6 สถานประกอบการ SME พื้นที่จังหวัดนราธิวาส ที่ผ่านการคัดเลือกโครงการพัฒนาสู่สุดยอด SME จังหวัด ยืนยันมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ก้าวสู่ตลาดสากล เชื่อมโยงการท่องเที่ยวในพื้นที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงฤดี อุทัยหอม อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ในฐานะที่ปรึกษาในการพัฒนาผู้ประกอบการในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และการสื่อสารการตลาด นำผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เข้าพบนางพาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เพื่อแนะนำผู้ประกอบการSME ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 สถานประกอบการ ที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับการพัฒนาตามลำดับตามกระบวนการในโครงการพัฒนาสู่สุดยอด SME จังหวัด (SME Provincial Champion 2020) ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงฤดี อุทัยหอม อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กล่าวว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดทำโครงการพัฒนาสู่สุดยอด SME จังหวัด ปีงบประมาณ 2563 โดยมุ่งหวังจะพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เป็น สุดยอดเอสเอ็มอีของจังหวัด จังหวัดละ 6 ราย ทั้งหมด 77 จังหวัด รวม 462 รายทั่วประเทศ เพื่อให้มีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการในด้านต่างๆ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการหรือการจัดทำสื่อการตลาด ทั้งนี้ เมื่อได้รับการพัฒนาในประเด็นต่างๆ ดังกล่าวแล้ว โครงการจะนำผู้ประกอบการมาเชื่อมโยงเป็น Cluster ท่องเที่ยว สามารถนำเสนอเป็นเส้นทางท่องเที่ยวประจำจังหวัดบน Online Application เข้าถึงลูกค้าได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง เป็นการเพิ่มช่องทางในนำเสนอสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้านนางสาวนูรีมา ซู ผู้ประกอบการบริษัท บี แอนด์ โกลด์ ฟรุ๊ต จำกัด เจ้าของโรงงานผลิตภัณฑ์ทุเรียนกวน 1 ใน 6 สถานประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเข้าโครงการพัฒนาสู่สุดยอด SME จังหวัด กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่ที่มีชาวบ้านปลูกทุเรียนบ้านเกือบทุกบ้าน อีกทั้งสภาพพื้นที่มีความเหมาะสมอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติกับการปลูกทุเรียนเป็นอย่างมาก จึงได้สร้างโรงงานทุเรียนแปรรูป บริษัท บี แอนด์ เอ็ม โกลด์ ฟรุ๊ต จำกัด เพื่อแปรรูปยกระดับผลิตภัณฑ์ทุเรียนบ้านของชาวบ้าน เพื่อเป็นสินค้าที่สามารถส่งออกได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยชาวบ้านในพื้นที่ให้มีรายได้นอกเหนือจากการกรีดยาง เพื่อเลี้ยงชีพได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้มีการหาแนวทางการต่อยอดผลิตภัณฑ์ทุเรียนแปรรูปอย่างต่อเนื่อง โดยได้เข้าร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนมาโดยตลอด ร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถานการณ์โควิด-19 เราได้พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยการเปิดเพจขายของออนไลน์เพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้น แต่ติดปัญหากำลังการผลิตไม่เพียงพอ รวมถึงอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดส่งบ้าง แต่โดยรวมแล้วถือว่าการขายของออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีลูกค้ารู้จักและสนใจผลิตภัณฑ์ทุเรียนกวนของจังหวัดนราธิวาสเพิ่มมากขึ้น ด้วยราคาที่ย่อมเยา อีกทั้งยังคงคุณภาพไว้ เพื่อรักษามาตรฐานของร้าน และความปลอดภัยในการบริโภคเป็นสิ่งที่คำนึงอยู่เสมอ สำหรับผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับการพัฒนาตามลำดับตามกระบวนการในโครงการพัฒนาสู่สุดยอด SME จังหวัด (SME Provincial Champion 2020) ประกอบไปด้วย 6 สถานประกอบการ ดังนี้ บจก.นาราสมุทร ผู้ประกอบการ คุณมูหามัดซอบรี เซะบากอบจก.บี แอนด์ เอ็ม โกลด์ ฟรุ๊ต ผู้ประกอบการ คุณนูรีมา ซูร้านปลากุเลาเค็มป้าอ้วนตากใบ ผู้ประกอบการ คุณพรจรัส ปฐมศิริกุลไอศกรีม ไอเกอเร็ง ผู้ประกอบการ คุณณภูกฤษ หมื่นภักดีพริกแกงครูสุดใจ ผู้ประกอบการ ร้อยตรีสุดใจ แอสะ บจก.วังเมฆาคอร์ปอเรชั่น ผู้ประกอบการ คุณอัศวัน เมฆารัฐ โดยทุกคนมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนราธิวาส ให้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย