลสารทั้งหมด 9 ชนิด เรียกว่า "นวโลหะ" คือ ทองคำ เงิน ทองแดง สังกะสี ปรอทบริสุทธิ์ เหล็กละลายตัว เจ้าน้ำเงิน และชิน ตามตำราการสร้างแต่โบราณ นอกจากนี้ ท่านเจ้าประคุณฯ ทรงนำเนื้อฐานของพระพุทธชินสีห์ ที่อัญเชิญมาจาก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เพื่อประดิษฐานที่วัดบวรฯ ซึ่งเก็บไว้ตั้งแต่คราว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณะฐานใหม่ เมื่อปีพ.ศ.2409 เข้ามารวมเป็นเนื้อมวลสารด้วย ทรงนำส่วนผสมทั้งหมดมารวมกันแล้ว ตีเป็นแผ่นบางๆ ลง "ยันต์ 108" กับ "นะปถมัง 14" "พระกริ่งปวเรศฯ" สร้างเป็นพระพุทธรูปลอยองค์ประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบบนฐานบัวคว่ำ บัวหงายสองชั้น ชั้น ละ 7 กลีบ และบัวด้านหลังอีก 1 กลีบ คู่ หลักการพิจารณามีดังนี้ - กลีบบัวจะไม่กลมเหมือนกริ่งนอก ซึ่งค่อนข้างนูน และกลม - พระกริ่งทุกชนิดจะมีบัว เฉพาะด้านหน้าเป็น 7 กลีบคู่ แต่ "พระกริ่งปวเรศฯ" - เพิ่มบัวหลังอีก 1 กลีบคู่ ทำให้ไม่เหมือนกับพระกริ่งใดเลย มูลเหตุที่เพิ่มบัวด้านหลัง เนื่องด้วยท่านเจ้าประคุณฯ เป็นสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั่นเอง - หัตถ์ซ้ายทรง "วชิระ" - ขอบจีวร ตรงพระอุระกับชายจีวร - พระพาหา (แขน) จะไม่มีเม็ดไข่ปลา อย่าง กริ่งนอก - จากพระพักตร์ (หน้า) ช่วงกลางขององค์พระ และฐานบัวประทับ ถ้าสั่งเกตทาง - ด้านข้าง จะเห็นว่า แบนกว่าพระกริ่งใหญ่ เมื่อถึงฤกษ์งามยามดีจึงเทหล่อเป็น "พระกริ่งปวเรศฯ" ใช้กรรมวิธีการเทแบบ "อุดก้น"ด้วยแผ่นทองแดง และกำกับปีสร้างประมาณ พ.ศ.2416 ถึง พ.ศ.2434 การจัดสร้าง ในครั้งนั้น เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์และเหล่าเชื้อพระวงศ์โดยเฉพาะ จำนวน การสร้างจึงน้อยมาก น่าจะไม่เกิน 30 องค์์"พระกริ่งปวเรศฯ" สร้างโดยถอดรูปแบบ และแนวทางการสร้างมาจาก "พระกริ่งใหญ่" ซึ่งเป็นพระกริ่งนอก เนื้อเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ และขนาดขององค์พระพอๆ กันพระพุทธปฏิมากรก็เหมือนกัน และเป็นพระที่ถอด พิมพ์จากแม่พิมพ์เดียวกันทุกองค์เช่นเดียวกัน ดังนั้นตำหนิแม่พิมพ์ของพระกริ่งปวเรศฯ จึงเหมือนกันทุกองค์ ด้านก้นของ "พระกริ่งปวเรศฯ" อุดด้วยแผ่นฝาบาตรทองแดงบุ๋มเป็นแอ่งกระทะ ภายในบรรจุเม็ดกริ่งไว้ เขย่ามีเสียงดัง โดยเฉพาะด้านข้างของกลีบบัวหลังจะปรากฏ จุดลับตอกรูปเม็ดงาไว้กันปลอมแปลง พุทธคุณอันล้ำเลิศของพระกริ่งปวเรศฯ จะเป็นที่กล่าวขานกันมากในด้านการรักษา โรค เพราะคำว่า "พระไภษัชครุ" นั้นแปลว่าผู้เป็นเลิศทางรักษาโรค มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระวนรัต (แดง) อาพาธเป็นโรคอหิวาต์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรม หลวงวชิรญาณวงศ์เสด็จไปทรงเยี่ยม และทรงนำพระกริ่งปวเรศฯ มาทำน้ำพระพุทธมนต์ ให้ฉันปรากฏว่าสมเด็จพระวนรัตมีอาการดีขึ้นๆ และหายเป็นปกติในที่สุดอาจด้วย มูลเหตุนี้เอง ทำให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชแพ แห่งวัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งประทับอยู่ในเหตุการณ์ด้วยเกิดความสนพระทัย ต่อเมื่อได้รับ "ตำราการสร้างพระ กริ่ง" สืบทอดมาจาก "ท่านเจ้ามา" วัดสามปลื้ม จึงเริ่มสร้างพระกริ่งขึ้นมากมายครับผม