วันที่ 20 มิ.ย.63 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเรื่อง แนวปฏิบัติกรณีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมพ.ศ. ๒๕๖๓ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดแนวปฏิบัติกรณีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมให้มีความชัดเจน และเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระรวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระพ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๒๓ วรรคสาม มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๗ (๕)แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในคราวประชุมด้านบริหาร ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๓ เมื่อวันที่๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ จึงมีมติให้ออกประกาศเพื่อเป็นกรอบในการดำเนินการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังนี้ ข้อ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่องแนวปฏิบัติกรณีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๓” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วย “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ข้อ กรณีมีการร้องเรียนหรือปรากฏเหตุว่า กรรมการคนหนึ่งคนใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ให้ส านักงานดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้นเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาภายในสามสิบวัน หากตรวจสอบไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาให้เสนอต่อประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อขอขยายเวลาได้ตามความจำเป็น กรณีสำนักงานตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่มีมูลเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ให้เสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณายุติเรื่องกรณีมีมูลเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ให้คณะกรรมการดำเนินการดังนี้ (๑) แต่งตั้งกรรมการไม่เกินสามคนเพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง (๒) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเป็นฝ่ายเลขานุการในการดำเนินการ ข้อ คณะกรรมการพึงพิจารณากรณีตามข้อ ๔ และมีมติโดยเร็ว ดังนี้ (๑) กรณีไม่มีมูลเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ให้ยุติเรื่อง (๒) กรณีมีมูลเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมมีลักษณะไม่ร้ายแรงให้คณะกรรมการลงมติ แต่ไม่ตัดสิทธิที่กรรมการผู้ถูกกล่าวหาจะลาออกก่อนมีการลงมติ (๓) กรณีมีมูลเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป ข้อ การพิจารณาว่ากรรมการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมตามประกาศนี้ ต้องให้โอกาสแก่กรรมการผู้นั้นได้ชี้แจงและแสดงพยานหลักฐานประกอบการชี้แจงของตนได้ตามสมควร เว้นแต่กรรมการผู้นั้นไม่ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าไม่ประสงค์จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ข้อ๗ กรณีที่มีผู้แจ้งหรือผู้ร้องเรียน ให้สำนักงานมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการให้ผู้แจ้งหรือผู้ร้องเรียนทราบด้วย ข้อ ๘ กรณีมีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้เสนอคณะกรรมการพิจารณา ประกาศณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ วัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ