นายวิลเลม นิไมเยอร์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท คีรี แทรเวล และ Yaana Ventures เจ้าของอนุรักษ์ คอมมูนิตี้ ลอดจ์ เขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี รีสอร์ทเชิงนิเวศ กล่าวว่า แม้ว่าทางบริษัทฯจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยตรง แต่ได้ใช้โอกาสนี้ปรับแผนการตลาดใหม่รับรูปแบบ New Normal หลังจากรัฐบาลคลายล็อก โดยเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากเดิมคือนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ มาเป็นกลุ่มคนไทย ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พร้อมจัดโปรโมชั่นสุดพิเศษ ลดราคาห้องพักสูงสุดถึง 50% นอกจากนี้ยังจัดแคมเปญร่วมกัน ปลูกให้เป็นป่า สานต่อธุรกิจ บนหลักการความยั่งยืน พร้อมกันนี้ทาง อนุรักษ์ คอมมูนิตี้ ลอดจ์ ที่พักเชิงนิเวศ ได้ผลักดัน โครงการปลูกให้เป็นป่า ชวนนักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่าและระบบนิเวศ ให้เป็นป่าดิบชื้นด้วยวิธีพรรณพืชโครงสร้างภายในปี 2566 เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ต้องการสร้างให้เป็น วัน สต็อป ทราเวลา คอมพานี หรือบริษัทท่องเที่ยวแบบครบวงจรสำหรับลูกค้าที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์ทางเลือกที่ไม่เหมือนใครเมื่อเดินทางมายังประเทศไทยและอินโดจีน ทั้งนี้ นายวิลเลม ยังกล่าวถึงคีรี แทรเวล ว่า เป็นบริษัทธุรกิจท่องเที่ยวที่อยู่ในเมืองไทย และตัวแทนการท่องเที่ยวในยุโรปและอเมริกาเหนือ อีกทั้งยังได้ขยายไปยังเมียนมา อินโดนีเซีย ศรีลังกา และมัลดีฟส์ โดยเป็นการทำงานในรูปแบบที่ผู้ประกอบการชาวต่างชาติร่วมมือกับผู้ประกอบการในท้องถิ่น เพื่อสร้างประสบการณ์จริงให้กับลูกค้า ปัจจุบันมี 18 สำนักงานใน 7 ประเทศ ซึ่งจุดเติมเต็มการเป็น วัน สต็อป ทราเวลา คอมพานี ที่เน้นย้ำถึงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้แข็งแกร่งขึ้น คือ การการเปิดให้บริการตาดฟานรีสอร์ท ที่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก เมื่อปี 2542 ก่อนจะมาเปิดอนุรักษ์ คอมมูนิตี้ ลอดจ์ ที่พักเชิงนิเวศ ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2559 ใกล้กับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสก เป็นโครงการต่อเนื่องถึงท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วยธรรมชาติในเมืองไทยเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวท่องเที่ยวแนวผจญภัยธรรมชาติจากทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับ อนุรักษ์ คอมมูนิตี้ ลอดจ์ ได้พัฒนา วางแผนและกำหนดแนวคิดทั้งหมดกว่า 2 ปี เพื่อให้เป็นสถานที่มอบประโยชน์สูงสุดต่อธรรมชาติและชุมชนท้องถิ่น รวมถึงผู้มาเยือนจากต่างแดนได้รับความสุข และประสบการณ์เต็มที่ โดยมีการร่วมมือกับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ FORRU ทำการฟื้นฟูป่าและระบบนิเวศในพื้นที่ดังกล่าวให้เหมาะเป็นป่าดิบชื้นเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ คอมมูนิตี้ ลอดจ์ โดยโครงการปลูกให้เป็นป่า จึงถือเป็นการรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่าและระบบนิเวศเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม โดยสามารถร่วมสมทบทุน จำนวน 300 บาท (10 ดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อร่วมทำกิจกรรมปลูกต้นกล้าหนึ่งพันธุ์ในสถานที่ที่กำหนด ตามแผนที่จัดทำโดย FORRU โดยผู้เข้าพักจะได้รับเสื้อทีเชิ้ต Rainforest Raising และได้รับข่าวสารความคืบหน้าของต้นไม้ที่ลงมือปลูกไว้ รวมถึงข้อมูลความคืบหน้าของโครงการนี้ผ่านอีเมลต่อไป นอกจากนี้ยังได้สร้างศูนย์ข้อมูลเพื่ออธิบายถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและข้อควรพิจารณาในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไว้เพื่อให้ผู้เข้าพักได้ศึกษาและเรียนรู้ โดยเฉพาะพืชสายพันธุ์ที่เติบโตเร็วเหมาะกับการเพาะปลูก เช่น ฝ้าย ถั่ว พลัม และต้นองุ่น เป็นต้นกล้าที่เติบโตเร็วและเป็นผลไม้เนื้อ สามารถดึงดูดสัตว์ป่า อีกทั้งยังสามารถแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ได้หลากหลายโดยนก เช่นนกโพระดกคอสีฟ้า นกแว่นตาขาวสีทอง และนกปรอด รวมถึงนักท่องเที่ยวจะได้รับประสบการณ์ที่มีความหมายและเป็นเสมือนรางวัล จากกิจกรรมการปลูกต้นไม้ เป็นการทำให้ นักท่องเที่ยวมีส่วนช่วยในการสร้างความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศในระยะยาวด้วย โดยคาดว่า โครงการปลูกให้เป็นป่า จะสามารถดึงกลุ่มโรงเรียนและวิทยาลัยเข้าร่วมเพื่อรณรงค์แคมเปญนี้หลังโควิด-19 โดยทาง FORRU จะจัดส่งเจ้าหน้าที่จากพื้นที่วิจัยในจังหวัดกระบี่ เพื่อนำกลุ่มศึกษาและช่วยนักเรียนร่วมทำกิจกรรมการปลูกต้นไม้ต่อไป อย่างไรก็ตาม นายวิลเลม ยังกล่าวต่อว่า ทาง YAANA Ventures ยังได้สร้างที่พักเชิงนิเวศอีกหนึ่งแห่ง โดยเป็นการทำงานร่วมกับไมเนอร์ กรุ๊ป และ Wildlife Alliance เปิดให้บริการ Cardamom Tented Camp เมื่อปี 2560 ในรูปแบบของแคมป์ที่พักแนวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในเขตสัมปทานเนื้อที่ 112,500 ไร่ ภายในอุทยานแห่งชาติ Botum Sakor ที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา เพื่อรักษาป่าและความหลากหลายทางชีวภาพของป่า ปกป้องป่าจากกการตัดไม้ทำลายป่า และการลักลอบล่าสัตว์ โดยจุดเด่นที่สำคัญของ Cardamom Tented Camp คือจะมีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าจำนวน 12 ราย ทำหน้าที่พาแขกผู้มาเข้าพักเดินป่าสัมผัสและเรียนรู้ชีวิตธรรมชาติ ซึ่ง Cardamom Tented Camp เป็นฝ่ายสนับสนุนเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ทั้งในด้านเงินเดือนและเครื่องมืออุปโภค เช่น เครื่องผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่สถานีพิทักษ์ป่า เนื่องจากการทำงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ทำให้การลักลอบฆ่าสัตว์ป่าเพื่อขายลดลงเป็นอย่างมาก